ReadyPlanet.com


ขอของกลางคืน คดียาบ้า


พอดีแฟนโดนจับคดียาบ้า 50 เม็ด ไอซ์ 2.5 กรัม ตำรวจยึดรถและทองไว้ ในสำนวนไม่มีรถและทอง พอไปตามตำรวจที่จับกลุ่ม เข้าบอกว่าส่งเรื่องไปให้ร้อยเวร พอไปถามร้อยเวรเจ้าของเรื่อง เค้าบอกว่าส่งไป ปปส. รอตรวจสอบ พอดีรถเป็นชื่อของดิฉันไม่ใช้ผู้ต้องหา รถติดไฟแนนซ์อยู่ (ส่งรายปี 2 ปี ส่งมาแล้ว 1 ปี) รถซื้อก่อนแต่งงานซื้อเดือนมกราคม แต่ถูกจับ มิถุนายน ดิฉันไม่รู้เห็นในการกระทำผิด พอดีอยากได้รถคืนมาก รถยังสภาพใหม่ ออกมาไม่นาน อยากถามว่าต้องทำอย่างไรต่อคะ หรือต้องรอ ปปส.ตรวจสอบ

 



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้หญิงเดินดิน :: วันที่ลงประกาศ 2011-08-01 15:09:21


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3307216)

รถติดไฟแนนซ์อยู่ แสดงว่า กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ไม่ใช่ของคุณ น่าจะลองติดต่อกับไฟแนนซ์ดูให้เขาดำเนินการขอคืนของกลางน่าจะง่ายกว่า แม้ว่ารถเป็นชื่อของคุณแต่เป็นสามีภริยากันจะอ้างไม่รู้เห็นในการกระทำความผิดก็จริง แต่จะฟังยากกว่าให้ไฟแนนซ์ไปขอคืนให้นะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-09-16 21:00:19


ความคิดเห็นที่ 2 (3307218)

 รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  173/2539

 พนักงานอัยการสำนักงานอัยการสูงสุด
      โจทก์
 

          แม้ผู้ร้องเป็นเพียงผู้เช่าซื้อรถยนต์ของกลางขณะจำเลยใช้รถดังกล่าวกระทำความผิดแต่เมื่อผู้ร้องได้ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบก่อนที่ศาลจะสั่งริบผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถนั้นได้และเมื่อผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดก็ต้องคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง
________________________________

          คดีนี้ สืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้อง ขอให้ ลงโทษจำเลย ตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 24, 50 และพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 27 ทวิ ศาลชั้นต้น พิพากษา ลงโทษจำเลย และสั่งริบรถยนต์กระบะหมายเลข ทะเบียน 3ย-0062 กรุงเทพมหานคร ของกลาง

 ผู้ร้อง ยื่นคำร้อง ขอให้สั่งคืนรถยนต์ของกลาง แก่ผู้ร้อง

 โจทก์ ยื่นคำร้องคัดค้าน ว่า ผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของรถยนต์ ของกลางที่แท้จริง ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด ขอให้ยกคำร้อง

 ศาลชั้นต้น มีคำสั่งยกคำร้อง

 ผู้ร้อง อุทธรณ์

 ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน

 ผู้ร้อง ฎีกา

 ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "พิเคราะห์ แล้ว ผู้ร้องเช่าซื้อ รถยนต์กระบะ หมายเลข ทะเบียน 3ย-0062 กรุงเทพมหานคร จากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัด เมื่อ วันที่ 3 กันยายน 2534เจ้าพนักงาน สรรพสามิต จับกุม จำเลยได้ พร้อมบุหรี่ ต่างประเทศ ซึ่งมิได้ ปิดอากรแสตมป์ และ ยึดรถยนต์ ดังกล่าว ซึ่ง ใช้บรรทุกบุหรี่ เป็นของกลาง ผู้ร้องคงผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ รถยนต์ของกลาง ต่อไป จนครบกำหนดราคา ตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อ วันที่ 16 มีนาคม 2535 ตามใบเสร็จรับ เงินเอกสาร หมาย ร.1 ศาลชั้นต้น มี คำพิพากษา ให้ริบรถยนต์ดังกล่าว วันที่ 6 กรกฎาคม 2535 คดีมี ปัญหาตาม ฎีกาของ ผู้ร้องประการ แรกว่า ผู้ร้องมีสิทธิ ยื่นคำร้องขอ คืนรถยนต์ ของกลางหรือไม่เห็นว่า แม้ขณะจำเลย ใช้รถยนต์ของกลาง กระทำ ความผิด ผู้ร้องเป็นผู้เช่าซื้อ รถยนต์ของกลาง มิใช่เจ้าของ ก็ตาม แต่ก่อนที่ศาลชั้นต้น จะสั่ง ริบรถยนต์ ของกลาง ผู้ร้องผ่อนชำระ ค่าเช่าซื้อครบผู้ร้อง จึงได้ กรรมสิทธิ์ ในรถยนต์ของกลางก่อน ที่ศาลชั้นต้นจะ มีคำสั่งริบ ดังนี้ ผู้ร้อง ย่อมมีสิทธิ ยื่นคำร้องขอ คืนรถยนต์ของกลางได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ฎีกา ของผู้ร้อง ข้อนี้ฟังขึ้น

 คดีมีปัญหาต่อไปว่า ผู้ร้อง และ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัด รู้เห็นเป็นใจ ในการกระทำความผิด หรือไม่ สำหรับปัญหานี้ ศาลล่างทั้งสอง ยัง ไม่ได้ วินิจฉัย แต่ศาลฎีกา เห็นสมควรวินิจฉัยไ เลย โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไป ให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย ก่อน เห็นว่า แม้ ผู้ร้องและจำเลย จะเป็น พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน แต่ก็มิได้ อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน อันอาจจะแสดงว่า ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจ ในการกระทำความผิด เมื่อรถยนต์ของกลางถูกยึดบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัด ขอรับรถยนต์ของกลาง จากพนักงานสอบสวนมาเก็บรักษาในเดือนเดียวกันนั่นเอง และเดือนถัดมา ผู้ร้องก็ชำระค่าใช้จ่ายในการติดต่อขอรับรถยนต์ของกลางมา เก็บรักษา ไว้ แก่ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัด เป็น เงิน 700 บาท ตามใบรับเงินชั่วคราว เอกสาร หมาย ร.4 ทั้ง ผู้ร้องยังผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ ต่อไป ใน ลักษณะที่ เคยปฏิบัติอีก 3 ครั้งรวม 7 งวด พฤติการณ์ดังกล่าว แสดงว่าบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัด และผู้ร้องเตรียมการ เพื่อขอรับรถยนต์ของกลางคืนแล้ว การมิได้ร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง ในชั้นสอบสวน จึงมิใช่ ข้อพิรุธแต่อย่างใด ทั้งไม่ปรากฎว่า บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัด รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด ข้อเท็จจริง ฟังได้ว่า ผู้ร้องและ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัด มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วย ในการกระทำความผิด ฎีกา ของผู้ร้อง ฟังขึ้น "

 พิพากษากลับ ให้คืนรถยนต์ของกลาง แกผู้ร้อง
 
( สมพล สัตยาอภิธาน - ไพศาล รางชางกูร - อร่าม หุตางกูร )


หมายเหตุ 

          การริบทรัพย์สินเป็นโทษที่ลงแก่ผู้กระทำผิดทางอาญาอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา18(5)ซึ่งโดยหลักการลงโทษทางอาญาจะเป็นการลงโทษต่อผู้กระทำผิดเท่านั้นจะไปลงโทษผู้ที่ไม่ได้กระทำหาได้ไม่คงมีบัญญัติยกเว้นไว้เฉพาะการริบทรัพย์สินซึ่งบางกรณีทรัพย์นั้นอาจเป็นของบุคคลอื่นศาลก็อาจริบได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา32,33และ34และที่มีบัญญัติไว้ตามกฎหมายเฉพาะเช่นพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา74ทวิพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522มาตรา102พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา116เป็นต้นแต่กฎหมายใดที่บัญญัติให้ริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นของบุคคลใดและเจ้าของจะรู้เห็นด้วยในการกระทำผิดด้วยหรือไม่ศาลเคยวินิจฉัยว่ากฎหมายนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญและประเพณีการปกครองประเทศไทยนำมาใช้บังคับไม่ได้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่562/2508,1602-1603/2509)

          ดังที่กล่าวมาแล้วว่าการริบทรัพย์บุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของเป็นกรณียกเว้นดังนั้นประมวลกฎหมายอาญามาตรา36จึงบัญญัติเพื่อเปิดช่องให้มีการขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา36หรือ34หากผู้ที่ขอคืนเป็นเจ้าของแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดศาลก็จะสั่งคืนทรัพย์สินให้ถ้าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงาน

          มีปัญหาที่น่าคิดว่าความเป็นเจ้าของที่แท้จริงนี้จะพิจารณาขณะไหนเพราะความเป็นเจ้าของแท้จริงระหว่างขณะกระทำผิดกับขณะที่ศาลมีคำพิพากษาให้ริบทรัพย์สินอาจเป็นคนละคนเพราะทรัพย์สินนั้นอาจมีการเปลี่ยนมือไปในระหว่างศาลพิจารณาก่อนศาลมีคำพิพากษาให้ริบทรัพย์สินคำพิพากษาศาลฎีกาที่หมายเหตุนี้วินิจฉัยไว้ค่อนข้างชัดเจนว่าผู้ร้องซึ่งขณะที่มีการกระทำความผิดคือวันที่3กันยายน2534ผู้ที่เป็นเจ้าของ(กรรมสิทธิ์)ในรถยนต์แท้จริงคือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัดซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อแต่ขณะที่ศาลมีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์คือวันที่6กรกฎาคม2535เจ้าของที่แท้จริงคือผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อเพราะผู้ร้องได้ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่สามารถร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบตามมาตรา36ได้คดีนี้ศาลชั้นต้นยกคำร้องผู้ร้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

          ผู้บันทึกเห็นว่าหากพิจารณาถ้อยคำในมาตรา36ประมวลกฎหมายอาญาแล้วทำให้น่าคิดว่าความเป็นเจ้าของที่แท้จริงน่าจะพิจารณาในขณะกระทำความผิดเพราะว่าองค์ประกอบอีกประการหนึ่งที่จะขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบคือต้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดซึ่งองค์ประกอบทั้งสองประการนี้ต้องต่อเนื่องเชื่อมโยงกันมิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหาในการพิจารณาการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดย่อมเป็นไปได้ยากเพราะกรณีอาจมีปัญหาว่าเจ้าของแท้จริงขณะที่มีการกระทำผิดกับขณะศาลพิพากษาให้ริบทรัพย์สินเป็นคนละคนซึ่งเป็นไปได้ว่าเจ้าของแท้จริงขณะกระทำผิดรู้เห็นในการกระทำแต่เจ้าของแท้จริงขณะศาลพิพากษาให้ริบมิรู้เห็นในการกระทำผิดหรือกรณีกลับกันเจ้าของแท้จริงขณะกระทำผิดมิได้รู้เห็นแต่เจ้าของแท้จริงขณะศาลพิพากษาให้กลับรู้เห็นในการกระทำผิดกรณีทั้งสองนี้ศาลจะพิจารณาสั่งคืนทรัพย์สินได้หรือไม่และอีกประการหนึ่งถ้าหากถือเอาความเป็นเจ้าของแท้จริงขณะศาลมีคำพิพากษาก็อาจมีการโอนทรัพย์สินให้บุคคลอื่นเพื่อใช้สิทธิในการขอคืนก็เป็นได้ซึ่งเป็นช่องทางให้มีการโอนทรัพย์สินเพื่อขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบเป็นผลให้การริบทรัพย์สินกรณีดังกล่าวไม่เป็นบทลงโทษผู้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดอย่างแท้จริง

          อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้เป็น2แนว

          1.ถือเอาความเป็นเจ้าของแท้จริงขณะกระทำผิดคือคำพิพากษาศาลฎีกาที่169/2506วินิจฉัยว่า บ. นำกระบือเข้ามาในราชอาณาจักรหลีกเลี่ยงศุลกากรศาลพิพากษาลงโทษและริบกระบือตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา27ผู้ร้องขอคืนกระบือโดยอ้างว่าซื้อจากจำเลยตามตั๋วพิมพ์รูปพรรณที่ออกภายหลังวันเกิดเหตุ1วันศาลฟังข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องซื้อโดยสุจริตแต่วันที่จำเลยนำกระบือเข้ามาผู้ร้องยังไม่เป็นเจ้าของจึงจะถือว่าเป็นเจ้าของซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา33,34ไม่ได้ถ้ายอมให้จำเลยโอนขายทรัพย์สินเช่นนี้ย่อมเป็นช่องทางให้ผู้กระทำผิดใช้วิธีโอนกรรมสิทธิ์ไปก่อนถูกฟ้องให้ริบทรัพย์นั้นได้ยกคำร้อง

          2.ถือเอาความเป็นเจ้าของแท้จริงก่อนศาลพิพากษาคือคำพิพากษาศาลฎีกาที่119/2506วินิจฉัยว่ารถยนต์ที่จำเลยใช้หนีภาษีและถูกลงโทษศาลพิพากษาริบรถยนต์นั้นจำเลยโอนขายรถแก่ผู้อื่นไประหว่างพิจารณาคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาผู้ซื้อซื้อโดยสุจริตศาลสั่งคืนรถแก่ผู้ซื้อได้

          สำหรับเหตุผลของผู้ที่เห็นด้วยกับความเห็นในแนวที่2ให้เหตุผลในทำนองที่คุ้มครองบุคคลภายนอกเพราะถ้าเป็นกรณีที่ผู้ซื้อรับซื้อทรัพย์สินไว้โดยสุจริตหากตีความว่าไม่มีสิทธิขอคืนย่อมกระทบต่อสิทธิของบุคคลภายนอก

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่หมายเหตุนี้วินิจฉัยถือความเป็นเจ้าของแท้จริงขณะที่ศาลมีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางแต่เมื่อวินิจฉัยถึงองค์ประกอบข้อที่ว่ารู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดหรือไม่ศาลฎีกากลับหยิบยกการรู้เห็นของทั้งผู้ร้องและผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงขณะมีการกระทำผิดทั้งผู้ร้องและผู้ให้เช่าซื้อต่างไม่รู้เห็นเป็นใจจึงไม่มีปัญหาเกิดขึ้นหากคนใดคนหนึ่งรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดแล้วละก็อาจจะมีปัญหาในการสั่งคืนของกลางเกิดขึ้นได้ซึ่งผู้บันทึกก็เห็นว่าถ้าหากเป็นกรณีเช่นนั้นศาลก็คงสั่งไม่คืนทรัพย์สินให้ผู้ร้องเป็นแน่ในปัญหานี้ยังไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้จึงต้องรอดูคำวินิจฉัยของศาลฎีกาต่อไปแต่โดยผลของคำพิพากษาศาลฎีกานี้ผู้บันทึกเห็นว่าศาลฎีกาท่านวินิจฉัยโดยมองความเป็นธรรมเพราะกรณีเป็นเรื่องที่ผู้เช่าซื้อทำสัญญาเช่าซื้อแล้วผ่อนชำระค่าเช่าซื้อมาตลอดจนครบก่อนศาลมีคำพิพากษาให้ริบทรัพย์สินที่เช่าซื้อตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องถ้าจะวินิจฉัยเคร่งครัดว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นเจ้าของขณะกระทำผิดก็จะกลายเป็นว่าผู้ที่จะขอคืนทรัพย์สินคือผู้ให้เช่าซื้อซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่แท้จริงแล้วยิ่งจะเป็นการสับสนและไม่เป็นธรรมกับผู้ร้องอย่างมาก

          เกี่ยวกับการขอคืนของกลางนอกจากองค์ประกอบที่บัญญัติไว้ในมาตรา36แล้วศาลฎีกายังได้วางหลักไว้อีกหลายกรณีที่น่าสนใจเช่น

          1.การร้องขอคืนของกลางเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งหากศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นใดแล้วหากมายื่นคำร้องซึ่งในเรื่องเดิมก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่2082/2521ผู้ร้องร้องขอให้คืนของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วสั่งว่าพยานหลักฐานยังไม่พอฟังว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของให้ยกคำร้องเท่ากับฟ้องว่าผู้ร้องไม่เป็นเจ้าของแท้จริงนั่นเองผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนของกลางอีกเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144จะอ้างว่าคำร้องฉบับก่อนยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นเจ้าของแท้จริงหาได้ไม่

          2.การร้องขอคืนของกลางเป็นการใช้สิทธิทางศาลอย่างหนึ่งถ้าศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริตศาลยกคำร้องได้เช่น

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่182/2537จำเลยที่1นำพาของกลางไปกระทำผิดมาครั้งหนึ่งแล้วซึ่งผู้ร้องเคยติดต่อขอรถยนต์ของกลางคืนจากพนักงานสอบสวนแสดงว่าผู้ร้องทราบเรื่องแล้วแต่หาได้บอกเลิกสัญญาและติดตามยึดรถคืนทันทีไม่กลับปล่อยให้จำเลยที่1เป็นผู้รับรถยนต์กลับไปครอบครองใช้สอยและรับเงินค่าเช่าซื้อจากจำเลยที่1ต่อมาจำเลยที่1นำรถยนต์มากระทำผิดอีกซึ่งความข้อนี้อาจเป็นเพราะว่าตามสัญญาเช่าซื้อมีข้อกำหนดให้จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อผู้ร้องในทุกกรณีอยู่แล้วผู้ร้องจึงมิได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยที่1พฤติการณ์แสดงว่าแม้จำเลยที่1จะนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำผิดผู้ร้องก็ไม่ประสงค์จะเลิกสัญญาเช่าซื้อการที่ผู้ร้องขอคืนของกลางเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่1เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีอำนาจที่จะร้องขอคืนของกลาง(คำพิพากษาศาลฎีกาที่269/2537,1343/2537,4117/2532,365/2534,3224/2534)

          3.เจ้าของรวมในทรัพย์สินที่ศาลมีคำพิพากษาให้ริบก็ขอคืนของกลางได้เพราะประมวลกฎหมายอาญามาตรา36มิได้จำกัดสิทธิของผู้เป็นเจ้าของรวมไว้หากเจ้าของรวมมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินกึ่งหนึ่งได้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่200/2537,1303/2510)

           สมกุมชาด
 
 
  

                

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-09-16 21:36:04



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล