ReadyPlanet.com


คุณสมบัติผู้สมัครผู้ใหญ่บ้าน


เคยต้องคดีจำคุก คดียาเสพติด และติดคุก 1 ปี เมื่อ ปี 2540 เข้าข่าย การล้างมลทิน ปี 2551 หรือไม่ และสามารถสมัครและรับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้หรือไม่

 

ขอด่วนนะครับ



ผู้ตั้งกระทู้ กิ๊บ :: วันที่ลงประกาศ 2013-03-06 09:34:45


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3360658)

ล้างมลทิน ลบล้างโทษ ไม่ลบล้างความผิด
จึงหมดสิทธิสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้าน
โดยนายนิรัญ อินดร พนักงานคดีปกครองชำนาญการ
สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง
“ผู้ใหญ่บ้าน” เป็นเจ้าพนักงานของรัฐฝ่ายปกครองที่ทำหน้าที่รักษากฎหมายเบื้องต้น ดูแล
ความสงบเรียบร้อยในระดับหมู่บ้าน การเข้าดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงไม่ได้แตกต่างจากเจ้าพนักงานของรัฐ
หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในตำแหน่งอื่นๆ ที่จะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด
กล่าวคือ ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ โดยหนึ่งในคุณสมบัติที่ต้องห้าม คือ
(๘) บัญญัติว่า “ไม่เป็นผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลหรือทางทุจริต หรือเสื่อมเสียในทางศีลธรรม” และ
(๑๑) บัญญัติว่า “ไม่เป็นผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมาย
ว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ กฎหมาย
ว่าด้วยศุลกากร ฯลฯ”
คดีที่นำมาเป็นอุทาหรณ์ในคอลัมน์มุมกฎหมายฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ได้รับการคัดเลือกให้
ดำ รงตำ แหน่งผู้ใหญ่บ้าน (ผู้ร้องสอด) ซึ่งเคยต้องโทษจำคุก ๑ ปี ตามคำ พิพากษาในคดีความผิดตาม
พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ โดยโทษจำคุกรอไว้ ๒ ปี แต่ต่อมาได้รับการล้างมลทินตามมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริ
ราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านด้วย เห็นว่า
บุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดจึงได้มีหนังสือคัดค้านคุณสมบัติต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔
(นายอำเภอ) ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร และผู้ถูกฟ้องคดี
ที่ ๒ (ผู้ว่าราชการจังหวัด) และขอให้ระงับการแต่งตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้ใหญ่บ้านไว้ก่อน แต่ได้รับคำชี้แจงว่า ผู้ร้องสอด
ได้รับการล้างมลทินแล้ว จึงถือว่ามิเคยถูกลงโทษจากการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้มาก่อน จึงไม่มี
ลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒ (๑๑) แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า กรณีผู้ร้องสอดไม่สามารถที่จะอ้างพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๓๙
เนื่องจากการล้างมลทินลบล้างเฉพาะโทษเท่านั้น แต่พฤติกรรมการกระทำความผิดมิได้ถูกลบล้างไปด้วย อีกทั้ง
ยังถือได้ว่ามีพฤติการณ์เป็นผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อเสียงในทางพาลหรือทางทุจริตหรือเสื่อมเสียในทางศีลธรรม
จึงฟ้องศาลปกครอง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ร้องสอดขาดคุณสมบัติการสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านและ
ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้ใหญ่บ้าน และให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้ใหญ่บ้าน
เรื่องนี้ศาลปกครองสูงสุดท่านจะมีคำพิพากษาเป็นประการใด ? ผู้ร้องสอดมีลักษณะ
ต้องห้ามมิให้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามมาตรา ๑๒ (๑๑) แห่งพระราชบัญญัติลักษณะ
ปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ หรือไม่ ? โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติ
ล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๓๙ บัญญัติว่า “ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อน
หรือในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ และได้พ้นโทษไปแล้วก่อน หรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือซึ่งได้
พ้นโทษไปโดยผลแห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษ
ในกรณีความผิดนั้นๆ” ดังนั้น การที่ผู้ร้องสอดกระทำผิดที่ต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาและได้รับการ
ล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ จะถือว่า ได้รับการ “ลบล้างโทษ หรือ ลบล้างความผิด”
หรือไม่? และพฤติการณ์ของผู้ร้องสอดถือว่าเป็นผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลหรือทางทุจริต
หรือเสื่อมเสียในทางศีลธรรมตามมาตรา ๑๒ (๘) หรือไม่ ? น่าสนใจครับ !
(คอลัมน์มุมกฎหมาย วารสารกำนันผู้ใหญ่บ้าน ฉบับเดือนมกราคม ๒๕๕๕)

ประเด็นที่หนึ่ง การที่ผู้ร้องสอดกระทำผิดที่ต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาและได้รับการ
ล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ จะถือว่า ได้รับการ “ลบล้างโทษ หรือ ลบล้างความผิด” หรือไม่?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า มาตรา ๑๒ (๑๑) แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่
พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ กำหนดแต่เพียงว่า เป็นผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำผิด ก็ถือว่า
มีลักษณะต้องห้ามมิให้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านแล้ว แม้จะมิได้มีการลงโทษตามคำพิพากษา
และตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษ
ในกรณีความผิดต่างๆ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ แต่สำหรับการกระทำความผิด
อันเป็นเหตุให้ถูกลงโทษ หรือคำพิพากษาที่พิพากษาว่าได้กระทำผิดนั้น ไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติมาตราใด
ในพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่กำหนดให้ลบล้างการกระทำความผิดอันเป็นเหตุให้ถูกลงโทษนั้น
หรือให้ล้างมลทินว่าไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดไว้ ดังนั้น ผู้ที่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำ
ผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้หรือกฎหมายอื่นๆ ตามมาตรา ๑๒ (๑๑) แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่
พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๓๙
ในอันที่จะอ้างสิทธิในการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านได้ เมื่อผู้ร้องสอดเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่า
กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พระพุทธศักราช ๒๔๘๔ ต้องโทษจำคุก ๑ ปี จึงถือว่ามีลักษณะต้องห้าม
มิให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านตามมาตรา ๑๒ (๑๑) แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗
ประเด็นที่สอง พฤติการณ์ของผู้ร้องสอดจะถือว่าเป็นผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาล
หรือทางทุจริต หรือเสื่อมเสียในทางศีลธรรมตามมาตรา ๑๒ (๘) หรือไม่? นั้น ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า คำว่า
“ไม่เป็นผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลหรือทางทุจริตหรือเสื่อมเสียในทางศีลธรรม” หมายถึง
“ลักษณะต้องห้ามอันเป็นปัจจุบันของผู้สมัครในขณะที่มีการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน”
เพราะกฎหมายมิได้ใช้ถ้อยคำว่า “ไม่เป็นผู้เคย” และถือเป็นดุลพินิจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ที่ต้องพิจารณาว่า
ในช่วงเวลาที่มีการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ผู้สมัครมีลักษณะเข้าข่ายเป็นผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาล
หรือทางทุจริต หรือเสื่อมเสียในทางศีลธรรมหรือไม่ แม้การที่ผู้ร้องสอดเคยต้องคำพิพากษาว่ากระทำผิดกฎหมาย
ว่าด้วยป่าไม้ ต้องโทษจำคุก ๑ ปี อาจถือได้ว่าเข้าข่ายเป็นผู้เสียชื่อในทางพาลหรือทางทุจริต หรือเสื่อมเสียในทาง
ศีลธรรมก็ตาม เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องสอดต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๓๕ แต่มีการสมัคร
รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านในระหว่างวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ และวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ จึงเห็นได้ว่า
พฤติการณ์ที่ผู้ร้องสอดต้องคำพิพากษาได้ล่วงพ้นมาแล้วประมาณ ๑๕ ปี จึงไม่อาจนำพฤติการณ์ดังกล่าว
เพียงประการเดียวมาวินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒ (๘) แห่งพระราชบัญญัติ
ลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ และเมื่อในระหว่างรอการลงโทษตามคำพิพากษาดังกล่าว ผู้ร้องสอด
มิได้กระทำความผิดใดขึ้นอีก ทั้งกำนัน กรรมการหมู่บ้านและบุคคลอื่นๆ ต่างได้รับรองว่าไม่ใช่ผู้มีอิทธิพล ไม่เป็น
คนพาลหรือทุจริต เสื่อมเสียทางศีลธรรม ไม่มีประวัติหรือการกระทำใดๆ ที่เสื่อมเสียในหน้าที่ราชการของตำแหน่ง
ผู้ใหญ่บ้าน กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าในขณะที่มีการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านในครั้งนี้ ผู้ร้องสอดเป็นผู้มีอิทธิพล
หรือเสียชื่อในทางพาลหรือทางทุจริต หรือเสื่อมเสียในทางศีลธรรมที่จะมีลักษณะต้องห้ามมิให้เป็นผู้มีสิทธิรับเลือก
เป็นผู้ใหญ่บ้านตามมาตรา ๑๒ (๘) แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗
กล่าวโดยสรุปก็คือ ถึงแม้ว่าผู้ร้องสอดจะไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒ (๘) แห่ง
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ แต่ก็เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒ (๑๑)
แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ดังนั้น การที่ออกคำสั่งให้ผู้ร้องสอดเป็นผู้มี
คุณสมบัติสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นการออกคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒
ได้วินิจฉัยว่าผู้ร้องสอดมีคุณสมบัติสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านก็เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นผลให้

การออกประกาศ เรื่อง ผลการเลือกผู้ใหญ่บ้าน (ผ.ญ. ๗) และการออกหนังสือสำคัญแสดงหลักฐานการเป็น
ผู้ใหญ่บ้าน (ส.น. ๑๓) ถูกเพิกถอนไปด้วย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๒๙๓/๒๕๕๔)
จากคำพิพากษาดังกล่าว ศาลปกครองสูงสุดได้วางบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีเกี่ยวกับ
คุณสมบัติของผู้สมัครรับการเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗
ที่สำคัญ คือ (๑) กรณีที่ผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเคยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แม้ต่อมาจะได้มี
พระราชบัญญัติล้างมลทินกำหนดให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในความผิดต่างๆ ก็ตาม การล้างมลทินมีผลเฉพาะ
ลบล้างโทษเท่านั้น มิได้มีผลเป็นการลบล้างการกระทำหรือพฤติกรรมอันเป็นเหตุให้ถูกลงโทษแต่อย่างใด
(๒) การพิจารณาว่าผู้สมัครมีพฤติการณ์เป็นผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลหรือทางทุจริตหรือเสื่อมเสียใน
ทางศีลธรรมหรือไม่ ถือเป็นดุลพินิจของนายอำเภอที่จะต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มี
การสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน มิใช่พิจารณาพฤติการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตและมิใช่จะนำเฉพาะพฤติการณ์
ดังกล่าวเพียงประการเดียวมาวินิจฉัยเท่านั้น
(บทความ) ล้างมลทิน ลบล้างโทษ ไม่ลบล้างความผิดฯ / D:นันทรัตน์ _นิรัญ_บทความ

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2013-03-09 13:15:44



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล