ReadyPlanet.com


ภาระจำยอมระงับสิ้นไปหรือไม่?


แม่ดิฉันได้แบ่งโฉนด ให้ดิฉันกับน้อง   ที่ดิฉันสามารถออกถนนได้  แต่ที่ของน้องเป็นที่ดินตาบอด   ดิฉันได้จดภาระจำยอมให้น้องสาวเมื่อ 1 ม.ค.2545    และเมื่อ 23 ม.ค.2545 ดิฉันก็ได้ซื้อที่ดินแปลงนี้มาจากน้องสาว และได้เอาไปจำนองธนาคาร     ทางภาระจำยอมที่จดไว้ไม่เคยได้ใช้เลยเพราะดิฉันยังมีที่ดินแปลงอื่นที่สามารถออกถนนสาธารณะได้  แต่ปัจจุบันที่ดินที่เอาไปจำนองไว้  ได้ถูกขายทอดตลาด แล้ว มีผู้ซื้อคนใหม่เข้ามา เค้าจะขอเปิดทางภาระจำยอม  แต่ดิฉันไม่อนุญาติเพราะคิดว่าภาระจำยอมนjาจะหมดไปเองเมื่อเป็นเจ้าของคนเดียวกัน  แต่ไม่ได้ไปจดทะเบียนยกเลิก     คำถามว่าภาระจำยอมหมดไปหรือเปล่า   และกรณีที่ดิฉันทำม้านั่งหินอ่อนในล้ำเข้าทางภาระจำยอมดิฉันต้องรื้อออกหรือเปล่า เพราะว่าม้าหินอ่อนนี้ได้สร้างมาพร้อมกับบ้าน  และก่อนที่มีการจดทะเบียนภาระจำยอมด้วย   ทางคนซื้อคนใหม่บอกว่าถ้าดิฉันไม่อนุญาติให้ใช้ทางภาระจำยอม และไม่ยอมให้รื้อถอนม้าหินอ่อน  เค้าจะฟ้อง  และเรียกค่าเสียหาย   เพราะเค้าไม่สามารถเข้าบ้านได้   ถ้าเค้าฟ้องดิฉันจะแพ้หรือเปล่าค่ะ    ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ คุณนา :: วันที่ลงประกาศ 2011-03-01 12:13:01


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3286486)

กฎหมายบอกว่า ถ้าที่ดินตกเป็นเจ้าของเดียวกันและที่ดินแปลงหนึ่งเป็นภารยทรัพย์ และอีกแปลงหนึ่งเป็นสามยทรัพย์ เจ้าของเดียวกันนี้มีสิทธิที่เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมได้ แต่ในกรณีที่ยังไม่ได้ไปเพิกถอนทางทะเบียนภาระจำยอม ภาระจำยอมก็ยังคงมีอยู่ต่อไปแก่บุคคลภายนอก ดังนั้นในกรณีของคุณเมื่อยังไม่ได้เพิกถอนภาระจำยอม จึงยังไม่ระงับสิ้นไปตามมาตรา 1398ครับ

มาตรา 1398 ถ้าภารยทรัพย์และสามยทรัพย์ตกเป็นของเจ้าของคนเดียวกัน ท่านว่าเจ้าของจะให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมก็ได้ แต่ถ้า ยังมิได้เพิกถอนทะเบียนไซร้ ภารจำยอมยังคงมีอยู่ในส่วนบุคคลภายนอก

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-03-02 18:05:22


ความคิดเห็นที่ 2 (3286487)

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1044/2496

           ที่ดิน 2 แปลง เมื่อตกได้แก่เจ้าของเดียวกันแล้วแม้หากจะเคยมีภาระจำยอมมาก่อน ภาระจำยอมนั้นก็ย่อมหมดไป และแม้เจ้าของจะใช้ทางผ่านในที่ดินนั้น ก็เป็นเรื่องใช้อำนาจกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่ภาระจำยอม ฉะนั้นเมื่อขายที่ดินแปลงหนึ่งให้บุคคลอื่นไปยังไม่ถึง 10 ปีจึงยังไม่มีทางก่อเกิดภาระจำยอมโดยทางอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 ได้
________________________________

          โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางเดินในที่บ้านของจำเลย โดยอ้างสิทธิทางภาระจำยอม

          จำเลยให้การปฏิเสธ ข้อภาระจำยอมกันว่า ที่บ้านจำเลยนี้ เดิมเป็นของโจทก์จำเลยซื้อไว้จากการขายทอดตลาด ฉะนั้นแม้โจทก์จะเคยใช้สิทธิอย่างใดก็ใช้ในฐานะเป็นเจ้าของ หาเป็นภาระจำยอมไม่

          ศาลชั้นต้นเห็นว่า ตลอดเวลา 17 ปีก่อนหน้าโจทก์ซื้อมานี้ที่บ้านรวมทั้ง 2 แปลงตกได้แก่โจทก์เป็นเจ้าของเดียวกัน ภาระจำยอมแม้หากเคยมีมาก่อนก็ย่อมหมดไปแล้ว ถ้าโจทก์ใช้ทางผ่านไปในที่ดินนั้น ก็เป็นเรื่องใช้อำนาจกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่ภาระจำยอม ที่โจทก์อ้างว่าเป็นภารยทรัพย์นี้ เพิ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ยังไม่ถึง 10 ปี ยังไม่มีทางก่อเกิดภาระจำยอม โดยทางอายุความ จึงพิพากษายกฟ้อง

          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาเห็นพ้องตามคำวินิจฉัยของศาลล่าง และเห็นว่าสิทธิภาระจำยอม แม้หากโจทก์เคยมี ก็ต้องหมดสิ้นระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1398 นับต่อแต่นั้นมา หากภารจำยอมจะมีกำหนดขึ้นอีกก็ต้องเป็นเรื่องนับหนึ่งกันใหม่

          จึงพิพากษายืน
( ดุลยพากย์สุวมัณฑ์ - ธรรมบัณฑิตสิทธิศฤงคาร - ดุลยทัณฑ์ชนาณัติ )

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-03-02 18:08:09


ความคิดเห็นที่ 3 (3286579)

    สอบถามว่า จากความเห็นที่ 1(3286486)

    แล้วที่นั่งหินอ่อนที่ดิฉันทำขึ้น ติดกับตัวบ้าน ที่อยู่ในเขตภาระจำยอม2 เมรต ที่ก่อสร้างมาพร้อมบ้าน และก่อนที่จะจดทะเบียนภาระจำยอม ดิฉันต้องรื้อถอนหรือเปล่าค่ะ

    แล้วถ้าเค้าฟ้องดิฉันต้องจ่ายค่าเสียหายให้เค้า  ถามที่เค้าเรียกมาหรือเปล่าค่ะ  เพราะเจ้าของคนใหม่เค้าซื้อบ้านตั้งแต่ปีที่แล้ว  แต่เค้ายังไม่ได้เข้าไปอยู่เ  เลยค่ะ  เพราะดิฉันไม่ให้ผ่าน  

    แล้วถ้าดิฉันจ้างทนาย  ดิฉันจะชนะคดีหรือเปล่าค่ะ

                                                                               ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น คุณนา วันที่ตอบ 2011-03-03 11:43:07


ความคิดเห็นที่ 4 (3286773)
คุณต้องไม่ทำให้เสื่อมประโยชน์แก่การใช้ภาระจำยอม ถ้าล้ำเข้าไปก็คงต้องรื้อครับ ส่วนค่าเสียหายหรืออะไรก็ตามเมื่อเขายังไม่ได้ฟ้องมาก็น่าจะเจรจาตกลงกันครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-03-04 22:23:38



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล