ReadyPlanet.com


บริษัทแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อให้ผิดสัญญาจ้างกับศาลเพื่อฟ้องลูกจ้าง มีความผิดไหม


 ดิฉันเป็นลูกจ้างบริษัทยาแห่งหนึ่ง ได้แจ้งการลาออกจากงานกับหัวหน้างานในวันที่ 5 เมษายน 2553 โดยวันพฤหัสบดีที่ 1เมษายน 2553 และ วันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2553 ยังไปทำงานกับบริษัทยาแห่งนี้ตามปกติ แต่หลังจากแจ้งการลาออกจากงาน ทางบริษัทยาแห่งนี้มีจดหมายส่งมายังที่บ้าน โดยเนื้อหาในจดหมายมีข้อความแจ้งว่า วันที่ 1,2 และ 5 เมษายน 2553 เป็นระยะเวลา 3 วันเป็นวันทำงานติดต่อกัน กล่าวหาว่าดิฉันไม่ได้มาปฏิบัติงานหรือชี้แจงเหตุผลในการหยุดงานให้ทางบริษัททราบ ถือว่าเจตนาละทิ้งหน้าที่ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร จึงแจ้งให้ดิฉันพ้นสภาพการเป็นพนักงานตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2553 โดยไม่จ่ายค่าชดเชยฐานละทิ้งหน้าที่ติดต่อกัน 3 วันอันเป็นเหตุไม่สมควร

 หลังจากนั้นทางบริษัทยาได้ดำเนินการฟ้องดิฉัน ณ ศาลแรงงานกลาง ด้วยข้อหา คดีแพ่ง ผิดสัญญาจ้าง ละเมิด ค้ำประกัน โดยสำนวนการฟ้องคือกล่าวหาทางดิฉันละทิ้งหน้าที่ในวันที่ 1,2 และ 5 เมษายน 2553 เป็นเวลาติดต่อกันเกิน 3 วันทำให้ทางบริษัทได้รับความเสียหาย 25,200 บาท

โดยสัญญาจ้างที่ดิฉันเซ็นต์ พนักงานต้องทำงานให้ครบ 2 ปี ถ้าลาออกก่อนต้องเสียค่าปรับ 20,000 บาท

ดังนั้นทางบริษัทจึงเรียกค่าเสียหายเป็นค่าอบรม 20,000 บาท ค่านามบัตร 700 บาท ค่ายานพาหนะหัวหน้างาน 4,500 บาท (ลาออกก่อนที่หัวหน้าจะเดินทาง ก็ยังจะเรียกค่าเสียหายกับเราอีก )

 ทนายค่ะ ถ้าเรื่องสัญญาจ้างงาน ดิฉันคงผิดสัญญาจ้าง แต่ข้ออ้างของบริษัทที่ฟ้องดิฉันว่าดิฉันไม่ได้ไปทำงานในวันที่ 1,2 เมษายน 2553 ทั้งๆที่ยังไปทำงานอยู่กับแจ้งข้อมูลฟ้องร้องลูกจ้างอย่างดิฉันว่าไม่ได้ไปทำงานเป็นเวลา 3 วันอันเป็นเหตุให้ทางบริษัทได้รับความเสียหายเรียกค่าปรับเป็นเงิน 25200 บาทจะทำอย่างไรดีค่ะ

และการฟ้องร้องของบริษัทกับลูกจ้างโดยให้ข้อมูลเท็จกับศาลแรงงาน มีความผิดไหมค่ะ ช่วยตอบด้วยคะจากลูกจ้างที่โดนบริษัทนายจ้างรังแก



ผู้ตั้งกระทู้ monticha (monticha_u02-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-07-22 13:15:25


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3222814)

เบื้องต้นต้องขออธิบายก่อนว่า ข้อมูลที่คุณแจ้งมาเป็นข้อมูลฝ่ายเดียว หากเปรียบเทียบกับคำฟ้องของนายจ้างที่ยื่นต่อศาลแรงงาน ก็เป็นข้อมูลฝ่ายเดียวเช่นกัน

บุคคลภายนอกไม่สามารถรู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร ดังนั้น ผิดถูกก็ต้องไปพิสูจน์กันในชั้นศาลต่อไป

ในเรื่องผิดสัญญานั้นคุณเองก็ยอมรับว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาจริง นายจ้างย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ศาลก็จะพิจารณาความเหมาะในเรื่องความเสียหายให้อีกว่านายจ้างเสียหายจริงเท่าใด

ส่วนการลากับหัวหน้านั้นหากเป็นจริงก็จะมีผลถึงการผิดสัญญาหรือไม่นั้นคงเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ เพราะคุณทำงานไม่ครบ 2 ปี ตามสัญญาแล้วคุณขอลาออกก่อนกำหนดก็เห็นว่าคุณผิดสัญญาแล้ว

เรื่องค่าชดเชยนั้นคงไม่เป็นประเด็น เพราะคุณยอมรับว่าเป็นคนขอลาออกซึ่งหากนายจ้างไม่เลิกจ้างคุณก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยอยู่แล้วเพราะเหตุลาออกเอง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-07-23 11:48:04


ความคิดเห็นที่ 2 (3222946)
ความเห็น
1. กรณีที่บริษัทฟ้องเรียกค่าเสียหาย คุณต้องไปตามที่ศาลนัด (ไปเอง...ไม่ต้องมีทนายก็ได้) ติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อน จะได้ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง หาก ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน ฟังแล้วเป็นตามที่คุณยืนยัน ก็ไม่ต้องกังวล

2. หากนายจ้าง "มีเจตนา" นำความเท็จมาฟ้องศาล ผิดกฎหมายแน่นอนครับ กรณีนี้ บริษัทคงมีทนายความ ซึ่งทางเขาน่าจะพยานหลักฐาน ที่เข้าใจได้ว่าเป็นเช่นนั้น พูดตรงๆ คือ น่าจะมีความเข้าใจผิด กันอย่างแน่นอน นายจ้างที่ไหนหนอ จะบังอาจ นำความเท็จ (ที่รู้ว่าเท็จ) มาฟ้องลูกจ้างเป็นคดี
ผู้แสดงความคิดเห็น 1111 วันที่ตอบ 2010-07-23 14:31:16


ความคิดเห็นที่ 3 (3222949)
เป็นเรื่องจริง ค่ะ

- ทางดิฉันได้ไปทำงาน และ เข้างานแบบ วิธี สแกนนิ้วของบริษัท และดิฉันสังเกตเห็นว่ามีกล้องวงจรปิดด้วย และยังมีพยานบุคคลที่เป็นพนักงานใหม่ที่ทำงานบริษัทยาที่รับเข้ามาทำงานพร้อมกันในรุ่นเดียวกัน

คำตอบ พยานต่างๆเป็นของทางฝ่ายบริษัทโจทก์ซึ่งทางดิฉันไม่สามารถนำข้อมูลจากเครื่องสแกนนิ้วมือ
การเข้ามาทำงานและภาพกล้องวงจรปิดแสดงเป็นหลักฐานได้ พร้อมทั้งพยานบุคคลก็เป็นพนักงานที่ยังทำงานอยู่ เขาคงไม่กล้าที่จะเป็นพยานให้ค่ะ

- แต่ตอนที่ดิฉันไปทำงานฉันได้โทรศัพท์ในช่วงเวลาพักงาน และเป็นระบบจ่ายรายเดือนของ AIS จึง print ข้อมูลซึ่งสามารถบอกพิกัดต้นทางการใช้งานได้ ว่าดิฉันสามารถระบุต้นทางอยู่ที่กรุงเทพ และรูปแบบการใช้โทรศัพท์ เป็นลักษณะเดียวกันกับการที่ดิฉันทำงานอยู่ที่บริษัทยา ที่นั้นเพราะ 1 เดือนที่อยู่ที่นั้นรูปแบบหรือลัษณะการโทรจะเป็นแบบ pattern เดิมค่ะแต่ก็ไม่ชัดเจนเหมือน GPRS ที่บอกพิกัดการใช้ไม่งั้นเรื่องจริงปรากฏแน่นอน ว่าความยุติธรรมมีอยู่จริง ไม่ควรเอาความรวยหรือความรู้ทางด้านกฏหมายมากลั่นแกล้งลูกจ้างธรรมดาอย่างดิฉัน และก็ไม่รู้กฏหมายต้องอาศัยทนายใจดีทุกๆท่านที่ใจดีให้คำแนะนำค่ะ

ขอบคุณ
ผู้แสดงความคิดเห็น 2222 วันที่ตอบ 2010-07-23 14:32:01


ความคิดเห็นที่ 4 (3223335)

หากมีกล้องวงจรปิดหรือระบบผ่านโดยวิธีแสดงลายนิ้วมือ ก็สามารถให้ศาลมีหมายเรียกมาเป็นพยานได้ครับ

ในกรณ์ฟ้องเท็จจะต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ครับ เพราะไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องของนายจ้างที่เรียกค่าเสียหายมา

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-07-25 10:03:01



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล