ReadyPlanet.com


เงิน Early retire


เรียน พี่ศิริ

       ดิฉันมีปัญหาปรึกษาพี่ศิริดังนี้ค่ะ

      1.  เงิน Early retire ที่ได้รับจากนายจ้างเนื่องจากลาออกจากงานก่อนเกษียณอายุตามข้อกำหนดของนายจ้าง ถือเป็นสินสมรส หรือสินส่วนตัว (ในกรณีผู้รับเสียชีวิตหลังจากได้รับเงินดังกล่าว)

       2. เงินประกันชีวิตที่ไม่ได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต เงินดังกล่าวจะต้องแบ่งแก่ทายาทอย่างไร ผู้ตายมีคู่สมรส ไม่มีบุตร มารดายังมีขีวิตอยู่  คู่สมรสของผู้ตายอ้างว่าเงินประกันชีวิตเป็นสินสมรส จะแบ่งให้มารดาผู้ตาย 1 ใน 4 ส่วน

       3.  อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อก่อนจดทะเบียนสมรส 4 ปี แต่หลังจากจดทะเบียนสมรสยังคงผ่อนชำระกับธนาคารอีก 3 ปี ถือว่าเป็นสินเดิม หรือสินสมรส

         สุดท้ายนี้ขอขอบคุณพี่ศิริเป็นอย่างมากค่ะ ที่ให้ความรู้ด้านกฎหมายซึ่งเป็นประโยชน์และเป็นเรื่องใกล้ตัว

 



ผู้ตั้งกระทู้ ทายาทโดยธรรม :: วันที่ลงประกาศ 2012-04-02 20:41:41


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3330885)

 1.  เงิน Early retire ที่ได้รับจากนายจ้างเนื่องจากลาออกจากงานก่อนเกษียณอายุตามข้อกำหนดของนายจ้าง ถือเป็นสินสมรส หรือสินส่วนตัว (ในกรณีผู้รับเสียชีวิตหลังจากได้รับเงินดังกล่าว)

ตอบ - เงินค่าตอบแทนพิเศษเนื่องจากการลาออกจากงานก่อนเกษียนเป็นเงินที่ได้มาระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรส

2. เงินประกันชีวิตที่ไม่ได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต เงินดังกล่าวจะต้องแบ่งแก่ทายาทอย่างไร ผู้ตายมีคู่สมรส ไม่มีบุตร มารดายังมีขีวิตอยู่  คู่สมรสของผู้ตายอ้างว่าเงินประกันชีวิตเป็นสินสมรส จะแบ่งให้มารดาผู้ตาย 1 ใน 4 ส่วน

ตอบ - เงินประกันชีวิตไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสไม่ใช่สินสมรส แต่จะตกได้แก่ผู้มีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรภ์ประกันชีวิต ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ว่าจะไม่มีชื่อผู้รับประโยชน์จากสัญญาเพราะเป็นสาระสำคัญของสัญญาประกันชีวิต แนะนำให้สอบถามกับบริษัทผู้เอาประกันชีวิตในเรื่องนี้และเงินจำนวนนี้ไม่ใช่มรดกเพราะผู้ตายไม่ได้มีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย

3.  อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อก่อนจดทะเบียนสมรส 4 ปี แต่หลังจากจดทะเบียนสมรสยังคงผ่อนชำระกับธนาคารอีก 3 ปี ถือว่าเป็นสินเดิม หรือสินสมรส

ตอบ -  ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนจดทะเบียนสมรสเป็นสินส่วนตัว ต้องพิจารณาว่าเมื่ออสังหาริมทรัพย์โอนกรรมสิทธิ์ก่อนการจดทะเบียนสมรสย่อมเป็นสินสมรส แต่การที่ผู้ตายนำเงินสินสมรสส่วนที่ผ่อนชำระจำนวน 3 ปี ไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตน (ความเห็น) คือไปผ่อนชำระค่าบ้านให้ถือว่าเงินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อแบ่ง เงินที่ผ่อนในระยะเวลา 3 ปีย่อมเป็นของคู่สมรสครึ่งหนึ่ง ส่วนตัวบ้านเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย  (หมายเหตุ -- ในกรณีผ่อนบ้านร่วมกันแต่ซื้อแกละโอนกรรมสิทธิก่อนสมรส ศาลฎีกาเคยตัดสินไว้ว่าระยะเวลาที่ผ่อนก่อนสมรสหรือหลังสมรสมากกว่ากันให้ถือว่าระยะเวลาที่มากกว่านั้นเป็นทรัพย์สินของฝ่ายนั้น ผมจำเลขฎีกาไม่ได้)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-04-08 08:44:32


ความคิดเห็นที่ 2 (3330886)

เงินค่าตอบแทนพิเศษเนื่องจากการลาออกก่อนเกษียนอายุเป็นสินสมรส คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2548

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2012-04-08 08:46:07


ความคิดเห็นที่ 3 (3330887)

เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2542

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2012-04-08 08:48:25



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล