ReadyPlanet.com


เป็นหนี้ร่วมกัน


ดิฉันแต่งงานกับสามีมา 4  ปี  มีบุตรด้วยกัน 1  คน  อายุ 1 ปี 11  เดือน   ดิฉันได้กู้เงินธนาคารมาลุงทุน และคงเหลือยอดหนี้ประมาณ 800,000.- บาท ระยะการผ่อนชำระ เหลือ14  ปี  ตอนนี้ดิฉันมีเงินเดือนคงเหลือประมาณ 4,000.- บาท  /ตอนกู้  ธนาคารได้ให้สามีลงนามในสัญญากู้ด้วย อย่างนี้เขาจะต้องมีส่วนรับผิดชอบในหนี้สินของเราด้วยหรือเปล่าคะ  ดิฉันจะสมารถฟ้องให้เขามาร่วมรับผิดชอบด้วยได้มั๊ยคะ  ต้องทำอย่างไรบ้าง

 



ผู้ตั้งกระทู้ แหม่ม :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-15 14:53:03


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3302562)

เมื่อสามีมีชื่อเป็นผู้กู้ร่วมก็ย่อมต้องรับผิดชอบในหนี้นั้นอยู่แล้ว หากว่าเขาไม่รับผิดชอบช่วยชำระหนี้ คุณมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้ร่วมได้ครับ แต่ฟ้องได้เฉพาะจำนวนเงินที่คุณได้ชำระแทนไปเท่านั้นนะครับคุณจะขอชำระเพียวครึ่งเดียวไม่ได้

มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามี หรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบ ครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและ การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้ให้สัตยาบัน

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-07-28 22:16:58


ความคิดเห็นที่ 2 (3302563)

หนี้ร่วมสามีภริยาเนื่องจากการงานทำด้วยกัน
สามีภริยาร่วมกันประกอบกิจการขายของชำสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ ดังนี้ สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับความรับผิดของภริยาจึงมีว่า ร่วมกับสามีในการสั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์และต้องร่วมรับผิดในหนี้ค่าสินค้า กับสามี เพราะเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยา ทำด้วยกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(3)ซึ่งไม่มีข้อหาว่าหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาเพราะเป็นหนี้เกี่ยวแก่ การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1) แต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสามีสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการค้า ขายของร้านซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะ เลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตลอดถึงการรักษาพยาบาลด้วย อันเป็นหนี้ร่วม แล้วพิพากษาให้ภริยา ร่วมรับผิดกับสามี จึงเป็นกรณีพิพากษาในเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4011/2546 (อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-07-28 22:19:48



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล