ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




ลักษณะ 2 สัญญา หมวด 1 ก่อให้เกิดสัญญา มาตรา 354 ถึง มาตรา 368

 

ลักษณะ 2 สัญญา หมวด 1 ก่อให้เกิดสัญญา

 

มาตรา 354    คำเสนอจะทำสัญญาอันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองนั้นท่านว่าไม่อาจจะถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้

 

มาตรา 355    บุคคลทำคำเสนอไปยังผู้อื่นซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางและมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง จะถอนคำเสนอของตนเสีย ภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่

 

มาตรา 356    คำเสนอทำแก่บุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้าโดยมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองนั้นเสนอ ณ ที่ใดเวลาใดก็ย่อมจะสนองรับได้แต่ ณ ที่นั้นเวลานั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงการที่บุคคลคนหนึ่งทำคำเสนอไปยังบุคคลอีกคนหนึ่งทางโทรศัพท์ด้วย
 

มาตรา 357    คำเสนอใดเขาบอกปัดไปยังผู้เสนอแล้วก็ดี หรือมิได้ สนองรับภายในเวลากำหนดดังกล่าวมาในมาตราทั้งสามก่อนนี้ก็ดี คำเสนอนั้นท่านว่าเป็นอันสิ้นความผูกพันแต่นั้นไป

 

มาตรา 358    ถ้าคำบอกกล่าวสนองมาถึงล่วงเวลาแต่เป็นที่เห็นประจักษ์ว่าคำบอกกล่าวนั้นได้ส่งโดยทางการ ซึ่งตามปกติควรจะมาถึงภายในกำหนดไซร้ ผู้เสนอต้องบอกกล่าวแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งโดยพลันว่าคำสนองนั้นมาถึงเนิ่นช้า เว้นแต่จะได้บอกกล่าวเช่นนั้นก่อนแล้ว
 

ถ้าผู้เสนอละเลยไม่บอกกล่าวดั่งว่ามาในวรรคต้น ท่านให้ถือว่าคำบอกกล่าวสนองนั้นมิได้ล่วงเวลา

 

มาตรา 359    ถ้าคำสนองมาถึงล่วงเวลา ท่านให้ถือว่าคำสนองนั้นกลายเป็นคำเสนอขึ้นใหม่
 

คำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยนั้น ท่านให้ถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว

 

มาตรา 360    บทบัญญัติแห่งมาตรา 169 วรรคสองนั้น ท่านมิให้ใช้บังคับถ้าหากว่าขัดกับเจตนาอันผู้เสนอได้แสดงหรือหากว่าก่อนจะสนองรับนั้นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตายหรือตก เป็นผู้ไร้ความสามารถ

 

มาตรา 361    อันสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางนั้น ย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้นแต่เวลาเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ
 

ถ้าตามเจตนาอันผู้เสนอได้แสดงหรือตามปกติประเพณีไม่จำเป็นจะต้องมีคำบอกกล่าวสนองไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเกิดเป็นสัญญาขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้นอันจะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ

 

มาตรา 362    บุคคลออกโฆษณาให้คำมั่นว่าจะให้รางวัลแก่ผู้ซึ่งกระทำการอันใด ท่านว่าจำต้องให้รางวัลแก่บุคคลใดๆ ผู้ได้กระทำการ อันนั้น ถึงแม้มิใช่ว่าผู้นั้นจะได้กระทำเพราะเห็นแก่รางวัล

 

มาตรา 363    ในกรณีที่กล่าวมาในมาตราก่อนนี้ เมื่อยังไม่มีใครทำการสำเร็จดั่งบ่งไว้นั้นอยู่ตราบใด ผู้ให้คำมั่นจะถอนคำมั่นของตนเสียโดยวิธีเดียวกับที่โฆษณานั้นก็ได้ เว้นแต่จะได้แสดงไว้ในโฆษณานั้นว่าจะไม่ถอน
 

ถ้าคำมั่นนั้นไม่อาจจะถอนโดยวิธีดั่งกล่าวมาก่อนจะถอนโดยวิธีอื่นก็ได้แต่ถ้าเช่นนั้นการถอนจะเป็นอันสมบูรณ์ใช้ได้เพียงเฉพาะต่อบุคคลที่รู้
 

ถ้าผู้ให้คำมั่นได้กำหนดระยะเวลาให้ด้วยเพื่อทำการอันบ่งนั้นไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ให้คำมั่นได้สละสิทธิที่จะถอนคำมั่นนั้นเสียแล้ว

 

มาตรา 364    ถ้าบุคคลหลายคนกระทำการอันบ่งไว้ในโฆษณาท่านว่าเฉพาะแต่คนที่ทำได้ก่อนใครหมดเท่านั้นมีสิทธิจะได้รับรางวัล
 

ถ้าบุคคลหลายคนกระทำการอันนั้นได้พร้อมกัน ท่านว่าแต่ละคนมีสิทธิจะได้รับรางวัลเป็นส่วนแบ่งเท่า ๆ กันแต่ถ้ารางวัลนั้นมีสภาพแบ่งไม่ได้ก็ดีหรือถ้าตามข้อความแห่งคำมั่นนั้น บุคคลแต่คนเดียวจะพึงรับรางวัลก็ดี ท่านให้วินิจฉัยด้วยวิธีจับสลาก
 

บทบัญญัติดั่งกล่าวมาในวรรคทั้งสองข้างต้นนั้น ท่านมิให้ใช้บังคับถ้าในโฆษณานั้นแสดงเจตนาไว้เป็นอย่างอื่น

 

มาตรา 365    คำมั่นจะให้รางวัลอันมีความประสงค์เป็นการ ประกวดชิงรางวัลนั้นจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้กำหนดระยะเวลาไว้ในคำโฆษณาด้วย
 

การที่จะตัดสินว่าผู้ประกวดคนไหนได้การทำสำเร็จตามเงื่อนไข ในคำมั่นภายในเวลากำหนดหรือไม่ก็ดี หรือตัดสินในระหว่างผู้ ประกวดหลายคนนั้นว่าคนไหนดีกว่ากันอย่างไรก็ดี ให้ผู้ชี้ขาดซึ่งได้ระบุชื่อไว้ในโฆษณานั้นเป็นผู้ตัดสินหรือถ้ามิได้ระบุชื่อผู้ชี้ขาดไว้ก็ให้ผู้ให้คำมั่นเป็นผู้ตัดสินคำตัดสินอันนี้ย่อมผูกพันผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยทุกฝ่าย
 

ถ้าได้คะแนนทำดีเสมอกัน ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 364 วรรคสอง มาใช้บังคับแล้วแต่กรณี
 

การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ทำขึ้นประกวดนั้นผู้ให้คำมั่นจะเรียกให้โอนแก่ตนได้ต่อเมื่อได้ระบุไว้ในโฆษณาว่าจะพึงโอนเช่นนั้น

 

มาตรา 366    ข้อความใดๆ แห่งสัญญาอันคู่สัญญาแม้เพียงฝ่ายเดียวได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อนั้น หากคู่สัญญายังไม่ตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใด เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันการที่ได้ทำความเข้าใจกันไว้เฉพาะบางสิ่งบางอย่างถึงแม้ว่าจะได้จดลงไว้ก็หาเป็นการผูกพันไม่
 

ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาอันมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ

 

มาตรา 367    สัญญาใดคู่สัญญาได้ถือว่าเป็นอันได้ทำกันขึ้นแล้วแต่แท้จริงยังมิได้ตกลงกันในข้อหนึ่งข้อใด อันจะต้องทำความตกลงให้สำเร็จ ถ้าจะพึงอนุมานได้ว่าถึงหากจะไม่ทำความตกลงกันในข้อนี้ ได้สัญญานั้นก็จะได้ทำขึ้นไซร้ ท่านว่าข้อความส่วนที่ได้ตกลงกันแล้วก็ย่อมเป็นอันสมบูรณ์

 

มาตรา 368    สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย

 (การตีความสัญญาในทางสุจริต-คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1035/2543)

 

ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความลีนนท์  สำนักงานกฎหมายพีศิริ ทนายความ  084 1302058




ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

บรรพ1 หลักทั่วไป มาตรา 1 ถึง มาตรา 14 article
ส่วนที่ 1 สภาพบุคคล มาตรา 15 ถึง มาตรา 18 article
ส่วนที่ 2 ความสามารถ มาตรา 19 ถึง มาตรา 36 article
ส่วนที่ 3 ภูมิลำเนา มาตรา 37 ถึง มาตรา 47
ส่วนที่ 4 สาปสูญ มาตรา 48 ถึง มาตรา 64
หมวด 2 นิติบุคคล ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 65 ถึง มาตรา 77
ส่วนที่ 2 สมาคม มาตรา 78 ถึง มาตรา 109
ส่วนที่ 3 มูลนิธิ มาตรา 110 ถึง มาตรา 136
ลักษณะ 3 ทรัพย์ มาตรา 137 ถึง มาตรา 148
ลักษณะ 4 นิติกรรม หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 149 ถึง มาตรา 153
หมวด 2 การแสดงเจตนา มาตรา 154 ถึง มาตรา 171
หมวด 3 โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม มาตรา 172 ถึง มาตรา 181
หมวด 4 เงื่อนไขและเงื่อนเวลา มาตรา 182 ถึง มาตรา 193
ลักษณะ 5 ระยะเวลา มาตรา 193/1 ถึง มาตรา 193/8
ลักษณะ 6 อายุความ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 193/9 ถึง มาตรา 193/29
หมวด 2 กำหนดอายุความ มาตรา 193/30 ถึง มาตรา 193/35
บรรพ 2 หนี้ ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป หมวด 1 วัตถุแห่งหนี้ มาตรา 194 ถึง มาตรา 202
หมวด 2 ผลแห่งหนี้ ส่วนที่ 1 การไม่ชำระหนี้ มาตรา 203 ถึง มาตรา 225
ส่วนที่ 2 รับช่วงสิทธิ มาตรา 226 ถึง มาตรา 232
ส่วนที่ 3 การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ มาตรา 233 ถึง มาตรา 236
ส่วนที่ 4 เพิกถอนการฉ้อฉล มาตรา 237 ถึง มาตรา 240
ส่วนที่ 5 สิทธิยึดหน่วง มาตรา 241 ถึง มาตรา 250
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ มาตรา 251 ถึง มาตรา 252
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *1. บุริมสิทธิสามัญ มาตรา 253 ถึง มาตรา 258
2. บุริมสิทธิพิเศษ (ก) บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์ มาตรา 259 ถึง มาตรา 272
2. บุริมสิทธิพิเศษ (ข) บุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ มาตรา 273 ถึง มาตรา 276
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *3. ลำดับแห่งบุริมสิทธิ มาตรา 277 ถึง มาตรา 280
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *4. ผลแห่งบุริมสิทธิ มาตรา 281 มาตรา 289
หมวด 3 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน มาตรา 290 ถึง มาตรา 302
หมวด 4 โอนสิทธิเรียกร้อง มาตรา 303 ถึง มาตรา 313
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่1 การชำระหนี้ มาตรา 314 ถึง มาตรา 339
หมวด4 โอนสิทธิเรียกร้อง *ส่วนที่ 2 ปลดหนี้ มาตรา 340
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 3 หักกลบลบหนี้ มาตรา 341 ถึง มาตรา 348
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 4 แปลงหนี้ใหม่ มาตรา 349 ถึง มาตรา 352
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 5 หนี้เกลื่อนกลืนกัน มาตรา 353
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 2 ผลแห่งสัญญา มาตรา 369 ถึง มาตรา 376
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 3 มัดจำและเบี้ยปรับ มาตรา 377 ถึง มาตรา 385
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 4 เลิกสัญญา มาตรา 386 ถึง มาตรา 394
ลักษณะ3 จัดการงานนอกสั่ง มาตรา 395 ถึง มาตรา 405
ลักษณะ 4 ลาภมิควรได้ มาตรา 406 ถึง มาตรา 419
ลักษณะ 5 ละเมิด หมวด 1 ความรับผิดเพื่อละเมิด มาตรา 420 ถึง มาตรา 437
หมวด2 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด มาตรา 438 ถึง มาตรา 448
หมวด 3 นิรโทษกรรม มาตรา 449 ถึง มาตรา 452
หมวด 1 สภาพและหลักสำคัญของสัญญาซื้อขาย ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 453 ถึง มาตรา 457
ส่วนที่ 2 การโอนกรรมสิทธิ์ มาตรา 458 ถึง มาตรา 460
หมวด 2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ขาย ส่วนที่ 1 การส่งมอบ มาตรา 461 ถึง มาตรา 471
ส่วนที่ 2 ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง มาตรา 472 ถึง มาตรา 474
ส่วนที่ 3 ความรับผิดในการรอนสิทธิ มาตรา 475 ถึง มาตรา 482
ส่วนที่ 4 ข้อสัญญาไม่ต้องรับผิด มาตรา 483 ถึง มาตรา 485
หมวด 3 หน้าที่ของผู้ซื้อ มาตรา 486 ถึง มาตรา 490
หมวด 4 การซื้อขายเฉพาะบางอย่าง ส่วนที่ 1 ขายฝาก มาตรา 491 ถึง มาตรา 502
ส่วนที่ 2 ขายตามตัวอย่าง ขายตามคำพรรณนา ขายเผื่อชอบ มาตรา 503 ถึง มาตรา 508
ส่วนที่ 3 ขายทอดตลาด มาตรา 509 ถึง มาตรา 517
ลักษณะ 2 แลกเปลี่ยน มาตรา 518 ถึง มาตรา 520
ลักษณะ 3 ให้ มาตรา 521 ถึง มาตรา 536
ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 537 ถึง มาตรา 545
หมวด 2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่า มาตรา 546 ถึง มาตรา 551
หมวด 3 หน้าที่ความรับผิดของผู้เช่า มาตรา 552 ถึง มาตรา 563
หมวด 4 ความระงับแห่งสัญญาเช่า มาตรา 564 ถึง มาตรา 571
ลักษณะ5 เช่าซื้อ มาตรา 572 ถึง มาตรา 574
ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน มาตรา 575 ถึง มาตรา 586
ลักษณะ 7 จ้างทำของ มาตรา 587 ถึง มาตรา 607
ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 608 ถึง มาตรา 609
หมวด 1 รับขนของ มาตรา 610 ถึง มาตรา 633
หมวด 2 รับขนคนโดยสาร มาตรา 634 ถึง มาตรา 639
ลักษณะ 9 ยืม หมวด 1 ยืมใช้คงรูป มาตรา 640 ถึง มาตรา 649
หมวด 2 ยืมใช้สิ้นเปลือง มาตรา 650 ถึง มาตรา 656
ลักษณะ 10 ฝากทรัพย์ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 657 ถึง มาตรา 671
หมวด 2 วิธีการเฉพาะการฝากเงิน มาตรา 672 ถึง มาตรา 673
หมวด 3 วิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม มาตรา 674 ถึง มาตรา 679
ค้ำประกัน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 680 ถึง มาตรา 685/1
หมวด 2 ผลก่อนชำระหนี้ มาตรา 686 ถึง มาตรา 692
หมวด 3 ผลภายหลังชำระหนี้ มาตรา 693 ถึง มาตรา 697
หมวด 4 ความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกัน มาตรา 698 ถึง มาตรา 701
ลักษณะ 12 จำนอง หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 702 ถึง มาตรา 714/1
หมวด 2 สิทธิจำนองครอบเพียงใด มาตรา 715 ถึง มาตรา 721
หมวด 3 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับจำนองและผู้จำนอง มาตรา 722 ถึง มาตรา 727/1
หมวด 4 การบังคับจำนอง มาตรา 728 ถึง มาตรา 735
หมวด 5 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง มาตรา 736 ถึง มาตรา 743
หมวด 6 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจำนอง มาตรา 744 ถึง มาตรา 746
ลักษณะ 13 จำนำ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 747 ถึง มาตรา 757
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของผู้จำนำและผู้รับจำนำ มาตรา 758 ถึง มาตรา 763
หมวด 3 การบังคับจำนำ มาตรา 764 ถึง มาตรา 768
ความระงับสิ้นไปแห่งการจำนำ มาตรา 769
ลักษณะ 14 เก็บของในคลังสินค้า หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 770 ถึง มาตรา 774
หมวด 2 ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า มาตรา 775 ถึง มาตรา 796
ลักษณะ 15 ตัวแทน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 797 ถึง มาตรา 806
หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ มาตรา 807 ถึง มาตรา 814
หมวด 3 หน้าที่และความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน มาตรา 815 ถึง มาตรา 819
หมวด 4 ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก มาตรา 820 ถึง มาตรา 825
หมวด 5 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน มาตรา 826 ถึง มาตรา 832
หมวด 6 ตัวแทนค้าต่าง มาตรา 833 ถึง มาตรา 844
ลักษณะ 16 นายหน้า มาตรา 845 ถึง มาตรา 849
ลักษณะ 17 ประนีประนอมยอมความ มาตรา 850 ถึง มาตรา 852
ลักษณะ 18 การพนันและขันต่อ มาตรา 853 ถึง มาตรา 855
ลักษณะ 19 บัญชีเดินสะพัด มาตรา 856 ถึง มาตรา 860
ลักษณะ 20 ประกันภัย หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 861 ถึง มาตรา 868
หมวด 2 ประกันวินาศภัย ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 869 ถึง มาตรา 882
ส่วนที่ 2 วิธีเฉพาะการประกันภัยในการรับขน มาตรา 883 ถึง มาตรา 886