ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




มีชื่อในสูติบัตรว่าเป็นบิดายังไม่เพียงพอ

   -ปรึกษากฎหมาย

     ทนายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

      ทนายเอกชัย อาชาโชติธรรม โทร.083-1378440

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

 

มีชื่อในสูติบัตรว่าเป็นบิดา-บิดาแจ้งเกิดให้ใช้ชื่อสกุลยังไม่เพียงพอเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย

เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ-บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง-หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร-หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร การที่บิดาไปแจ้งการเกิดและยินยอมให้บุตรใช้ชื่อสกุล (นามสกุล) ของตน มีชื่อเป็นบิดาในสูติบัตร อุปการะเลี้ยงดูตั้งแต่เกิดอย่างเช่นบิดากับบุตรทั่ว ๆ ไป ก็ยังไม่ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย เพราะกฎหมายกำหนดให้บุตรที่เกิดจากบิดา มารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันนั้น จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมี 3 กรณีคือ 1. บิดามารดาสมรสกันในภายหลัง  2.  บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร 3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  452/2553

          ป.พ.พ มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ดังนี้ พฤติการณ์รับรองว่าผู้เยาว์เป็นบุตร เช่น การให้ผู้เยาว์ใช้ชื่อสกุลของจำเลย และการที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์อย่างบิดากับบุตรจึงไม่ใช่เหตุที่กฎหมายรับรองทำให้ผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยได้ จำเลยจึงไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์

มาตรา 1547  เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
 
          โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยนำบุตรผู้เยาว์มามอบคืนให้แก่โจทก์และห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับบุตรผู้เยาว์อีกต่อไป
          จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง

         ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงมีคำสั่งงดสืบพยานแล้วพิพากษาให้จำเลยส่งมอบเด็กหญิงจิตตินีหรืออนัญพร บุตรผู้เยาว์คืนให้แก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
   จำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงรับฟังได้ยุติว่า เด็กหญิงจิต ผู้เยาว์ เกิดจากโจทก์ในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และต่อมาไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันหรือจำเลยได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์เป็นบุตรหรือมีคำพิพากษาของศาลว่าผู้เยาว์เป็นบุตรของจำเลย ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยมีตามที่จำเลยฎีกาเพียงว่าการที่จำเลยมีพฤติการณ์รับรองว่าผู้เยาว์เป็นบุตร เช่น การให้ผู้เยาว์ใช้ชื่อสกุลของจำเลยและการที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์อย่างบิดากับบุตรมาตลอด ถือได้ว่าจำเลยเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์แล้วหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 บัญญัติไว้ว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ดังนี้ พฤติการณ์รับรองว่าผู้เยาว์เป็นบุตร เช่น การให้ผู้เยาว์ใช้ชื่อสกุลของจำเลย และการที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์อย่าบิดากับบุตรจึงไม่ใช่เหตุที่กฎหมายรับรองทำให้ผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยได้ จำเลยจึงไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมาย จำเลยจึงต้องคืนผู้เยาว์แก่โจทก์ชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น”
          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ




บรรพ 5 ครอบครัว

แต่งงานแล้วหญิงไม่ยอมร่วมหลับนอน
คดีครอบครัวและมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามสี่จังหวัด
สมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน
รางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล สินสมรสหรือสินส่วนตัว
เรียกค่าทดแทนจากภริยานอกกฎหมาย
มอบสัญญาเงินกู้เป็นของหมั้น สัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้น
ไม่มีเจตนาจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย เงินที่มอบให้ไม่ใช่ของหมั้นและสินสอด
สินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
การสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1458 เป็นโมฆะ
การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายเดิม