ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง article

 ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

คดีนี้ ทายาทของผู้ประกันตนยื่นฟ้องสำนักงานประกันสังคม เรียกขอรับเงินประโยชน์ทดแทนในกรณีถึงแก่ความตายเป็นเงิน 30,000 บาท แต่สำนักงานประกันสังคมอ้างว่าผู้ตายส่งเงินสมทบไม่ครบ 12 เดือนก่อนสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง จึงไม่อาจเป็นผู้ประกันตนต่อไป ตามมาตรา 39 ได้ การที่สำนักงานประกันสังคมอนุมัติให้ผู้ตายเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้สำนักงานประกันสังคมได้รับเงินสมทบของผู้ตายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง ปี พ.ศ. 2548 ก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงต้องคืนเงินสมทบเต็มจำนวนให้ทายาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2562/2552

          อ. เป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 33 จ่ายเงินสมทบเพียง 9 เดือน ก่อนสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ทำให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 (2) อ. จึงไม่อาจเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 การที่สำนักงานประกันสังคมอนุมัติให้ อ. เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย การรับเงินสมทบที่ อ. นำส่งตามมาตรา 39 จึงเป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ สำนักงานประกันสังคมจึงต้องคืนเงินสมทบเต็มจำนวนให้ทายาทของ อ. โดยไม่มีสิทธิหักเงินที่สำนักงานประกันสังคมเหมาจ่ายให้โรงพยาบาลเพื่อคุ้มครองสิทธิของ อ. ในฐานะผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ออกจากเงินสมทบดังกล่าว

มาตรา 38  ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั้น
                    (1) ตาย
                    (2) สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
                    *ในกรณีที่ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างตาม (2) ได้ส่งเงินสมทบครบตามเงื่อนเวลาที่จะก่อให้เกิดสิทธิตามบทบัญญัติในลักษณะ 3 แล้ว ให้ผู้นั้นมีสิทธิตามบทบัญญัติใน
หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 และหมวด 5 ต่อไปอีกหกเดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างหรือตามระยะเวลาที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันสิ้นสภาพ
การเป็นลูกจ้าง
  มาตรา 39* ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลง ตามมาตรา 38(2) ถ้าผู้นั้น
ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
                    จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งต้องส่งเข้ากองทุนตามมาตรา 46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง  ทั้งนี้
โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย
                    ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป
                    ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้
นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษของเดือนถ้าถึงสิบห้าวัน หรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง
 
          โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรของนางสะอาด ผู้ประกันตน ซึ่งได้ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 33 ต่อมานางสะอาดออกจากงานจึงสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และส่งเงินสมทบตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2542 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2548 ต่อมาวันที่ 15 กันยายน 2548 นางสะอาดถึงแก่ความตาย โจทก์ขอรับเงินประโยชน์ทดแทนในกรณีถึงแก่ความตายเป็นเงิน 30,000 บาท แต่จำเลยอ้างว่านางสะอาดส่งเงินสมทบไม่ครบ 12 เดือน จึงไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมีคำสั่งให้คืนเงินสมทบที่เก็บมาเฉพาะกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพแก่ทายาทของผู้ประกันตนซึ่งไม่เต็มจำนวนจากที่นางสะอาดได้ส่งเป็นเงินสมทบ ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ที่ 1768/2548 และให้จำเลยคืนเงินสมทบในส่วนที่ส่งตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2542 ถึงเดือนกรกฎาคม 2548 พร้อมดอกเบี้ย

          จำเลยให้การว่า นางสะอาด เคยส่งเงินสมทบในฐานะผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 33 เพียง 9 เดือน ไม่ครบ 12 เดือน ตามเงื่อนไขที่มาตรา 39 กำหนด และได้ถึงแก่ความตายเกินกว่าหกเดือนหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างตามมาตรา 33 จึงไม่ได้รับสิทธิตามมาตรา 38 วรรคสอง ส่วนเงินสมทบที่นางสะอาดนำส่งตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2542 ถึงเดือนกรกฎาคม 2548 นางสะอาดไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งแต่ได้ส่งเงินสมทบเข้ากองทุน คณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยจึงได้พิจารณาคืนเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพแก่ทายาทของนางสะอาดตามแนวปฏิบัติซึ่งชอบด้วยกฎหมายแล้ว ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า นางสะอาด เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ซึ่งเป็นลูกจ้างของสถานประกอบกิจการร่วมค้า ที ซี เค ที (ที่ถูก บีซีเคที) และส่งเงินสมทบเป็นเวลา 9 เดือน ต่อมาเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว นางสะอาดได้ยื่นแบบแสดงความจำนงขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุรินทร์ได้อนุมัติให้เป็นผู้ประกันตนมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2542 นางสะอาดได้ส่งเงินสมทบตามมาตรา 39 มาโดยตลอดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2542 ถึงเดือนกรกฎาคม 2548 เป็นเงินทั้งสิ้น 24,030 บาท ต่อมานางสะอาดถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของนางสะอาดและเป็นผู้จัดการศพได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย จำเลยได้ตรวจสอบฐานข้อมูลเงินสมทบแล้วเห็นว่า นางสะอาดไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จึงมีคำสั่งประโยชน์ทดแทนว่าไม่มีสิทธิได้รับค่าทำศพ แต่เห็นควรให้คืนเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพแก่ทายาทเป็นเงิน 16,920.48 บาท จำเลยได้เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่โรงพยาบาลสุรินทร์ปีละ 1,100 บาท เป็นเวลา 7 ปี เป็นเงิน 7,700 บาท แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยรับเงินสมทบไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นการทำให้นางสะอาดเสียเปรียบซึ่งเป็นลาภมิควรได้จึงต้องคืนเงินสมทบเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ โดยจำเลยไม่มีสิทธิหักเงิน 7,700 บาท ที่จำเลยเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่โรงพยาบาลสุรินทร์ เนื่องจากจำเลยรับเงินสมทบไว้โดยไม่สุจริต พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 29,858.27 บาท พร้อมดอกเบี้ย

          จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า “คงมีปัญหาต้องพิจารณาว่า จำเลยมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายจำนวน 7,700 บาท ที่จำเลยจ่ายให้แก่โรงพยาบาลตามสิทธิเพื่อคุ้มครองสิทธิของนางสะอาดในฐานะผู้ประกันตนหรือไม่ เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้ชัดเจนว่า “ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้นประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน” ดังนั้นเมื่อนางสะอาดซึ่งเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบเพียง 9 เดือน ก่อนสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง อันทำให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 (2) นางสะอาดจึงไม่อาจเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ การที่จำเลยอนุมัติให้นางสะอาดเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่มีสิทธิรับเงินสมทบที่นางสะอาดนำส่งตามมาตรา 39 วรรคสาม การที่จำเลยรับเงินสมทบดังกล่าวไว้จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ซึ่งจำเลยเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 จำเลยจึงมีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลผู้ที่ประสงค์จะเข้าเป็นผู้ประกันตนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่บุคคลนั้นแสดงความประสงค์ขอเข้าเป็นผู้ประกันตน มิใช่อนุมัติให้ทันทีโดยไม่มีการตรวจสอบคุณสมบัติก่อนแล้วมาทำการตรวจสอบในภายหลังเมื่อมีการขอรับประโยชน์ทดแทนส่วนอื่นๆ การที่จำเลยละเลยหน้าที่ดังกล่าวจะไม่ว่าด้วยเหตุที่อ้างว่าเพื่อความรวดเร็วให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทันทีในส่วนความคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาล ย่อมเป็นการละเลยหน้าที่ตามกฎหมาย จึงเป็นการรับเงินสมทบดังกล่าวจากนางสะอาดไว้โดยไม่สุจริต จำเลยจึงไม่อาจหักค่าใช้จ่ายจำนวน 7,700 บาท ไว้ได้ ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษามานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น”
          พิพากษายืน




คำพิพากษาฎีกาทั่วไป

ความผิดทางอาญาในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น article
นิติบุคคลเชิดกรรมการเป็นตัวแทนทำหนังสือมอบอำนาจไม่ประทับตราสำคัญ article
สัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมเงิน article
อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง article
ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะ article
อัตราโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทเกินอำนาจศาลแขวงพิจารณาพิพากษา article
อายัดเงินฝากในบัญชี หลักประกันขอปล่อยตัวชั่วคราว article
เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินสินสมรส article
บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์ article
ครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเอง article
อำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน article
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด article
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่? article
กฎหมายเดิมยกเลิกไปแล้วลงโทษได้หรือไม่? article
หากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกันสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ article
หลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์ article
คำสั่งรับฎีกาของจำเลยไม่ชอบ article
ผู้เช่าซื้อมีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีฐานยักยอกได้ article
ไม่มีเจตนาเล่นการพนันด้วยจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย article
ทารกในครรภ์มารดาสามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ article
คำแถลงการณ์ปิดคดีในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง article
การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด article
บุคคลล้มละลายมีอำนาจฟ้องคดีอาญา article
เรียกโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าหนี้เงินกู้ยืม article
ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย article
พ.ร.บ.ล้างมลทิน กับการเพิ่มโทษจำเลย article
พรบ- ล้างมลทินไม่อาจมีผลย้อนหลังได้ article
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ article
รับเงินไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ article
จำเลยให้การรับสารภาพแต่ศาลยกฟ้อง article
การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด article
ร้องสภาทนายความจัดระเบียบ-ทนายความทวงหนี้ article
เช็คที่มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ-แก้ไขวันที่ article
ความผิดยาเสพติดให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ article
หนี้ที่ต้องห้ามเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ article
ร้านอาหารเปิดเพลงMP3ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ article
ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง ทางศาลแรงงาน หรือพนักงานตรวจแรงงาน article
การฟ้องคดีล้มละลาย ข้อสันนิษฐานของกฎหมาย article
ร้านอินเทอร์เน็ตและเกมส์ลงเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในคอมพิวเตอร์ article
เจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้ article
ลูกจ้างได้รับประโยชน์ไม่เป็นการที่ต้องรับภาระมากกว่าที่พึงคาดหมายได้ article
การยื่นฎีกาเกี่ยวกับคดียาเสพติด article
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอม article
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว article
ร้านอาหารตามสั่งเปิดแผ่นวีซีดีแพลงให้ลูกค้าฟัง article
ฟ้องบุคคลล้มละลายเป็นคดีแพ่ง article
ผู้ใหญ่บ้านถูกจับยาเสพติดมีโทษจำคุก 3 เท่า article
เมาแล้วขับจำคุก 3 ปี โจทก์อ้างบทกฎหมายไม่ครบถ้วน article
ศาลมีคำสั่งเป็นคนสาบสูญถือว่าถึงแก่ความตาย-เงินฌาปนกิจ article
ทนายความละเมิดอำนาจศาล article
สามีภริยาจดทะเบียนหย่ากันเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษี article