
กระทำอนาจารลูกศิษย์ | |
ศาลชั้นต้นลงโทษครูกระทำอนาจารลูกศิษย์ จำคุก 2 ปี มีคำถามว่า การที่ครูผู้กระทำอนาจารลูกศิษย์ อ้างว่า ครูมีหน้าที่สอนผู้เสียหายมิได้มีหน้าที่ดูแลผู้เสียหาย ทั้งขณะเกิดเหตุเป็นเวลาพักกลางวัน และเหตุเกิดนอกห้องเรียน จึงไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นกว่าการกระทำอนาจารธรรมดาทั่วไป ข้ออ้างดังกล่าวฟังขึ้นหรือไม่ | |
ผู้ตั้งกระทู้ **w :: วันที่ลงประกาศ 2011-01-23 11:25:23 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (3281713) | |
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 บอกว่า ผู้ใดกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี มาตรา 285 บัญญัติว่า ถ้าการกระทำข้างต้นเป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลผู้อยู่ในความควบคุม ตามหน้าที่ราชการหรือผู้อยู่ในความปกครอง ในความพิทักษ์หรือในความอนุบาล ผู้กระทำต้องระวางโทษหนัก กว่าที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ หนึ่งในสาม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ครูใช้ลูกศิษย์ซึ่งเป็นผู้เสียหายให้นำผ้าไปซักในห้องน้ำเกิดเหตุ เป็นที่เห็นได้ว่าขณะนั้นผู้เสียหายซึ่งเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของครู ทั้งต้องเชื่อฟังครูด้วย เมื่อครูกระทำอนาจารผู้เสียหายในขณะนั้น ครูจึงต้องรับโทษหนักขึ้น
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-01-23 11:31:40 |
ความคิดเห็นที่ 2 (3281714) | |
พนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์ จำเลยเป็นครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในสายชั้นเรียนให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยใช้ผู้เสียหายให้นำผ้าไปซักในห้องน้ำเกิดเหตุ เป็นที่เห็นได้ว่าขณะนั้นผู้เสียหายเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลย ทั้งต้องเชื่อฟังจำเลยด้วย เมื่อจำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายในขณะนั้น จำเลยจึงต้องมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคแรก ประกอบมาตรา 285 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคแรก ประกอบมาตรา 285 จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอายุ 11 ปีเศษ เรียนอยู่ที่โรงเรียนเทศบาลวัดดอกเงินซึ่งจำเลยเป็นครูสอนอยู่วันเกิดเหตุ ขณะผู้เสียหายกำลังซักผ้าอยู่ในห้องน้ำของโรงเรียน จำเลยเข้าไปห้องน้ำเดียวกัน แล้วผู้เสียหายวิ่งออกจากห้องน้ำในเวลาต่อมา ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกมีว่า จำเลยกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายหรือไม่ เห็นว่า ผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาลหลังจากที่ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนเป็นระยะเวลาห่างกันถึงปีเศษ อาจเบิกความถึงรายละเอียดสับสนไปบ้าง แต่ผู้เสียหายก็ยังให้การต่อพนักงานสอบสวนและเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุอวัยวะเพศของจำเลยอยู่ในร่มผ้า จำเลยเองยังเบิกความรับว่า ขณะเกิดเหตุ จำเลยอยู่ในห้องน้ำกับผู้เสียหายสองต่อสอง เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่ายื่นสบู่ให้และใช้มือแตะศีรษะของผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายตื่นกลัวไปเอง ข้อนำสืบต่อสู้ของจำเลยไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากเหตุสงสัยว่าจำเลยกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหาย ที่จำเลยอุทธรณ์ต่อไปว่า จำเลยเป็นเพียงครูมีหน้าที่สอนผู้เสียหายมิได้มีหน้าที่ดูแลผู้เสียหาย ทั้งขณะเกิดเหตุเป็นเวลาพักกลางวัน และเหตุเกิดนอกห้องเรียน จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 นั้น เห็นว่า ขณะเกิดเหตุ จำเลยเป็นครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในสายชั้นเรียนให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยใช้ผู้เสียหายให้นำผ้าไปซักในห้องน้ำเกิดเหตุ เป็นที่เห็นได้ว่าขณะนั้นผู้เสียหายซึ่งเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลย ทั้งต้องเชื่อฟังจำเลยด้วย เมื่อจำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายในขณะนั้น จำเลยจึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279ประกอบมาตรา 285 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับ 10,000 บาท อีกสถานหนึ่งให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 3 ปี ให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 3 เดือนต่อครั้งเป็นเวลา 3 ปี และให้กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควรมีกำหนด 24 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 มาตรา 285 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 277 ทวิ มาตรา 277 ตรี
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น โดยทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-01-23 11:32:58 |
[1] |