ReadyPlanet.com


ซื้อของจ่ายเงินแล้วผู้ขายไม่ทอนเงิน


ขึ้นโดยสารรถไฟซื้อของกับพ่อค้าราคา 35 บาท จ่ายเงินแบงค์ 100 บาท ไม่ยอมทอนเงินคืน ผิดกฎหมายข้อใดอย่างไร


ผู้ตั้งกระทู้ krit2507 :: วันที่ลงประกาศ 2010-08-19 13:37:39


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3233918)

ผิดสัญญาทางแพ่ง เรียกเงินทอนคืนได้ครับ ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่มีความผิดฐานยักยอกด้วย

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3629/2538
 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด
      โจทก์
ป.อ. มาตรา 334

          ผู้เสียหายส่งธนบัตรฉบับละ100บาทให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าโดยสารรถเป็นเงิน 5 บาทถือว่าผู้เสียหายมอบการครอบครองธนบัตรดังกล่าวให้แก่จำเลยการที่จำเลยไม่ได้ทอนเงินให้ทันทีหรือแม้ไม่มีเจตนาจะทอนเงินให้โดยจะเอาเงินที่เหลือจำนวน 95 บาทเป็นประโยชน์ของตนโดยทุจริตก็ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์เพราะเจตนาทุจริตเกิดขึ้นภายหลังที่ธนบัตรอยู่ในความครอบครองของจำเลยแล้ว

          โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336, 336 ทวิริบ รถยนต์ ของกลาง ให้ จำเลย คืนเงิน จำนวน 95 บาท แก่ ผู้เสียหาย
                               จำเลย ให้การ ปฏิเสธ

          ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334 ประกอบ กับ มาตรา 336 ทวิ ลงโทษ จำคุก 1 ปี 6 เดือนทางนำสืบ ของ จำเลย เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 1 ปี รถยนต์ของกลาง ไม่ใช่ ทรัพย์ ที่ ใช้ ใน การกระทำ ความผิด จึง ไม่ ริบ ให้ จำเลยคืนเงิน จำนวน 95 บาท แก่ ผู้เสียหาย
                                 จำเลย อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
                                    โจทก์ ฎีกา

          ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ ว่า ตาม วัน เวลา และ สถานที่เกิดเหตุ ตาม ฟ้อง ผู้เสียหาย ส่งมอบธนบัตร ฉบับ ละ 100 บาท ให้ แก่ จำเลย เพื่อ ชำระ ค่า โดยสาร รถ 5 บาทจำเลย รับ ธนบัตร จาก ผู้เสียหาย แล้ว ไม่ ทอน เงิน ส่วน ที่ เหลือ จำนวน 95 บาท ให้ แก่ ผู้เสียหาย ทันที มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของโจทก์ ว่า จำเลย ได้ กระทำผิด ฐาน ลักทรัพย์ หรือไม่ เห็นว่า การกระทำ ใดจะ เป็น ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ จะ ต้อง พิจารณา ได้ความ ว่า เป็น การ เอา ทรัพย์ของ ผู้อื่น หรือ ที่ ผู้อื่น เป็น เจ้าของรวม อยู่ ด้วย ไป จาก การครอบครอง โดยทุจริต แต่ กรณี นี้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า ผู้เสียหายส่ง ธนบัตร ฉบับ ละ 100 บาท ให้ แก่ จำเลย เพื่อ ชำระหนี้ ค่า โดยสาร รถเป็น เงิน 5 บาท ซึ่ง ถือได้ว่า ผู้เสียหาย ได้ มอบ การ ครอบครอง ธนบัตรฉบับ ละ 100 บาท ให้ แก่ จำเลย เอง การ ที่ จำเลย ไม่ได้ ทอน เงิน ให้ แก่ผู้เสียหาย ทันที หรือ แม้ จะ ฟัง ว่า จำเลย ไม่มี เจตนา ที่ จะ ทอน เงิน ให้ แก่ผู้เสียหาย โดย เจตนา ที่ จะ เอา เงิน ที่ เหลือ จำนวน 95 บาท เป็น ประโยชน์ของ ตน โดยทุจริต ก็ ไม่เป็น ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ เพราะ เจตนา ทุจริตเกิดขึ้น ภายหลัง ที่ ธนบัตร อยู่ ใน ความ ครอบครอง ของ จำเลย แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่าการ กระทำ ของ จำเลย ไม่เป็น ความผิด ฐาน ลักทรัพย์และ พิพากษายก ฟ้อง มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น "
                                 พิพากษายืน

( นิวัตน์ แก้วเกิดเคน - ยงยุทธ ธารีสาร - ยรรยง ปานุราช )

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-08-19 17:14:57



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล