
การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายเดิม การเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย แม้สามีจะถึงแก่ความตายใน ปี 2532 เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ใหม่ประกาศใช้แล้วก็ตาม การแบ่งสินสมรสก็ต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียจะแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1533 หาได้ไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2538 ห. กับ จ.เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียโดยต่างมีสินเดิมมาด้วยกันบุคคลทั้งสองได้ทรัพย์พิพาทมาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสแม้ ห. ถึงแก่ความตายในปี2532 เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ใหม่ประกาศใช้แล้วก็ตามการแบ่งสินสมรสก็ต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่68คือชายได้2ส่วนหญิงได้1ส่วนจะแบ่งคนละส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533หาได้ไม่
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม แบ่ง ทรัพย์ คือ ที่ดิน โฉนดเลขที่ 17925 และ 37239 ตำบล มีนบุรี (แสนแสบ) อำเภอมีนบุรี (แสนแสบ) กรุงเทพมหานคร ที่ดิน โฉนด เลขที่ 60760, 60761 และ 60772 ตำบล คลองกุ่ม อำเภอบางกะปิ นครหลวง กรุงเทพ ธนบุรี เฉพาะ ส่วน ของ นาย ห้อย คงนาน เจ้ามรดก ให้ โจทก์ ทั้ง หก คน ละ 1 ใน 49 ส่วน หาก แบ่ง ไม่ได้ ให้ นำ ทรัพย์ ดังกล่าว ออก ขายทอดตลาด เอา เงิน มา แบ่ง ให้โจทก์ ใน สัดส่วน ดังกล่าว คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก โจทก์ ทั้ง หก อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สาม แบ่ง ทรัพย์มรดกคือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 17952 และ 37239 ตำบล มีนบุรี (แสนแสบ) อำเภอ มีนบุรี (แสนแสบ) กรุงเทพมหานคร ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6076060761 และ 60772 ตำบล คลองกุ่ม อำเภอบางกะปิ นครหลวง กรุงเทพ ธนบุรี เฉพาะ ส่วน ของ นาย ห้อย คงนาน เจ้ามรดก สอง ใน สาม ส่วน ให้ โจทก์ ทั้ง หก คน ละ 1 ใน 49 ส่วน หาก แบ่ง ไม่ได้ ให้ นำ ทรัพย์ ดังกล่าวออก ขายทอดตลาด เอา เงิน มา แบ่ง ให้ โจทก์ ทั้ง หก ใน สัดส่วน ดังกล่าวและ ให้ แบ่ง เงิน ค่า เรียก มัดจำ ตาม สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่17952 และ เงิน ค่าขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 26687 เฉพาะ ส่วน ของ นาย ห้อย คงนาน สอง ใน สาม ส่วน ให้ โจทก์ ทั้ง หก คน ละ 1 ใน 49 ส่วน เฉพาะ จำนวน ที่ โจทก์ ยัง มิได้ รับ แก่ โจทก์ ทั้ง หก นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฎีกา ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "จาก คำฟ้อง คำให้การ ที่ไม่โต้แย้งกันข้อเท็จจริงเบื้องต้น ฟังได้ว่า โจทก์ทั้งหกเป็นผู้สืบสันดาน รับมรดกแทนที่ นาง จำรูญ มารดา ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง ของ นาย ห้อย เจ้ามรดก จำเลย ทั้งสามเป็น ผู้จัดการมรดกของ นาย ห้อย นาง จำรัส ภริยาของ นาย ห้อย ยังมีชีวิตอยู่ และ ปรากฏตามสำเนาคำพิพากษา ศาลชั้นต้น ท้ายฎีกาโจทก์ คดี หมายเลขแดง ที่ 123/2535ระหว่าง นาง เสาวณิต โจทก์ นาง อุไร กับพวก จำเลย โดย นาง เสาวณิต ฟ้องจำเลยทั้งสาม ในฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ นาย ห้อย ขอให้ จำเลยทั้งสามซึ่งทำสัญญาจะขายที่ดิน โฉนด เลขที่ 17952 แขวง และ เขตมีนบุรี (แสนแสบ) กรุงเทพมหานคร ให้แก่นาง เสาวณิต ใน ราคา 13,720,000 บาท ไปจดทะเบียนโอนโดยหักเงินค่ามัดจำ และ เงินที่ชำระให้ก่อนแล้ว รวม 4,802,000 บาท ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยทั้งสามไปจดทะเบียนโอนให้ นาง เสาวณิต โดยให้นาง เสาวณิต ชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสาม ในคำแก้ฎีกาโจทก์ทั้งหกไม่ได้โต้แย้ง ข้อเท็จจริงนี้เพียงแต่เห็นควรได้รับดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ซึ่งไม่ได้ขอไว้ และจำเลย ที่ 1ที่ 2 ได้กล่าวในฎีกาว่าได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าว รวมทั้งที่ดินมรดกแปลงอื่นทั้งหมดไปแล้ว ยกเว้นที่ดิน โฉนด เลขที่ 37239 แต่ ที่ดินแปลงอื่น ไม่มีหลักฐานมาแสดง คดีคงมีปัญหาต้อง วินิจฉัย ตามฎีกาจำเลย ที่ 1 ที่ 2 ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ว่าทรัพย์สินระหว่าง นาย ห้อย นาง จำรัส เฉพาะส่วนของ นาย ห้อย เจ้ามรดก มีส่วนสัดครึ่งหนึ่ง หรือ สอง ใน สามส่วน การ วินิจฉัย ปัญหาเช่นว่านี้ ศาลฎีกา จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัยจากพยานหลักฐาน ในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบ มาตรา 238 ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามที่ ศาลอุทธรณ์ ฟังมาว่า นาย ห้อย เจ้ามรดก กับ นาง จำรัส เป็นสามี ภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามกฎหมาย ลักษณะ ผัวเมีย นาย ห้อย ถึงแก่กรรม เมื่อ วันที่ 22 พฤษภาคม 2532โจทก์ ทั้งหกต่างมีสิทธิได้รับมรดกของ นาย ห้อย คนละ 1 ใน 49 ส่วน นาย ห้อย และ นาง จำรัส ได้ทรัพย์พิพาทมาในระหว่างสมรส โดย ต่างฝ่ายต่างมีสินเดิมมาด้วยกัน ดังนั้นทรัพย์พิพาท จึง เป็น สินสมรส เมื่อนาย ห้อย และ นาง จำรัส สมรส กัน มา ก่อน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 การ แบ่ง สินสมรส ต้อง แบ่ง ตาม ส่วน สมรส ของ กฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 คือ ชาย ได้ 2 ส่วน หญิง ได้ 1 ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ กระทบ กระเทือน ถึง เพราะ พระราชบัญญัติให้ ใช้ บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ ได้ ตรวจชำระ ใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติ ว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ ได้ ตรวจชำระใหม่ ท้ายพระราชบัญญัติ นี้ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4 และ มาตรา 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 และ พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477มาตรา 4 บัญญัติ ว่า บทบัญญัติ แห่งบรรพนี้ ไม่กระทบกระเทือน ถึง (1)การสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ ประมวลกฎหมาย บรรพนี้ และ ทั้งสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิด แต่การสมรสนั้น ๆ ดังนั้นสินสมรสระหว่าง นายห้อย และ นางจำรัส จึง แบ่งให้คนละส่วนเท่ากัน ตาม มาตรา 1533แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หาได้ไม่ แต่ต้องแบ่งให้ นาย ห้อย 2 ส่วน นาง จำรัส 1 ส่วน ตาม กฎหมายลักษณะผัวเมีย ดังกล่าว ตามนัย คำพิพากษาฎีกาที่ 740/2534 ระหว่าง นางสาว ณัฏฐยา โจทก์ นาง สุนทรา เอกภูมิ ใน ฐานะ ส่วนตัว และ ผู้จัดการมรดก ของ นาวาเอก หลวง พิ จำเลย ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น " พิพากษายืน เว้นแต่ หาก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 17952 ได้ จดทะเบียนโอน ให้ ผู้ซื้อ ไป แล้ว ก็ ให้ นำ ราคา ขาย มา แบ่ง แทน ( เสริม บุญทรงสันติกุล - อุระ หวังอ้อมกลาง - ปราโมทย์ ชพานนท์ )
ปัญหาเรื่องลาภมิควรได้กับฟ้องเรียกทรัพย์คืน
เงินเดือนสามีได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9570/2551 (อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่)
|