ReadyPlanet.com


ปัญหามรดกเหมือนคุณสุ


ขอรบกวนนะครับ ปัญหาของผมคล้ายกับคุณสุ แต่ของผมมีพี่น้อง 3 คน คือพี่ชาย 1 น้องชาย 1 มีมรดกคือที่ดินพร้อมบ้านที่คุณปู่ยกให้ 1 หลัง ใส่ชื่อเรา 3 คน แต่ปัจจุบันพี่ชายแต่งงานแล้วและอยู่กับพี่สะใภ้กับหลานอีก 2 คนในบ้านหลังนี้ ส่วนตัวผมอยู่กับคุณแม่มาซื้อบ้านใหม่และใส่ชื่อ 3 คน คือ แม่ ผม และพี่ชาย (โดยเป็นเงินส่วนตัวของผมกับแม่) แต่ไม่ได้ใส่ชื่อน้องชาย เพราะน้องชายไปซื้อบ้านต่างหากก่อนหน้านี้ ขอเรียนถามดังนี้

1.หากน้องชายต้องการเข้ามามีส่วน คุณแม่ก็สามารถโอนในส่วนของคุณแม่ให้ได้ใช่ไหมครับ และคุณแม่สามารถโอนเองโดยไม่ต้องให้ผมและพี่รับรอง ถูกไหมครับ

2.หากคุณแม่โอนในส่วนของคุณแม่ให้น้อง ก็เท่ากับว่าจะไม่มีชื่อคุณแม่ในบ้านหลังนี้หรือครับ

3.หากน้องชายไม่ขอเข้ามามีส่วน แล้วพี่ชายล่ะครับ ในอนาคตถ้าเราตกลงกันได้กับพี่ชาย โดยให้เขาอยู่บ้านคุณปู่ และผมโอนชื่ออกจากบ้านคุณปู่ และให้พี่ชายโอนชื่อออกจากบ้านหลังนี้ก็ได้ใช่ไหมครับ

ขอเรียนถามเท่านี้ครับ

ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ สิทธิโชค :: วันที่ลงประกาศ 2010-11-29 13:05:31


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3275113)

1.หากน้องชายต้องการเข้ามามีส่วน คุณแม่ก็สามารถโอนในส่วนของคุณแม่ให้ได้ใช่ไหมครับ และคุณแม่สามารถโอนเองโดยไม่ต้องให้ผมและพี่รับรอง ถูกไหมครับ

ตอบ--กรรมสิทธิ์รวม 3 คน มีคนละส่วนเท่า ๆ กัน แม่จะโอนส่วนของแม่ให้ลูกได้เพราะ

มาตรา 1361 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือ จำนอง หรือก่อให้เกิดภารติดพันก็ได้
 

แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภารติดพันได้ ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน
 

แต่แม่จะโอนที่ดินทั้งแปลงให้ใครโดยไม่ได้รับความยินยอมของคุณและพี่ไม่ได้ครับ

2.หากคุณแม่โอนในส่วนของคุณแม่ให้น้อง ก็เท่ากับว่าจะไม่มีชื่อคุณแม่ในบ้านหลังนี้หรือครับ

ตอบ--อยู่ที่จะโอนมากน้อยเท่าใด เช่นให้บรรยายส่วนลงไปในโฉนดที่ดินว่าจะโอนในส่วนของแม่ให้น้องกี่ส่วน

ถ้าโอนไม่หมดก็มีชื่อแม่อยู่เหมือนเดิมแต่กรรมสิทธิ์เหลือน้อยลงตามส่วนที่จำหน่ายออกไป

3.หากน้องชายไม่ขอเข้ามามีส่วน แล้วพี่ชายล่ะครับ ในอนาคตถ้าเราตกลงกันได้กับพี่ชาย โดยให้เขาอยู่บ้านคุณปู่ และผมโอนชื่ออกจากบ้านคุณปู่ และให้พี่ชายโอนชื่อออกจากบ้านหลังนี้ก็ได้ใช่ไหมครับ

ตอบ --ที่ว่าโอนชื่อออกจากบ้านคุณหมายถึงย้ายทะเบียนบ้านออกหรือว่าโอนโฉนด????

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-11-29 21:23:18


ความคิดเห็นที่ 2 (3275214)

ขอเรียนถามเพิ่มเติมนะครับ

1.แม่ไม่สามารเอาชื่อลูกคนใดออกจากโฉนดได้ใช่ไหมครับ

2.ที่ถามในข้อ 3 คือให้พี่ชายเอาชื่อออกจากโฉนดบ้านหลังนี้ และผมก็เอาชื่อออกจากโฉนดบ้านคุณปู่ น่ะครับ

   สรุปเรา 3 คน จะได้มีบ้านคนละหลัง (น้องชายมีบ้านของเขาเอง)

3.ใจจริงผมอยากได้บ้านหลังนี้ เพราะลงไปเยอะ แต่ติดที่พี่ชายกับน้องชาย ทำอย่างไรดี หากอนาคตไม่มีคุณแม่แล้ว

   ผมถึงจะมีสิทธิ์เพียงคนเดียว เพราะดูท่าจะปวดหัว เพราะแต่ละคนก็มีลูกกัน กลัวปัญหาในอนาคต ซึ่งทั้งพี่ชายและน้องชาย

   ก็ไม่ได้มามีส่วนซื้อบ้านหลังนี้เลย

หวังในความกรุณา ตอบปัญหาให้ผมด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สิทธิโชค วันที่ตอบ 2010-11-30 16:56:53


ความคิดเห็นที่ 3 (3275232)

1.แม่ไม่สามารเอาชื่อลูกคนใดออกจากโฉนดได้ใช่ไหมครับ

ตอบ-- เอาออกไม่ได้ครับ

2.ที่ถามในข้อ 3 คือให้พี่ชายเอาชื่อออกจากโฉนดบ้านหลังนี้ และผมก็เอาชื่อออกจากโฉนดบ้านคุณปู่ น่ะครับ

   สรุปเรา 3 คน จะได้มีบ้านคนละหลัง (น้องชายมีบ้านของเขาเอง)

ตอบ-- เป็นเรื่องตกลงกันครับ แต่จะบังคับไม่ได้

3.ใจจริงผมอยากได้บ้านหลังนี้ เพราะลงไปเยอะ แต่ติดที่พี่ชายกับน้องชาย ทำอย่างไรดี หากอนาคตไม่มีคุณแม่แล้ว

ตอบ--ก็แบ่งกันเลยครับ ให้แม่เป็นตัวกลางประสานให้

   ผมถึงจะมีสิทธิ์เพียงคนเดียว เพราะดูท่าจะปวดหัว เพราะแต่ละคนก็มีลูกกัน กลัวปัญหาในอนาคต ซึ่งทั้งพี่ชายและน้องชายก็ไม่ได้มามีส่วนซื้อบ้านหลังนี้เลย

ตอบ-- คุณไปลงทุนโดยไม่ทำสัญญาอะไรกันไว้ก็ปวดหัวเป็นธรรมดา เป็นพี่น้องกันรีบเคลียร์ให้ลงตัว ถ้าแม่ไม่อยู่จะได้ไม่ทะเลาะกันครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-11-30 19:42:01


ความคิดเห็นที่ 4 (3275355)

ถ้าเช่นนั้น ถ้าคุณแม่ทำพินัยกรรมว่าบ้านหลังนี้ไม่ให้ขายแต่ให้อยู่อาศัยและมีสิทธิ์เท่ากันหรือจะขายก็ให้แบ่งเท่าๆกัน ก็ไม่ถูกต้องใช่ไหมครับเพราะแม่ไม่ได้มีสิทธิ์เพียงคนเดียว ผมคงไม่กล้าไปแนะนำท่านเดี๋ยวจะหาว่าเป็นการแช่ง แต่ท่านเคยพูดไว้อย่างนั้นจริงๆ หากถึงเวลานั้นจริงๆแล้วไม่ยอมกัน จะทำอย่างไรต้องขึ้นศาลไหมครับ แล้วศาลจะพิจารณาอย่างไรดูอะไรเป็นเกณฑ์  คงเป็นคำถามข้อสุดท้ายแล้วล่ะครับ ได้ความรู้มากเลย ขอบคุณมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สิทธิโชค วันที่ตอบ 2010-12-01 17:27:04


ความคิดเห็นที่ 5 (3275396)

ตอบ--แม่จะทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินได้เฉพาะในส่วนของตนเท่านั้น ดังนั้นเมื่อไม่มีการแบ่งแยกทรัพย์ออกเป็นสัดส่วนที่แน่นอนก็ถือว่าทุกคนที่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นเจ้าของทรัพย์คนละส่วนเท่า ๆ กัน ส่วนบ้านเป็นส่วนควบกับที่ดินยอมเป็นทรัพย์ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ถ้าจะมีการแบ่งก็ต้องขายนำเงินมาแบ่งกัน หรือประมูลกันเองแล้วจ่ายส่วนที่ควรได้ให้แก่คนที่ประมูลไม่ได้

แต่ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมในส่วนของแม่ เมื่อเจ้าของทรัพย์ตาย มรดกตกแก่ทายาททุกคน (เฉพาะส่วนของแม่เท่านั้น)

เนื่องจากปัจจุบันที่ดินแปลงที่กำลังพูดถึงคือที่ดินที่มีชื่อ แม่+คุณ+พี่ชาย สมมุติให้แบ่งออกเป็น 9 ส่วน แม่เป็นเจ้าของ 3 ส่วน คุณเป็นเจ้าของ 3 ส่วน พี่ชายเป็นเจ้าของ 3 ส่วน(สรุปคนละส่วนเท่ากันหมด)

เมื่อแม่เสียชีวิต(สมมุติ)ไม่ได้ทำพินัยกรรม ส่วนของแม่ 3 ส่วนตกได้แก่ทายาท คือลูกสามคน ๆ ละส่วนเท่ากันได้แก่

น้อง 1 ส่วน + คุณ 4 ส่วน(ของเดิม 3 ส่วน)  พี่ชาย 4 ส่วน (ของเดิม 3 ส่วน) รวมเป็น 9 ส่วนเท่าเดิม (หมายถึงหลังแบ่งแล้วทรัพย์มีสัดส่วนเท่าเดิม)

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย 084 130 2058

 

มาตรา 1700 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในหมวดนี้ บุคคลจะจำหน่าย ทรัพย์สินใด ๆ โดยนิติกรรมที่มีผลในระหว่างชีวิต หรือเมื่อตายแล้ว โดยมี ข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้รับประโยชน์โอนทรัพย์สินนั้นก็ได้ แต่ต้องมีบุคคลใด บุคคลหนึ่งนอกจากผู้รับประโยชน์กำหนดไว้ สำหรับเป็นผู้จะได้รับทรัพย์สิน นั้นเป็นสิทธิเด็ดขาดในเมื่อมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอน
 

ผู้ซึ่งกำหนดขึ้นดั่งกล่าวนั้นต้องเป็นผู้สามารถจะมีสิทธิต่าง ๆ ได้อยู่ใน ขณะที่การจำหน่ายทรัพย์สินนั้นมีผลบังคับ
 

ถ้ามิได้กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์สินในเมื่อมีการละเมิดข้อ กำหนดห้ามโอนไว้ ให้ถือว่าข้อกำหนดห้ามโอนนั้นเป็นอันไม่มีเลย

มาตรา 1701 ข้อกำหนดห้ามโอนตาม มาตรา ก่อนนั้น จะให้มีกำหนด เวลาหรือตลอดชีวิตของผู้รับประโยชน์ก็ได้
 

ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาห้ามโอนไว้ ในกรณีที่ผู้รับประโยชน์เป็นบุคคล ธรรมดา ให้ถือว่าข้อกำหนดห้ามโอนมีระยะเวลาอยู่ตลอดชีวิตของผู้รับประ โยชน์ แต่ในกรณีที่ผู้รับประโยชน์เป็นนิติบุคคล ให้มีระยะเวลาเพียงสามสิบปี
 

ถ้าได้กำหนดเวลาห้ามโอนไว้ กำหนดนั้นมิให้เกินสามสิบปีถ้ากำหนดไว้ นานกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นสามสิบปี

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-12-02 00:03:58



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล