ReadyPlanet.com


ลูกควรอยู่กับใคร


ดิฉันเป็นพี่สาว  แม่ของดิฉันเพิ่งสิ้นบุญไป แต่มีปัญหาเรื่องน้องแม่เขาเอาน้องมาอยู่กับยาย พอแม่เสีย  พ่อเลี้ยงของหนูซึ่งเป็นพ่อจริงๆของน้องสาว เขาต้องการเอาน้องไปอยู่ด้วย  เขาอ้างวาลูกผู้หญิงต้องอยู่กับพ่อ แต่เขาช่วยเหลือตัวเองได้เขาสายตามองไม่ค่อยเห็นเป็นเส้นเลือดในสมองตีบ และบ้านเขา เขาก็อยู่คนเดียว และเปลี่ยวมากหนูและยายเลยไม่อยากให้น้องไปแต่เขาไม่ยอมหนูต้องทำยังไงดีคะ



ผู้ตั้งกระทู้ ตั๊ก :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-03 18:50:50


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3300712)

ผมจับใจความได้ว่า พ่อที่แท้จริงต้องการเอาบุตรสาวไปอยู่ด้วย

ตามคำถามมีประเด็นว่า ทางคุณกับยายไม่ต้องการให้ไปจะทำอย่างไร เมื่อพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่ได้คือเขาเป็นพ่อลูกกัน ส่วนเราเป็นคนนอก ดังนั้นบิดาและบุตรย่อมมีสายสัมพันธ์ มีความรักความห่วงใยซึ่งกันและกันมากกว่าคนอื่น

ในเรื่องความเป็นพ่อที่แท้จริง ถ้าเขาเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย คือบิดา มารดา จดทะเบียนสมรสกัน หรือบิดารับรองบุตรให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วเขาก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะรับบุตรของเขาไปอุปการะเลี้ยงดูได้

สำหรับข้ออ้างที่ว่า บุตรที่เป็นผู้หญิงต้องอยู่กับพ่อนั้น ขออธิบายว่า เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเพราะไม่มีกฎหมาย กำหนดให้บุตร หญิง หรือ บุตรชาย จะต้องอยู่กับฝ่ายมารดา หรืออยู่กับฝ่ายบิดา แต่กฎหมายมองในเรื่องสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อกันระหว่างบิดา มารดา กับบุตร เท่านั้นโดยไม่คำนึงถึง บุตรผู้หญิง หรือชายแต่ประการใด

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-07-12 09:22:55


ความคิดเห็นที่ 2 (3300715)

มาตรา 1566 บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาอำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มารดาหรือบิดาตาย
(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ ความสามารถ
(4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้

มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจการปกครองมีสิทธิ
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-07-12 09:37:07


ความคิดเห็นที่ 3 (3300718)

ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตร


 

แม้มารดาเคยตกลงให้ญาติอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ของตน ก็ไม่ทำให้อำนาจปกครองตกไปอยู่กับญาติผู้เลี้ยงดู เมื่อต่อมา มารดาประสงค์ที่จะเลี้ยงดูบุตรเอง กรณีจึงต้องเป็นไปตาม มาตรา 1567 ที่บัญญัติว่า ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ (1) กำหนดที่อยู่ของบุตรและ (4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกับบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นมารดาจึงมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเอาบุตรคืนจากญาติได้
 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3950/2529 (อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-07-12 10:06:57



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล