ReadyPlanet.com


ขอวีซ่า แต่มีคดียาเสพย์ติด


คือพี่สาวผม ได้จดทะเบียนกะชาวต่างชาติ แล้วก่อนหน้านี้ พี่สาวผมมีคดียาเสพย์ติดอะครับ

แล้วทีนี้ พี่สาวจะขอได้ใหมครับ แล้วถ้าไม่ได้ มีวิธีแก่ไขอย่างไรดีครับ ยอมทำทุกอย่างอะครับ

เพื่อที่จะไปเมืองนอกอะครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ลาวเจ็บ (kaisexdee-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-16 22:59:23


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3302748)

ขอได้ครับเป็นสิทธิของเราที่จะขอวีซ่านะครับ แต่เขาจะอนุมัติหรือไม่คงไปบังคับเขาไม่ได้ และไม่มีทางแก้ไขครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-07-30 21:31:39


ความคิดเห็นที่ 2 (3302749)

บทความที่เกี่ยวข้องน่าจะเป็นประโยชย์

 

ตามที่คุณต้องการไปเรียนภาษาที่ประเทศอังกฤษ แต่มีความกังวลใจเกี่ยวกับการขอวีซ่าเนื่องจากเคยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในขณะที่มีอายุ 17 – 18 ปี โดยศาลพิพากษาให้คุมความประพฤติ และรอการลงโทษเป็นเวลา 2 ปี นั้น 
               ในการยื่นใบสมัครขอวีซ่านักเรียนไปประเทศอังกฤษนั้น คุณต้องกรอกข้อมูลเกี่ยวกับการต้องคำพิพากษาดังกล่าวด้วย  เนื่องจากแบบฟอร์มใบสมัครมีคำถามเกี่ยวกับการต้องคำพิพากษาคดีอาญารวมอยู่ด้วย  คุณควรกรอกตามความเป็นจริง เพราะหน่วยงานของรัฐในประเทศไทยมีข้อมูลการกระทำความผิดอาญาดังกล่าวไว้ในฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของกองทะเบียนประวัติอาชญากร  แม้จะเป็นการกระทำความผิดในขณะที่คุณเป็นเยาวชนก็ตาม  ส่วนภายหลังเมื่อมีการออกกฎหมายล้างมลทินในปี พ.ศ.2550 ก็มีผลเพียงว่า ผู้ต้องโทษและได้พ้นโทษก่อนหรือในวันที่ กฎหมายนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ มาก่อนอันจะนำไปเป็นเหตุเพิ่มโทษเมื่อมีการกระทำความผิดอาญาซ้ำอีกเท่านั้น  อย่างไรก็ตาม กฎหมายล้างมลทินก็ไม่ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องล้างข้อมูลการกระทำความผิดอาญาดังกล่าวแต่อย่างใด  ดังนั้น ในการกรอกข้อมูลใบสมัครขอวีซ่า คุณจึงต้องกรอกตามความเป็นจริง เพราะภายหลังหากมีการตรวจสอบพบว่าคุณกรอกข้อมูลใดเป็นเท็จ  ก็อาจจะถูกห้ามเข้าประเทศอังกฤษเป็นเวลา  10  ปี  
               ในส่วนการพิจารณาให้วีซ่าเป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐบาลอังกฤษโดยแท้  แม้คุณเคยต้องโทษคดีอาญาดังกล่าว  แต่ก็กระทำเมื่อเป็นเยาวชนซึ่งผ่านมานานประมาณ 13 ปีแล้ว  และจำนวนยาเสพติดก็ไม่มากโดยศาลพิพากษาเพียงให้คุมความประพฤติและรอการลงโทษเป็นเวลา 2 ปี  ซึ่งเจ้าหน้าที่จะพิจารณาข้อเท็จจริงดังกล่าวประกอบคุณสมบัติและข้อเท็จจริงอื่นๆ ด้วย  ดังนั้นในการให้ข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรหรือในการสัมภาษณ์ที่จะมีขึ้นในอนาคต  คุณจึงควรให้รายละเอียดและข้อเท็จจริงเพิ่มเติมทั้งที่เกี่ยวกับการกระทำผิดดังกล่าวรวมตลอดถึงข้อเท็จจริงอื่นๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาให้วีซ่าแก่คุณ  หากในที่สุด คุณถูกปฏิเสธไม่ได้รับวีซ่าคุณก็อาจอุทธรณ์การปฏิเสธดังกล่าวได้  ซึ่ง สฝคป. ขอแนะนำให้คุณศึกษารายละเอียดการสมัครวีซ่าและการอุทธรณ์ เมื่อถูกปฏิเสธไม่ให้รับวีซ่าจากเว็บไซด์  http://www.bia.homeoffice.gov.uk/ 

         จาก
               สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-07-30 21:41:04



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล