ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




หมวด 2 แบบพินัยกรรม มาตรา 1655 ถึง มาตรา 1672

 

หมวด 2 แบบพินัยกรรม

 

มาตรา 1655 พินัยกรรมนั้นจะทำได้ก็แต่ตามแบบใดแบบหนึ่งดั่งที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้

 

มาตรา 1656 พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดั่งนี้ก็ได้กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อ รับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม ไว้ในขณะนั้น
(พินัยกรรมมิได้ลงวันเดือนปีเป็นโมฆะ คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3776/2545)

 

การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับ การทำพินัยกรรมตาม มาตรานี้

 

มาตรา 1657 พินัยกรรมนั้นจะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ ก็ได้กล่าวคือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความ ทั้งหมด วัน เดือนปี และลายมือชื่อของตน
 

การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรม นั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง และ ลงลายมือชื่อกำกับไว้
 

บทบัญญัติ มาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่ พินัยกรรมที่ทำขึ้นตามมาตรานี้

 

มาตรา 1658 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองก็ได้ กล่าวคือ
(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์ จะให้ใส่ไว้ใน พินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีก อย่างน้อยสองคน พร้อมกัน
(2) กรมการอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบ นั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
(3) เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่กรมการ อำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกันกับที่ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
(4) ข้อความที่กรมการอำเภอจดไว้นั้น ให้กรมการอำเภอลงลายมือชื่อ และลงวัน เดือน ปี ทั้งจดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่าพินัยกรรมนั้น ได้ทำขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติอนุ มาตรา (1) ถึง (3) ข้างต้น แล้ว ประทับตราตำแหน่ง ไว้เป็นสำคัญ
 

การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรม นั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และกรมการอำเภอ จะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้

 

มาตรา 1659 การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนั้น จะทำ นอกที่ว่าการอำเภอก็ได้ เมื่อมีการร้องขอเช่นนั้น

 

มาตรา 1660 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารลับก็ได้ กล่าวคือ
(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม
(2) ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรมนั้นแล้วลงลายมือชื่อคาบรอย ผนึกนั้น
(3) ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อกรมการ อำเภอและพยานอีกอย่างน้อยสองคน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมด เหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมมิได้ เป็นผู้เขียนเองโดยตลอดผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนา ของผู้เขียนให้ทราบด้วย
(4) เมื่อกรมการอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่นำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซองนั้นและ ประทับตราตำแหน่งแล้ว ให้ กรมการอำเภอ ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น
 

การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้น ย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะ ได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้

 

มาตรา 1661 ถ้าบุคคลผู้เป็นทั้งใบ้และหูหนวกหรือผู้ที่พูดไม่ได้มี ความประสงค์จะทำพินัยกรรมเป็นแบบเอกสารลับ ให้ผู้นั้นเขียนด้วย ตนเองบนซองพินัยกรรมต่อหน้ากรมการอำเภอและพยาน ซึ่งข้อความ ว่าพินัยกรรมที่ผนึกนั้นเป็นของตนแทนการให้ถ้อยคำดั่งที่กำหนดไว้ใน มาตรา 1660 (3) และถ้าหากมีผู้เขียนก็ให้เขียนชื่อกับภูมิลำเนาของ ผู้เขียนพินัยกรรมนั้นไว้ด้วย
 

ให้กรมการอำเภอจดลงไว้บนซองเป็นสำคัญว่า ผู้ทำพินัยกรรม ได้ปฏิบัติตามข้อความในวรรคก่อนแล้วแทนการจดถ้อยคำของผู้ทำ พินัยกรรม

 

มาตรา 1662 พินัยกรรมซึ่งได้ทำเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมือง หรือ เอกสารลับนั้น กรมการอำเภอจะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดไม่ได้ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำพินัยกรรมจะเรียกให้กรมการ อำเภอส่งมอบพินัยกรรมนั้นแก่ตนในเวลาใด ๆ กรมการอำเภอจำต้อง ส่งมอบให้
 

ถ้าพินัยกรรมนั้นทำเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมือง ก่อนส่งมอบพินัยกรรม ให้กรมการอำเภอคัดสำเนาพินัยกรรมไว้แล้วลงลายมือชื่อ ประทับตรา ตำแหน่งเป็นสำคัญ สำเนาพินัยกรรมนั้นจะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใด ไม่ได้ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่

 

มาตรา 1663 เมื่อพฤติการณ์พิเศษซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัย กรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ เช่นตกอยู่ในอันตราย ใกล้ความตาย หรือ เวลามีโรคระบาด หรือสงคราม บุคคลนั้นจะทำพินัยกรรมด้วยวาจาก็ได้
 

เพื่อการนี้ ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้า พยานอย่างน้อยสองคนซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น
 

พยานสองคนนั้นต้องไปแสดงตนต่อกรมการอำเภอโดยมิชักช้าและแจ้งข้อ ความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจานั้น ทั้งต้องแจ้งวันเดือน ปี สถานที่ ที่ทำพินัยกรรมและพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ด้วย
 

ให้กรมการอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งนั้นไว้ และพยานสองคนนั้นต้อง ลงลายมือชื่อไว้ หรือมิฉะนั้นจะให้เสมอกับการลงลายมือชื่อได้ก็แต่ด้วยลงลาย พิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองสองคน

 

มาตรา 1664 ความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรมซึ่งทำขึ้นตาม มาตรา ก่อน นั้นย่อมสิ้นไป เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่เวลา ผู้ทำพินัยกรรมกลับ มาสู่ฐานะที่จะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้

 

มาตรา 1665 เมื่อผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อตาม มาตรา 1656,มาตรา 1658,มาตรา1660 จะให้เสมอกับลงลายมือชื่อได้ ก็แต่ด้วยลงลาย พิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนในขณะนั้น

 

มาตรา 1666 บทบัญญัติ มาตรา 9 วรรค 2 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่พยานผู้ที่จะต้องลงลายมือชื่อตาม มาตรา 1656,มาตรา 1658,มาตรา 1660

 

มาตรา 1667 เมื่อคนในบังคับไทยจะทำพินัยกรรมในต่างประเทศ พินัยกรรมนั้นอาจทำตามแบบซึ่งกฎหมายของประเทศที่ทำพินัยกรรมบัญญัติไว้ หรือตามแบบที่กฎหมายไทยบัญญัติไว้ก็ได้
 

เมื่อทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายไทยบัญญัติไว้ อำนาจและหน้าที่ ของกรมการอำเภอตาม มาตรา 1658,มาตรา 1660,มาตรา 1661,มาตรา 1662,มาตรา 1663 ให้ตกแก่บุคคลดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) พนักงานทูต หรือกงสุลฝ่ายไทย กระทำการตามขอบอำนาจของตน หรือ
(2) พนักงานใด ๆ ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายของต่างประเทศนั้น ๆ ที่จะรับบันทึกข้อแจ้งความไว้เป็นหลักฐานได้

 

มาตรา 1668 ผู้ทำพินัยกรรมไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อความในพินัย กรรมนั้นให้พยานทราบ เว้นแต่กฎหมายจะได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น

 

มาตรา 1669 ในระหว่างเวลาที่ประเทศตกอยู่ในภาวะการรบหรือการ สงคราม บุคคลที่รับราชการทหารหรือทำการเกี่ยวข้องอยู่กับราชการทหาร จะทำพินัยกรรมตามแบบที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1658,มาตรา 1660 หรือ มาตรา 1663 ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านั้น ให้นายทหารหรือข้าราชการฝ่ายทหาร ชั้นสัญญาบัตรมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับกรมการอำเภอ
 

บทบัญญัติวรรคก่อนให้นำมาใช้บังคับแก่กรณีที่บุคคลที่รับราชการทหารหรือ ทำการเกี่ยวข้องอยู่กับราชการทหารทำพินัยกรรม ในต่างประเทศ ในระหว่างที่ ปฏิบัติการเพื่อประเทศในภาวะการรบหรือการสงครามในต่างประเทศโดย อนุโลม และในกรณีเช่นว่านี้ ให้นายทหารหรือข้าราชการฝ่ายทหารชั้นสัญญา บัตรมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานทูตหรือกงสุลฝ่ายไทย
 

ถ้าผู้ทำพินัยกรรมตามความในสองวรรคก่อนนั้นป่วยเจ็บหรือต้องบาดเจ็บ และอยู่ในโรงพยาบาล ให้แพทย์แห่งโรงพยาบาลนั้นมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับกรมการอำเภอหรือพนักงานทูต หรือกงสุลฝ่ายไทย แล้วแต่กรณีด้วย

 

มาตรา 1670 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้
(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
(3) บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง

 

มาตรา 1671 เมื่อบุคคลใดนอกจากผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้เขียนข้อความ แห่งพินัยกรรม บุคคลนั้นต้องลงลายมือชื่อของตนทั้งระบุว่าเป็นผู้เขียน
 

ถ้าบุคคลนั้นเป็นพยานด้วย ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานไว้ต่อ ท้ายลายมือชื่อของตนเช่นเดียวกับพยานอื่น ๆ

 

มาตรา 1672 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กลาโหมและ ต่างประเทศ มีอำนาจและหน้าที่เท่าที่เกี่ยวกับกระทรวงนั้น ๆ ที่จะออกกฎกระทรวง เพื่อให้การเป็นไปตามประมวลกฎหมายบรรพนี้ รวมทั้งกำหนด อัตราค่าฤชาธรรมเนียมอันเกี่ยวกับการนั้น

 




ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

บรรพ1 หลักทั่วไป มาตรา 1 ถึง มาตรา 14 article
ส่วนที่ 1 สภาพบุคคล มาตรา 15 ถึง มาตรา 18 article
ส่วนที่ 2 ความสามารถ มาตรา 19 ถึง มาตรา 36 article
ส่วนที่ 3 ภูมิลำเนา มาตรา 37 ถึง มาตรา 47
ส่วนที่ 4 สาปสูญ มาตรา 48 ถึง มาตรา 64 article
หมวด 2 นิติบุคคล ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 65 ถึง มาตรา 77
ส่วนที่ 2 สมาคม มาตรา 78 ถึง มาตรา 109
ส่วนที่ 3 มูลนิธิ มาตรา 110 ถึง มาตรา 136
ลักษณะ 3 ทรัพย์ มาตรา 137 ถึง มาตรา 148
ลักษณะ 4 นิติกรรม หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 149 ถึง มาตรา 153
หมวด 2 การแสดงเจตนา มาตรา 154 ถึง มาตรา 171
หมวด 3 โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม มาตรา 172 ถึง มาตรา 181
หมวด 4 เงื่อนไขและเงื่อนเวลา มาตรา 182 ถึง มาตรา 193
ลักษณะ 5 ระยะเวลา มาตรา 193/1 ถึง มาตรา 193/8
ลักษณะ 6 อายุความ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 193/9 ถึง มาตรา 193/29
หมวด 2 กำหนดอายุความ มาตรา 193/30 ถึง มาตรา 193/35
บรรพ 2 หนี้ ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป หมวด 1 วัตถุแห่งหนี้ มาตรา 194 ถึง มาตรา 202
หมวด 2 ผลแห่งหนี้ ส่วนที่ 1 การไม่ชำระหนี้ มาตรา 203 ถึง มาตรา 225
ส่วนที่ 2 รับช่วงสิทธิ มาตรา 226 ถึง มาตรา 232
ส่วนที่ 3 การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ มาตรา 233 ถึง มาตรา 236
ส่วนที่ 4 เพิกถอนการฉ้อฉล มาตรา 237 ถึง มาตรา 240
ส่วนที่ 5 สิทธิยึดหน่วง มาตรา 241 ถึง มาตรา 250
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ มาตรา 251 ถึง มาตรา 252
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *1. บุริมสิทธิสามัญ มาตรา 253 ถึง มาตรา 258
2. บุริมสิทธิพิเศษ (ก) บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์ มาตรา 259 ถึง มาตรา 272
2. บุริมสิทธิพิเศษ (ข) บุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ มาตรา 273 ถึง มาตรา 276
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *3. ลำดับแห่งบุริมสิทธิ มาตรา 277 ถึง มาตรา 280
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *4. ผลแห่งบุริมสิทธิ มาตรา 281 มาตรา 289
หมวด 3 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน มาตรา 290 ถึง มาตรา 302
หมวด 4 โอนสิทธิเรียกร้อง มาตรา 303 ถึง มาตรา 313
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่1 การชำระหนี้ มาตรา 314 ถึง มาตรา 339
หมวด4 โอนสิทธิเรียกร้อง *ส่วนที่ 2 ปลดหนี้ มาตรา 340
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 3 หักกลบลบหนี้ มาตรา 341 ถึง มาตรา 348
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 4 แปลงหนี้ใหม่ มาตรา 349 ถึง มาตรา 352
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 5 หนี้เกลื่อนกลืนกัน มาตรา 353
ลักษณะ 2 สัญญา หมวด 1 ก่อให้เกิดสัญญา มาตรา 354 ถึง มาตรา 368
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 2 ผลแห่งสัญญา มาตรา 369 ถึง มาตรา 376
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 3 มัดจำและเบี้ยปรับ มาตรา 377 ถึง มาตรา 385
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 4 เลิกสัญญา มาตรา 386 ถึง มาตรา 394
ลักษณะ3 จัดการงานนอกสั่ง มาตรา 395 ถึง มาตรา 405
ลักษณะ 4 ลาภมิควรได้ มาตรา 406 ถึง มาตรา 419
ลักษณะ 5 ละเมิด หมวด 1 ความรับผิดเพื่อละเมิด มาตรา 420 ถึง มาตรา 437
หมวด2 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด มาตรา 438 ถึง มาตรา 448
หมวด 3 นิรโทษกรรม มาตรา 449 ถึง มาตรา 452
หมวด 1 สภาพและหลักสำคัญของสัญญาซื้อขาย ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 453 ถึง มาตรา 457
ส่วนที่ 2 การโอนกรรมสิทธิ์ มาตรา 458 ถึง มาตรา 460
หมวด 2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ขาย ส่วนที่ 1 การส่งมอบ มาตรา 461 ถึง มาตรา 471
ส่วนที่ 2 ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง มาตรา 472 ถึง มาตรา 474
ส่วนที่ 3 ความรับผิดในการรอนสิทธิ มาตรา 475 ถึง มาตรา 482
ส่วนที่ 4 ข้อสัญญาไม่ต้องรับผิด มาตรา 483 ถึง มาตรา 485
หมวด 3 หน้าที่ของผู้ซื้อ มาตรา 486 ถึง มาตรา 490
หมวด 4 การซื้อขายเฉพาะบางอย่าง ส่วนที่ 1 ขายฝาก มาตรา 491 ถึง มาตรา 502
ส่วนที่ 2 ขายตามตัวอย่าง ขายตามคำพรรณนา ขายเผื่อชอบ มาตรา 503 ถึง มาตรา 508
ส่วนที่ 3 ขายทอดตลาด มาตรา 509 ถึง มาตรา 517
ลักษณะ 2 แลกเปลี่ยน มาตรา 518 ถึง มาตรา 520
ลักษณะ 3 ให้ มาตรา 521 ถึง มาตรา 536
ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 537 ถึง มาตรา 545
หมวด 2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่า มาตรา 546 ถึง มาตรา 551
หมวด 3 หน้าที่ความรับผิดของผู้เช่า มาตรา 552 ถึง มาตรา 563
หมวด 4 ความระงับแห่งสัญญาเช่า มาตรา 564 ถึง มาตรา 571
ลักษณะ5 เช่าซื้อ มาตรา 572 ถึง มาตรา 574
ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน มาตรา 575 ถึง มาตรา 586
ลักษณะ 7 จ้างทำของ มาตรา 587 ถึง มาตรา 607
ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 608 ถึง มาตรา 609
หมวด 1 รับขนของ มาตรา 610 ถึง มาตรา 633
หมวด 2 รับขนคนโดยสาร มาตรา 634 ถึง มาตรา 639
ลักษณะ 9 ยืม หมวด 1 ยืมใช้คงรูป มาตรา 640 ถึง มาตรา 649
หมวด 2 ยืมใช้สิ้นเปลือง มาตรา 650 ถึง มาตรา 656
ลักษณะ 10 ฝากทรัพย์ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 657 ถึง มาตรา 671
หมวด 2 วิธีการเฉพาะการฝากเงิน มาตรา 672 ถึง มาตรา 673
หมวด 3 วิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม มาตรา 674 ถึง มาตรา 679
ค้ำประกัน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 680 ถึง มาตรา 685/1
หมวด 2 ผลก่อนชำระหนี้ มาตรา 686 ถึง มาตรา 692
หมวด 3 ผลภายหลังชำระหนี้ มาตรา 693 ถึง มาตรา 697
หมวด 4 ความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกัน มาตรา 698 ถึง มาตรา 701
ลักษณะ 12 จำนอง หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 702 ถึง มาตรา 714/1
หมวด 2 สิทธิจำนองครอบเพียงใด มาตรา 715 ถึง มาตรา 721
หมวด 3 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับจำนองและผู้จำนอง มาตรา 722 ถึง มาตรา 727/1
หมวด 4 การบังคับจำนอง มาตรา 728 ถึง มาตรา 735
หมวด 5 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง มาตรา 736 ถึง มาตรา 743
หมวด 6 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจำนอง มาตรา 744 ถึง มาตรา 746
ลักษณะ 13 จำนำ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 747 ถึง มาตรา 757
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของผู้จำนำและผู้รับจำนำ มาตรา 758 ถึง มาตรา 763
หมวด 3 การบังคับจำนำ มาตรา 764 ถึง มาตรา 768
ความระงับสิ้นไปแห่งการจำนำ มาตรา 769
ลักษณะ 14 เก็บของในคลังสินค้า หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 770 ถึง มาตรา 774
หมวด 2 ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า มาตรา 775 ถึง มาตรา 796
ลักษณะ 15 ตัวแทน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 797 ถึง มาตรา 806
หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ มาตรา 807 ถึง มาตรา 814
หมวด 3 หน้าที่และความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน มาตรา 815 ถึง มาตรา 819
หมวด 4 ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก มาตรา 820 ถึง มาตรา 825
หมวด 5 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน มาตรา 826 ถึง มาตรา 832
หมวด 6 ตัวแทนค้าต่าง มาตรา 833 ถึง มาตรา 844
ลักษณะ 16 นายหน้า มาตรา 845 ถึง มาตรา 849
ลักษณะ 17 ประนีประนอมยอมความ มาตรา 850 ถึง มาตรา 852
ลักษณะ 18 การพนันและขันต่อ มาตรา 853 ถึง มาตรา 855
ลักษณะ 19 บัญชีเดินสะพัด มาตรา 856 ถึง มาตรา 860
ลักษณะ 20 ประกันภัย หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 861 ถึง มาตรา 868
หมวด 2 ประกันวินาศภัย ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 869 ถึง มาตรา 882