
การซื้อขายที่ดิน สปก. | |
สวัสดีค่ะ มีเรื่องอยากรบกวนหน่อยนะค่ะ อยากทราบว่าที่ดิน สปก. เป็นชื่อของบิดาเป็นผู้มีชื่อในที่ดินดังกล่าว แล้วต่อมาผู้เป็นบิดาได้มีการตกลงซื้อขายที่ดินให้กับนายทุนไป เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีการชำระราคาซื้อขายเรียบร้อยแล้วจึงอยากทราบว่าถ้า 1. ภรรยาหรือบุตรมีสิทธิร้องคัดค้านการซื้อขายดังกล่าวได้หรือไม่ 2.ถ้าร้องคัดค้านได้ต้องไปร้องคัดค้านต่อใคร 3.กรณีดังกล่าว การคัดค้านการขายที่ดินมีอายุความหรือไม่ 4.ถ้านานทุนได้นำคนนำรถไถกลบที่ดิน ทางภรรยาหรือบุตรจะมีสิทธทำอะไรได้บ้างเช่น ถ่ายรูปเป็นหลักฐานแล้วนะไปแจ้งความต่อตำรวจหรือ สปก.ค่ะ 5.ถ้าหากว่าร้องคัดค้านการขายที่ดิน ทั้งภรรยาและบุตร ทั้งหมดต้องไปหมดทุกคนหรือไม่( บุตรบรรลุนิติภาวะหมดทุกคนแล้ว) รบกวนตอบด้วยนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ | |
ผู้ตั้งกระทู้ ศลิษา (salizaa-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-09-29 21:26:45 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (3253424) | |
ที่ดิน สปก เป็นที่ดินของรัฐ ที่จัดสรร ให้เกษตรกรใช้เป็นที่ดินทำกิน ไม่อาจขายหรือโอนให้แก่กันได้ นอกจากตกทอดทางมรดก เมื่อบิดาของคุณยังมีชีวิตอยู่ ก็ควรหาเงินไปคืนนายทุนและครอบครองทำกินในที่ดินต่อไป ควรไปขอคำปรึกษากับสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัด เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมต่อไปครับ
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-10-01 10:44:40 |
ความคิดเห็นที่ 2 (3253547) | |
กรณีที่ดิน สปก 1.ถ้าผู้มีชื่อในทะเบียนทำพินัยกรรมยกให้คนอื่นที่มิใช่ทายาทโดยธรรม ทายาทตามพินัยกรรมดังกล่าวถือเป็นการตกทอดทางมรดกหรื่อไม่ หรือต้องคืนที่ดินดังกล่าวกลับเป็นของรัฐ? 2.กรณีสำนักสงฆ์ เข้าไปตั้งอยู่ในที่ดินสปกของเจ้ามรดกภายหลังเจ้ามรดกตายและทายาทโดยธรรมไม่ทราบและมาทราบภายหลัง ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกสามารถฟ้องขับไล่สำนักสงฆ์ได้หรือไม่? 3. ที่ดิน สปก. ที่ผู้มีชื่อปล่อยทิ้งไม่ได้ทำประโยชน์ จะกลับไปเป็นของรํฐภายในกี่ปี? ขอบพระคุณมากครับ..... | |
ผู้แสดงความคิดเห็น หน่อง วันที่ตอบ 2010-10-02 14:18:55 |
ความคิดเห็นที่ 3 (3253580) | |
1.ถ้าผู้มีชื่อในทะเบียนทำพินัยกรรมยกให้คนอื่นที่มิใช่ทายาทโดยธรรม ทายาทตามพินัยกรรมดังกล่าวถือเป็นการตกทอดทางมรดกหรื่อไม่ หรือต้องคืนที่ดินดังกล่าวกลับเป็นของรัฐ? ตอบ--เป็นที่ดินของรัฐ จะนำไปทำพินัยกรรมไม่ได้ครับ 2.กรณีสำนักสงฆ์ เข้าไปตั้งอยู่ในที่ดินสปกของเจ้ามรดกภายหลังเจ้ามรดกตายและทายาทโดยธรรมไม่ทราบและมาทราบภายหลัง ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกสามารถฟ้องขับไล่สำนักสงฆ์ได้หรือไม่? ตอบ--ที่ดินของรัฐให้เกษตกรทำกิน เมื่อไม่ทำการเกษตรตามเงื่อนไข รัฐเรียกคืนได้ครับ ส่วนเจ้าของเดิมมีสิทธิครอบครองแล้วไม่ใส่ใจทำกินก็ควรนำที่ดินไปจัดสรรให้ผู้อื่นที่ยากจนต่อไปครับ 3. ที่ดิน สปก. ที่ผู้มีชื่อปล่อยทิ้งไม่ได้ทำประโยชน์ จะกลับไปเป็นของรํฐภายในกี่ปี? ตอบ--เป็นของรัฐอยู่แล้วแต่จะเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทางสำนักงานปฏิรูปทราบเรื่อง แต่เขาจะดำเนินการหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
มาตรา 39 ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะ ทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอด ทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ภายในเขตปฎิรูปที่ดิน คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้ 1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยร่างกฎกระทรวง ฯ มีสาระสำคัญคือ 1.1 การตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 1.2 การโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เมื่อผู้ได้รับสิทธิในที่ดินประสงค์จะโอนสิทธิในที่ดินไปยังสถาบันเกษตรกรโดยสถาบันเกษตรกรที่มีสิทธิรับโอนที่ดินต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด รวมทั้งเมื่อผู้ได้รับสิทธิในที่ดินมีความประสงค์ยกให้ ส.ป.ก. หรือจะขายที่ดินคืนให้กับ ส.ป.ก. แล้วแต่กรณี 1.3 เมื่อได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินแล้ว หากปรากฏว่า ทายาทโดยธรรม หรือสถาบันเกษตรกรแล้วแต่กรณี ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ให้โอนที่ดินกลับคืน ส.ป.ก. โดยให้ ส.ป.ก. ทำความตกลงจัดซื้อที่ดินกับทายาทโดยธรรม หรือสถาบันเกษตรกร และในกรณีที่ทายาทโดยธรรม หรือสถาบันเกษตรกรแล้วแต่กรณี ไม่ยินยอมตกลงในการจัดซื้อที่ดินของ ส.ป.ก. ให้ ส.ป.ก. ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป 2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับกรณีผู้ได้รับสิทธิในที่ดินถึงแก่ความตาย ให้ที่ดินตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ทายาทโดยธรรมนำหนังสือที่ ส.ป.ก. จังหวัดออกให้ไปยื่นคำขอจดทะเบียนรับมรดก ณ ที่สำนักงานที่ดิน นั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินต้องดำเนินการสอบสวน และจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกทุกคน ส่วนการให้สถาบันเกษตรกรนำหนังสือที่ ส.ป.ก. จังหวัด ออกให้ไปยื่นเพื่อรับโอนสิทธิ ณ สำนักงานที่ดิน เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72 ที่กำหนดให้คู่กรณี (หมายถึงทั้งสองฝ่าย) นำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 ไปประกอบการพิจารณาด้วยแล้วดำเนินการต่อไปได้
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-10-02 19:47:38 |
[1] |