ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




มาตรา 11 ตีความสัญญาในทางที่เป็นคุณ

   -ปรึกษากฎหมาย

     ทนายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

      ทนายเอกชัย อาชาโชติธรรม โทร.083-1378440

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

 

มาตรา 11 ตีความสัญญาในทางที่เป็นคุณ

มาตรา 11 ในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น

ผู้ค้ำประกันลงชื่อในแบบสัญญาค้ำประกันที่ยังไม่ได้กรอกข้อความในแบบฟอร์มสัญญาโดยแบบฟอร์มดังกล่าวมีช่องมีข้อความระบุว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินเท่าใดและมีช่องว่างให้กรอกจำนวนเงินลงไปด้วยแต่เว้นว่างไว้ไม่ได้ระบุจำนวนเงินใด ๆ การที่โจทก์มาฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดใช้เงินจำนวน 7,137,416.86 บาท โดยที่ผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งรับผิดเพียงจำนวนเงิน 20,000 บาท กรณีจึงมีข้อสงสัยว่าผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นผู้ที่เสียในมูลหนี้จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  15221/2551

       เมื่อไม่มีการแก้ไขสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 ให้มีความชัดเจนในเรื่องความรับผิดของจำเลยที่ 5 ว่าจะต้องรับผิดในจำนวนเท่าใดทั้ง ๆ ที่มีช่องว่างให้เติมตัวเลขหรือข้อความแล้ว ย่อมเป็นกรณีที่มีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งฝ่ายโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 6 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 4 รับผิดในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท แล้วก็จะต้องฟังว่า โจทก์มีเจตนายอมให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท ด้วย จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 โดยไม่จำกัดวงเงินตามที่โจทก์อ้างแต่อย่างใด

          โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 7,137,416.86 บาท ส่วนจำเลยที่ 6 ให้ชำระเงินจำนวน 20,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์

          จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ให้การขอให้ยกฟ้อง

          จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 6 ขาดนัดยื่นคำให้การ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันใช้เงินจำนวน 7,137,416.86 บาท ส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 ให้ใช้เงินคนละ 20,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี (ที่ถูกของต้นเงินแต่ละจำนวนดังกล่าวด้วย) นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 1 ตุลาคม 2544) เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ แต่สำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 6 ค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี ส่วนค่าทนายความให้ตกเป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

          โจทก์อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์แต่เพียงว่า จำเลยที่ 5 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 โดยไม่จำกัดวงเงินหรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ทำไว้มิได้ระบุจำนวนวงเงินความรับผิด แต่มีการขีดเครื่องหมายในช่องที่เว้นว่างให้ระบุจำนวนเงิน จำเลยที่ 5 มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกับจำเลยที่ 6 แสดงว่าจำเลยที่ 5 มิได้หลงลืม เมื่อจำเลยที่ 5 มิได้ขีดฆ่าข้อความอื่นใดในสัญญาฉบับดังกล่าวจึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 5 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยที่ 4 โดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งในข้อนี้ตัวจำเลยที่ 5 เป็นพยานเบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 6 นำแบบฟอร์มสัญญาค้ำประกันมาขอให้จำเลยที่ 5 ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอเมืองตรังในขณะนั้นช่วยค้ำประกันจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรชายจำเลยที่ 6 ที่ได้รับบรรจุแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งยามโรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง โดยจำเลยที่ 6 บอกว่าประกันความเสียหายในวงเงิน 20,000 บาท และจำเลยที่ 6 ได้เอาสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 มาให้จำเลยที่ 5 ดูด้วย จำเลยที่ 5 เห็นว่าจำเลยที่ 5 รู้จักจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นคนขับรถของรองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง และตำแหน่งยามมีขอบเขตรับผิดชอบไม่เกิน 20,000 บาท จึงยอมค้ำประกันจำเลยที่ 4 ให้ตามที่จำเลยที่ 6 ขอ จำเลยที่ 5 เพียงแต่ลงชื่อในช่องผู้ค้ำประกันเท่านั้น ส่วนข้อความอื่นจำเลยที่ 5 ไม่ได้เขียนและจำเลยที่ 5 ไม่ทราบว่าเหตุใดจึงไม่ได้ระบุจำนวนเงินความรับผิดชอบไว้ด้วย ศาลฎีกาเห็นว่า แม้จำเลยที่ 5 มิได้มีจำเลยที่ 6 มาเบิกความสนับสนุนคำเบิกความของจำเลยที่ 5 แต่เมื่อพิจารณาหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 แล้วเห็นว่าเป็นแบบฟอร์มหนังสือสัญญาค้ำประกันที่มีการระบุว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดภายในวงเงินไม่เกินจำนวนเท่าใด โดยมีช่องว่างให้กรอกตัวเลขแสดงจำนวนเงินและตัวหนังสือแสดงจำนวนเงิน เมื่อสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 ปรากฏว่า โจทก์กำหนดให้จำเลยที่ 6 ผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งยอมรับผิดในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท จึงน่าเชื่อว่า โจทก์ก็ยอมรับโดยปริยายให้จำเลยที่ 5 เข้าค้ำประกันจำเลยที่ 4 ในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท ด้วยเช่นกันเพราะว่านายวิรัชพยานโจทก์ผู้เป็นพยานในสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งช่วยทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดตรังในปี 2532 ไม่ได้ยืนยันว่าผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 5 ได้แจ้งให้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันมาดำเนินการแก้ไขเรื่องความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ยังไม่มีความชัดเจนอยู่แต่อย่างใด เมื่อไม่มีการแก้ไขสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 ให้มีความชัดเจนในเรื่องความรับผิดของจำเลยที่ 5 ว่าจะต้องรับผิดในจำนวนเท่าใดทั้งๆ ที่มีช่องว่างให้เติมตัวเลขหรือข้อความแล้ว ย่อมเป็นกรณีที่มีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งฝ่ายโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 6 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 4 รับผิดในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท แล้วก็จะต้องฟังว่า โจทก์มีเจตนายอมให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท ด้วย จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 โดยไม่จำกัดวงเงินตามที่โจทก์อ้างแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

 




แพ่งพาณิชย์เรียงมาตรา

มาตรา 5 การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
มาตรา 62 คนสาบสูญตามคำสั่งศาล
มาตรา 73 ผู้แทนชั่วคราว
มาตรา 74 ประโยชน์ได้เสียขัดกัน
มาตรา 193/30 อายุความมีกำหนด 10 ปี
มาตรา 193/33 อายุความสิทธิเรียกร้อง
มาตรา 224 การไม่ชำระหนี้ | ดอกเบี้ยผิดนัด
มาตรา 291 ลูกหนี้ร่วม
มาตรา 391 คู่สัญญากลับสู่ฐานะเดิม
มาตรา 448 นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มาตรา 499 สินไถ่ | ราคาขายฝาก
มาตรา 716 สิทธิจำนองแก่ตัวทรัพย์
มาตรา 722 สิทธิจำนองย่อมเป็นใหญ่กว่าภาระจำยอม
มาตรา 744 จำนองย่อมระงับสิ้นไป
มาตรา 806 ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ-ร้องขัดทรัพย์
มาตรา 821 ตัวแทนเชิด
มาตรา 1015 เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น
มาตรา 1336 การใช้กรรมสิทธิ-ติดตามเอาคืน
มาตรา 1361 เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
มาตรา 1381 เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเพื่อตน
มาตรา 1387 ภาระจำยอม
มาตรา 1395 ภาระจำยอมยังคงมีอยู่แก่ที่ดินแบ่งแยก
มาตรา 1480 เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี
มาตรา 1480 เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก
มาตรา 1480 ทำนิติกรรมปราศจากความยินยอมของคู่สมรส
มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วม
มาตรา 1508 ขอเพิกถอนการสมรส
มาตรา 1526 สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพ
มาตรา 1541 ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร | ผู้แจ้งการเกิด
มาตรา 1598/38 ค่าอุปการะเลี้ยงดู
มาตรา 1613 การสละมรดกแบบมีเงื่อนไข
มาตรา 1727 ถอนผู้จัดการมรดก
มาตรา 1733 การจัดการมรดกสิ้นสุดลง