
โดนเบี้ยวเงิน | |
แม่ของดิฉันได้ในเงิน นาย ก ยืมแล้วนาย ก ไม่ยอมคืนเงินที่ยืมไป แม่ของดิฉันเคยไปเจรจาหลายครั้งแล้วแต่ได้รับการปฎิเสธทุกครั้ง แต่แม่ของดิฉันไม่ได้ทำสัญญาอะไรค่ะแล้วพอจะมีทางเอาเงินคืนได้ไหม | |
ผู้ตั้งกระทู้ pd :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-21 20:17:03 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (3304245) | |
ก็ลองแจ้งข้อหาฉ้อโกง ภายในสามเดือนนับแต่รู้ว่าเขาต้องโกงแน่ ถ้าตำรวจเอาใจช่วย ก็คงมีหมายเรียกเขามารับทราบข้อหา ถ้าเขาเกรงกลัวกฎหมายบ้าง ก็อาจได้เงินคืน แต่...ถ้าตำรวจบอกว่าเป็นเรื่องทางแพ่ง ให้ไปฟ้องเอาเอง คุณก็คงทำอะไรไม่ได้ เพราะไม่มีสัญญากู้ยืมเงิน...คือคดีค่อนข้างก้ำกึ่งระหว่าทางแพ่งและอาญาครับ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2011-08-16 15:15:55 |
ความคิดเห็นที่ 2 (3304649) | |
มาตรา 653 การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-08-21 12:43:46 |
ความคิดเห็นที่ 3 (3304650) | |
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแต่ยึดโฉนดที่ดินเป็นประกัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2549
โจทก์กับ ร. ตกลงโอนที่ดินให้แก่จำเลยเป็นการตีใช้หนี้โดยจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. อีกจำนวนหนึ่งซึ่งจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มนั้นเป็นสาระสำคัญที่จะต้องตกลงกัน แต่จำเลยยังไม่ได้ตกลงในรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. เป็นจำนวนเท่าใด จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 27058 โจทก์มอบโฉนดที่ดินพร้อมหนังสือมอบอำนาจซึ่งไม่ได้กรอกข้อความให้นายราชันย์ น้องชายโจทก์นำไปจดทะเบียนเลิกเช่ากับผู้เช่า และจดทะเบียนไถ่ถอนการจำนอง ต่อมาโฉนดที่ดินและหนังสือมอบอำนาจตกไปอยู่ในความครอบครองของจำเลยโดยมิชอบและจำเลยไม่ยอมคืนให้แก่โจทก์ โจทก์แจ้งเจ้าพนักงานที่ดินให้ระงับการทำนิติกรรมและแจ้งความเป็นหลักฐานที่สถานีตำรวจไว้แล้ว ต่อมาจำเลยไปขออายัดที่ดินของโจทก์ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน อ้างว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ซึ่งไม่เป็นความจริงและจำเลยได้มอบหนังสือมอบอำนาจให้เจ้าพนักงานที่ดินไว้ด้วย โจทก์ทวงถามให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 27058 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (ธัญบุรี) พร้อมหนังสือมอบอำนาจคืนแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ขอให้ออกหมายจับจำเลยมากักขังไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล จำเลยให้การว่า โจทก์กับนายราชันย์ ร่วมกันกู้ยืมเงินจำเลยไป 5,000,000 บาท โดยโจทก์มอบโฉนดที่ดินหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของโจทก์ให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันแต่โจทก์กับนายราชันย์ไม่สามารถชำระหนี้ โจทก์จึงเสนอที่ดินดังกล่าวตีใช้หนี้แก่จำเลย โดยจำเลยต้องเพิ่มเงินค่าที่ดินแก่โจทก์อีกจำนวนหนึ่ง จำเลยยอมตกลงด้วย ต่อมาจำเลยไปดำเนินการขอรับโอนที่ดินที่สำนักงานที่ดินตามข้อตกลง แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากโจทก์ยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้ระงับการทำนิติกรรมเกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจ อันเป็นการผิดข้อตกลง จำเลยมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินและหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริต ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับ ให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 27058 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (ธัญบุรี) พร้อมหนังสือมอบอำนาจคืนแก่โจทก์ คำขออื่นให้ยก เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ชอบที่จะดำเนินการในชั้นบังคับคดี ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินเลขที่ 27058 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (ธัญบุรี) ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และหนังสือมอบอำนาจที่ระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยทำนิติกรรมขายที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยไว้ในครอบครองโดยจำเลยอ้างว่าโจทก์กับนายราชันย์ น้องชายโจทก์ร่วมกันกู้ยืมเงินจำเลยไป 5,000,000 บาท แล้วตกลงโอนที่ดินให้แก่จำเลยเป็นการตีใช้หนี้ โดยจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับนายราชันย์อีกจำนวนหนึ่ง คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินและหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไว้หรือไม่ จำเลยฎีกาว่า แม้การกู้ยืมเงินจำนวน 5,000,000 บาท จะไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ แต่จำเลยมิได้เป็นผู้ใช้สิทธิฟ้องร้องโจทก์กับนายราชันย์ให้ชำระหนี้ จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เห็นว่า การกู้ยืมเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป ถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง นั้น หมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อการกู้ยืมเงิน 5,000,000 บาท ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กับนายราชันย์ร่วมกันกู้ยืมจากจำเลยนั้นไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยจึงไม่อาจอ้างการกู้ยืมเงินดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์เพื่อยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้ ที่จำเลยฎีกาต่อไปว่า โจทก์ผิดข้อตกลงโอนขายที่ดินให้แก่จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้นั้น ข้อนี้จำเลยนำสืบว่า โจทก์กับนายราชันย์ตกลงโอนที่ดินให้แก่จำเลยเป็นการตีใช้หนี้ โดยจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับนายราชันย์อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเห็นได้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มนั้นเป็นสาระสำคัญที่จะต้องตกลงกัน แต่จำเลยเบิกความว่ายังไม่มีการตกลงกันในรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับนายราชันย์เป็นจำนวนเท่าใด จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินคืนโจทก์ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยส่งมอบหนังสือมอบอำนาจให้แก่โจทก์ด้วยนั้น ในชั้นอุทธรณ์โจทก์กล่าวยืนยันมาในอุทธรณ์ตรงกับที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์ไม่เคยทำหนังสือมอบอำนาจฉบับที่จำเลยนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ และโจทก์เห็นพ้องด้วยที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกหนังสือมอบอำนาจคืนจากจำเลย ทั้งโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยส่งมอบหนังสือมอบอำนาจแก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยส่งมอบหนังสือมอบอำนาจแก่โจทก์ด้วยจึงเป็นการพิพากษานอกเหนือไปจากประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247? พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่ต้องส่งมอบหนังสือมอบอำนาจให้แก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้คงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ. ( ชัชลิต ละเอียด - สมชัย จึงประเสริฐ - บุญรอด ตันประเสริฐ ) มาตรา 653 การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-08-21 12:44:13 |
[1] |