ReadyPlanet.com


บุตรนอกสมรส เมียนอกกฎหมาย เอาลูกเป็นตัวประกัน


ผมรับบุตรมาเลี้ยงดูส่งเสียให้เล่าเรียนเอง  แต่เมียนอกกฏหมายมาลักพาตัวไป เพื่อจะเอาไปเลี้ยงดูเอง  เพื่อเรียกร้องค่าเลี้ยงดู แต่ลูกต้องการจะอยู่กับพ่อ  ผมมีอาชีพรับราชการ มีเมียที่ถูกต้องตามกฏหมาย และมีบุตร 2 คน ส่งเสียเรียนมหาวิทยาลัย  ผมจะต้องทำอย่างไรดี



ผู้ตั้งกระทู้ พ่อ :: วันที่ลงประกาศ 2013-11-05 17:10:00


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3382263)

ตามข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า คุณผู้ถามมีบุตรนอกสมรสกับภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่มีภริยาชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ต่อมามารดาของบุตรนอกสมรสได้มารับตัวบุตรไปอุปการะเลี้ยงดูเองซึ่งคุณเข้าใจว่า ภริยา(น้อย) จะมีวัตถุประสงคฺ์ที่จะฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

เมื่อบุตรนอกสมรสเกิดกับภริยานอกสมรส บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรนอกกฎหมาย(ที่บิดารับรองโดยพฤตินัย) แต่ยังไม่มีความสัมพันธ์ในทางกฎหมาย ไม่เกิดสิทธิ และหน้าที่ต่อกันในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู และกฎหมายรับรองให้มารดาเป็นมารดาชอบด้วยกฎหมายของบุตรแต่เพียงผู้เดียว มีผลให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวด้วยเช่นกัน สำหรับบิดาที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ในทางกฎหมายจะเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายได้มี 3 ทางคือ 1. จดทะเบียนสมรสกับมารดา(ของเด็ก) ในภายหลัง (ข้อนี้คงเป็นไปไม่ได้)  2. บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร (บุตรต้องมีอายุให้ความยินยอมได้แล้วประมาณ 7-9 ปี) 3. มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตร (ในกรณีข้อ 2 ไม่สามารถทำได้ก็มาเลือกทำข้อ 3 นี้) ขณะนี้ฟังได้ว่าคุณเป็นบิดานอกกฎหมายอยู่เด็กจึงต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของมารดาแต่เพียงผู้เดียว และผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรได้ คุณจึงไม่มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรได้ครับ

เมื่อเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาก็ทำให้เกิดหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรจนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ แนะนำให้ร้องขอต่อศาลเพื่อขอจดทะเบียนรับรองบุตรครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 วันที่ตอบ 2013-12-13 17:44:14


ความคิดเห็นที่ 2 (3382264)

ขอจดทะเบียนรับรองบุตร, บิดานอกสมรส-ขอรับเด็กเป็นบุตร
การจดทะเบียนรับรองบุตร ทำไมต้องจดทะเบียนรับรองบุตร? เมื่อบุตรที่เกิดมาจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเกิดบุตรขึ้นมา กฎหมายให้ถือว่าเป็นบิดานอกกฎหมาย หรือบุตรนอกกฎหมาย ทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่มีสิทธิในการเป็นบิดากับบุตรชอบด้วยกฎหมาย เช่น  สิทธิที่จะได้รับการอุปการะเลี้ยงดู เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้ผูกพันกันตามกฎหมาย ผู้เป็นบิดาจึงต้องไปทำการยื่นคำขอจดทะเบียนรับรองบุตรอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตนเอง

 

เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์เสมือนเป็นลูกหนี้ร่วมกัน หลังจากหย่าขาดจากกันแล้ว กรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเงินนั้นจากอีกฝ่ายหนึ่งได้แม้บุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม แต่การเรียกร้องเงินดังกล่าวนี้มีอายุความ 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปแล้ว

 

ไม่ได้จดทะเบียนสมรส สามารถเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่ค่ะ
การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร - ตามคำตอบข้างต้นพอได้ความเข้าใจแล้วว่า บุตรนอกสมรส บิดานอกกฎหมาย ไม่มีสิทธิและหน้าที่ต่อกันตามกฎหมาย บิดานอกกฎหมายยังไม่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น แต่เมื่อเด็กได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา ด้วยวิธีใด วิธีหนึ่งข้างต้นแล้ว จึงเกิดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อกัน ซึ่งในกรณีตามคำถามของคุณว่า ไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้หรือไม่ คุณสามารถฟ้องขอให้สามีรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ในคดีเดียวกันได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2013-12-13 17:47:50



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล