ReadyPlanet.com


แนวทางการต่อสู้คดีสัญญาจำนอง


 เรียน ทนายลีนนท์ค่ะ

-          ดิฉันได้ทำสัญญาจำนอง และสัญญากู้ยืมไว้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2537โดยให้นายเสริมศรีเป็นผู้กู้ และดิฉันเป็นผู้กู้ร่วม ต่อมาในวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 ดิฉันได้จ่ายค่าป่วยการให้นายเสริมศรี 30,000.-บาท โดยทำเป็นสัญญาซื้อขาย
-          ประมาณปี 2538-39 นายเสริมศรีและครอบครัวได้ถูกฆาตกรรมโดยลูกจ้าง และดิฉันไม่ได้แจ้งไปยังธนาคารแต่อย่างใด
-          วันที่ 18 ธันวาคม 2538 ดิฉันถูกยึดทรัพย์โดยสนง.บังคับคดีและวางทรัพย์จังหวัดนนทบุรี มีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยซัมมิทเป็นโจทก์ ดิฉันจึงหยุดการชำระเงินกู้ตั้งแต่นั้นมา
-          ในปี 2548 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้มีหนังสือให้ไปเจรจา และได้ให้ดิฉันทำหนังสือขอผ่อนผันเรื่องเงินกู้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอการฟ้อง โดยให้ชำระเงินจำนวน 33,000.-บาทในวันทำสัญญา 21/2/48 และวันที่ 30 ของทุกเดือน 12,400.-เป็นเวลา 1 ปี ดิฉันผ่อนในเดือน3-5 และมาส่งอีครั้งหนึ่งในวันที่ 10/9/48 จำนวน 24,000.-บาท จากนั้นหยุดส่งจนถึงปัจจุบัน
-          ในเดือนธันวาคม 2550 ดิฉันได้เป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษา และถูกพิทักษ์เด็ดขาดรวมทั้งทรัพย์ที่ติดจำนองดังกล่าวด้วย ตามกระบวนการของศาลที่เรียกบรรดาเจ้าหนี้ให้มายื่นคำร้องขอชำระหนี้ปรากฏว่าไม่มีเจ้าหนี้รายใดรวมทั้งธนาคารอาคารสงเคราะห์ และบริษัทไทยซัมมิทไม่มายื่นคำร้องขอชำระหนี้ ปัจจุบันได้รับการคืนสถานภาพเป็นบุคคลทั่วไปแล้วในปี 2553
-          วันที่17 สิงหาคม 2554 ทางธนาคารมีหนังสือเชิญพบเพื่อหาแนวทางแก้ไขหนี้ค้างชำระ ดิฉันไปพบแล้วแต่ไม่สามารถเจรจาอย่างหนึ่งอย่างใดได้ เพราะมื่อเจ้าหน้าที่พิมพ์รายงานออกมาปรากฏว่าเฉพาะดอกเบี้ย 5,236,689.89 บาท จากต้นเงิน 2,268,000.-บาท
-          คำถาม
-          1. ควรหาทางเจรจากับธนาคารหรือไม่
-          2. หรือควรหาแนวทางเพื่อสู้คดีในชั้นศาลหรือไม่ในกรณี
-              2.1 สนง.บังคับคดีพิทักษ์ทรัพย์ไว้โดยเพิกเฉยต่อการดำเนินการขายทรัพย์ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อจำเลย ในด้านของดอกเบี้ย และมูลค่าของทรัพย์ และถือทรัพย์ไว้รวม 16 ปีแล้วหมดอายุการบังคับคดีหรือไม่ถ้าหมดอายุดิฉันหรือสนง.บังคับคดีมีหน้าที่ร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์
-                2.2  เช่นเดียวกันธนาคารอาคารสงเคราะห์ผู้รับจำนอง ละเลยการติดตามหนี้ซึงทำให้เกิดผลเช่นเดียวกับ 2.1
-              2.3   กรณีขึ้นศาลธนาคารสามารถเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 5 ปี ใช่หรือไม่
-            3. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยซัมมิท จำกัด หมดสิทธิการเรียกร้องหนี้สินใดๆได้อีกต่อไปใช่หรือไม่
ขอบคุณค่ะ                                          


ผู้ตั้งกระทู้ นันทนิษฏ์ (home_old-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-08 15:42:06


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3318890)

1. ควรหาทางเจรจากับธนาคารหรือไม่

ตอบ - เจรจาเพื่ออะไร คุณต้องตั้งเป้าประสงค์ก่อนว่าจะเจรจาเพื่ออะไร เพราะการที่คุณถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้วและปลดจากล้มละลายแล้ว ทำให้คุณหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ (ก่อนถูกฟ้อง)

 2.1 สนง.บังคับคดีพิทักษ์ทรัพย์ไว้โดยเพิกเฉยต่อการดำเนินการขายทรัพย์ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อจำเลย ในด้านของดอกเบี้ย และมูลค่าของทรัพย์ และถือทรัพย์ไว้รวม 16 ปีแล้วหมดอายุการบังคับคดีหรือไม่ถ้าหมดอายุดิฉันหรือสนง.บังคับคดีมีหน้าที่ร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์

2.2  เช่นเดียวกันธนาคารอาคารสงเคราะห์ผู้รับจำนอง ละเลยการติดตามหนี้ซึงทำให้เกิดผลเช่นเดียวกับ 2.1

ตอบ - คุณไม่ได้รับความเสียหายแล้ว เพราะหนี้นั้นเป็นหนี้ที่พึงขอรับชำระในคดีล้มละลายแล้วเป็นเรื่องของเจ้าหนี้ ดอกเบี้ยที่คุณอ้างไม่ผูกพันลูกหนี้ แต่สิทธิจำนองของเจ้าหนี้ยังคงอยู่ ดังนั้นลูกหนี้ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว

2.3   กรณีขึ้นศาลธนาคารสามารถเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 5 ปี ใช่หรือไม่

ตอบ - ถูกต้องครับ แต่กรณีของคุณหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนถูกฟ้องเป็นบุคคคลล้มละลาย เมื่อปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วย่อมหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงตามที่ตอบไว้แล้วข้างต้น

3. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยซัมมิท จำกัด หมดสิทธิการเรียกร้องหนี้สินใดๆได้อีกต่อไปใช่หรือไม่

ตอบ - ถูกต้องครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-12-01 09:49:01



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล