ReadyPlanet.com


ช่วยตอบด้วยครับ


ผมมีเรื่องจะเรียนปรึกษาครับ เรื่องมีอยู่ว่า บิดาของผมเคยมีเรื่องกับเพื่อนบ้านมานานแล้วและเคยขึ้นศาลมาครั้งหนึ่งโดยพ่อผมเป็นผู้เสียหาย แต่ศาลตัดสินยังไงผมไม่ทราบเนื่องจากตอนนั้นผมยังเล็กอยู่ และต่อมาประมาณเดือนที่ผ่านมาพ่อก็ได้โดนคนที่มีเรื่องอยู่ก่อนนั้นใช้มีดสปาต้าฟันโดนที่หัวใหล่ด้านซ้าย โดยบิดาผมบอกว่าบิดาได้ยกหัวใหล่และแขนขึ้นมาป้องกันทำให้โดนที่หัวใหล่ และในจังหวะต่อมาพี่ชายก็ได้มาพบเหตุการพอดีจึงได้เข้าไปแยกบุคลทั้ง2ไม่ให้วิวาทกันและพี่ชายบอกว่าถ้าเข้าไปห้ามไม้ทันพ่ออาจตายได้เนื่องจากฝ่ายนั้นเข้ากำลังจะแทงซ้ำ (เหตุเกิดที่ข้างบ้านผมแต่เป็นที่สาธาณณะ)ต่อมาพ่อก็ได้เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ต้องหาก็ได้ต่อสู่คดีโดยบอกว่าเขาไม่ได้ใช้มีดสปาต้าฟันแต่ใช้เคียวเกี่ยวหญ้าป้องกันตัว และเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้ดำเนินคดี และยื่นฟ้องในข้อหาทำร้ายร่างกายทำให้บาดเจ็บสาหัส ผมอยากทราบว่า 1. คดีนี้เป้นคดีพยายามฆ่าหรือไม่ครับ 2. เราควรมีทนายยื่นฟ้องเป็นโจทก์ร่วมหรือไม่ครับ 3. ถ้าเป็นคดีทำร้ายร่างกายจริงจะมีโทษหนักหรือเปล่าวครับ 4. ถ้าพนังานอัยการมีความเห็นเหมือนกับพนักงานสอบส่วนผมควรทำอย่างไรดีครับ -ผมเป็นคนจน -เข้ามีเส้นตำรวจ -กลัวมีปัจจัยอื่นๆตามมา


ผู้ตั้งกระทู้ ผู้ต้องการช่วยพ่อ :: วันที่ลงประกาศ 2010-08-05 13:46:35


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3228703)

1. คดีนี้เป้นคดีพยายามฆ่าหรือไม่ครับ

ตอบ---ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหาไปตามพยานหลักฐานครับ ตามปกติแล้วตำรวจไม่เคยพลาดที่จะแจ้งข้อกว่าไป(เกิน)ตามความจริงอยู่แล้วครับ เรื่องนี้น่าจะสบายใจได้ครับ

2. เราควรมีทนายยื่นฟ้องเป็นโจทก์ร่วมหรือไม่ครับ

ตอบ--เป็นสิทธิของเราอยู่แล้วครับ สามารถทำได้ครับ

3. ถ้าเป็นคดีทำร้ายร่างกายจริงจะมีโทษหนักหรือเปล่าวครับ

ตอบ--  มาตรา 297  ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี
อันตรายสาหัสนั้น คือ
(1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
(2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
(3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด
(4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
(5) แท้งลูก
(6) จิตพิการอย่างติดตัว
(7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
(8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน

4. ถ้าพนังานอัยการมีความเห็นเหมือนกับพนักงานสอบส่วนผมควรทำอย่างไรดีครับ -ผมเป็นคนจน -เข้ามีเส้นตำรวจ -กลัวมีปัจจัยอื่นๆตามมา

ตอบ-- เป็นดุลพินิจของพนักงานอัยการครับ เราไปก้าวก่ายงานของเขาไม่ได้ครับ คุณก็ไม่อยู่ในเหตุการณ์ อาจมีความเห็นเข้าข้างตัวเองได้ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ทั่วไปครับ

 

 

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-08-06 11:07:19


ความคิดเห็นที่ 2 (3234709)

ดิฉันมีเรื่องจะปรึกษาค่ะ เรื่องมีอยู่ว่ามีเพื่อนบ้านมาจ้างแม่ของดิฉันไปทำไร่ ปลูกมันสำปะรัง โดยนายจ้างบอกว่าป็นที่ของ

เขา เขาได้ซื้อไว้ โดยไม่รู้ว่าเป็นที่ป่าสงวน แล้วถูกจับข้อหาบุกรุกที่ป่าสงวน ตอนนี้กำลังขึ้นอยู่ จึงอยากทราบแม่ของดิฉันจะต้องรับโทษหรือเปล่าค่ะ

เพราะเขาไม่ทราบและไม่มีเจนาที่เข้าไปบุกรุกจริงๆ และถ้าได้รับโทษอัตรโทษเท่าไรค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น คดีบุกรุกที่ป่าสงวนกรณีเป็นลูกจ้าง (pattama-udom-at-windowslive-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-21 14:18:35


ความคิดเห็นที่ 3 (3234749)

อยากทราบแม่ของดิฉันจะต้องรับโทษหรือเปล่าค่ะ

เรื่องผิดหรือไม่ผิดคงต้องรอให้ศาลตัดสินดีกว่าครับ เพราะถ้าไม่ผิดพนักงานอัยการเขาก็คงสั่งไม่ฟ้อง แต่เมื่อพนักงานอัยการสั่งฟ้อง ก็ต้องต่อสู้คดี เป็นเรื่องการพิจารณาคดีในชั้นศาล จึงไม่อาจคาดเดาเองได้ครับ เพราะมีองค์ประกอบหลายอย่างครับ

 

คำถามว่า -ถ้าได้รับโทษอัตรโทษเท่าไรค่ะ

ตอบ - ในกรณีบุกรุกป่าสงวน เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยมีความผิด เคยตัดสินไว้ดังนีครับ

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507  จำคุ 9  ปี

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่2087/2539

พนักงานอัยการจังหวัดตรัง   โจทก์

แม้จำเลยจะซื้อสิทธิครอบครองที่ดินจากบุคคลผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนที่ทางการจะประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติก็เป็นเพียงแสดงว่าเฉพาะตัวผู้ที่ขายสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยขาดเจตนาที่จะบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่จำเลยซื้อได้มีกฎกระทรวงประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2529 จำเลยเบิกความว่าได้ซื้อมาระหว่างปีพ.ศ. 2530 ถึงปี 2535 จึงเป็นระยะเวลาที่รัฐประกาศให้ที่ดินดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วและจำเลยก็ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นป่าสงวนแห่งชาติ การที่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนจึงมีความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 และยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54 ซึ่งบัญญัติห้ามยึดถือครอบครองป่าเช่นกันด้วย

โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันเวลาและเดือนใดไม่ปรากฏชัดปี 2530 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2535 เวลากลางวันต่อเนื่องกันจำเลยได้ก่นสร้างแผ้วถางทำไม้และเข้ายึดถือครอบครองป่าและที่ดินเพื่อตนเองในเขตป่าคลองกะลาเสและคลองไม้ตายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายเป็นเนื้อที่ 496 ไร่ 2 งาน 72 ตารางวาอันเป็นการทำลายป่าและเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติเหตุเกิดที่ตำบลไม้ฝาดอำเภอสิเกาจังหวัดตรัง ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54, 72 ตรี พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 ให้จำเลยและบริวารออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ
                                      จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54วรรค หนึ่ง, 72ตรีว รรคสอง พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง,31วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุก 9 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78คงจำคุก6ปีให้จำเลยและบริวารออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ
                                        จำเลยอุทธรณ์
                              ศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืน
                                         จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า"พิเคราะห์แล้ว คดีฟังเป็นยุติในชั้นนี้โดยคู่ความมิได้โต้เถียงกันว่าที่ดินจำนวนประมาณ 496 ไร่ 2 งาน 72 ตารางวา ที่จำเลยและนายสุพจน์  น้องชายจำเลยได้ซื้อมาจากผู้ขาย 13 รายซึ่งเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในเขตที่ดินป่าคลองกะสาเสและป่าคลองไม้ตาย ตำบลกะลาเส ตำบลเขาไม้แก้ว ตำบลบ่อหินและตำบลไม้ฝาดอำเภอสิเกาจังหวัดตรัง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติปรากฏตามเอกสารหมายล.1 และ ป.ล.1 โดยปรากฏว่าผู้ที่ขายที่ดินให้จำเลยและน้องชายจำเลยเป็นผู้ที่ได้ครอบครองที่ดินมาก่อนที่จะประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติและผู้ครอบครองได้ไปร้องแจ้งสิทธิการครอบครองไว้ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้ประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วปรากฏตามหลักฐานการแจ้งสิทธิการครอบครองเอกสารหมาย ป.ล.2 มีปัญหาที่จะต้องพิจารณาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 หรือไม่เห็นว่าในข้อหาความผิด ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติจำเลยนำสืบว่าได้ซื้อสิทธิครอบครองจากบุคคลผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนที่ทางการจะประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวก็เป็นเพียงแสดงว่าเฉพาะตัวผู้ที่ขายสิทธิการครอบครองให้แก่จำเลยดังกล่าวขาดเจตนาที่จะบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติเท่านั้นแต่สำหรับจำเลยผู้รับโอนสิทธิครอบครองจากบุคคลดังกล่าวจะอ้างสิทธิครอบครองที่ได้รับโอนมาได้ก็แต่ราษฎรด้วยกันเองเท่านั้นแต่ในเรื่องที่ผู้ใดกระทำผิดกฎหมายหรือไม่สำหรับกรณีนี้นั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวหรือเหตุเฉพาะตัวของผู้กระทำจำเลยจะอ้างว่าได้รับโอนสิทธิและขาดเจตนาบุกรุกป่าสงวนเช่นกันหาได้ไม่เพราะเป็นการอ้างเหตุเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นผิดและเป็นการอ้างในลักษณะที่ว่าตนเองไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติห้ามไว้เช่นนั้นเมื่อปรากฏว่าที่ดินที่จำเลยซื้อได้มีกฎกระทรวงประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติเมื่อวันที่12มิถุนายน2529จำเลยเบิกความว่าได้ซื้อมาระหว่างปี2530ถึงปี2535จึงเป็นระยะเวลาที่รัฐประกาศให้ที่ดินดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วและจำเลยก็ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นป่าสงวนแห่งชาติการที่จำเลยอ้างว่าได้ก่นสร้างเฉพาะต้นไม้ที่ผู้ขายได้ปลูกไว้มิได้ทำลายป่าไม้ส่วนอื่นนั้นเห็นว่าต้นยางต้นมะม่วงและต้นมะพร้าวที่ผู้ขายปลูกไว้เป็นไม้ยืนต้นมีลักษณะติดตรึงตรากับที่ดินที่เป็นป่าเป็นส่วนควบกับที่ดินป่าจึงเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนการไปตัดทำลายก็เป็นการทำลายป่าสงวนแต่จะอย่างไรก็ตามการที่จำเลยยอมรับว่าได้เข้ายึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนดังกล่าวโดยการแสดงบอกกล่าวต่อเจ้าหน้าที่และแสดงหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่อันเป็นหลักฐานแสดงออกถึงการครอบครองที่ป่าสงวนดังกล่าวกรณีก็เป็นความผิดตามมาตรา14แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507แล้วเพราะบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวห้ามบุคคลใดเข้ายึดถือครอบครองป่าสงวนข้ออ้างของจำเลยจึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นผิดสำหรับข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยเกี่ยวกับพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484ที่ว่าจำเลยเป็นเพียงผู้ซื้อสิทธิครอบครองต่อจากราษฎรที่ยึดถือครอบครองอยู่ก่อนเท่านั้นมิได้กระทำการก่นสร้างแผ้วถางป่าหรือกระทำด้วยประการใดๆอันเป็นการทำลายป่านั้นเห็นว่าพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา54ก็ได้บัญญัติห้ามยึดถือครอบครองป่าเช่นกันฉะนั้นการที่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองป่าจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ดังกล่าวถึงแม้จำเลยจะมิได้กระทำการก่นสร้างทำลายป่าก็ตามเมื่อการที่รัฐประกาศเขตท้องที่ดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติก็มิได้กระทำให้ป่าส่วนนั้นหมดสภาพจากการเป็นป่าที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นป่าอยู่เช่นเดิมมิได้ทำให้การเป็นป่าอยู่แต่เดิมสิ้นสภาพไปการที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองจึงเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ดังกล่าวด้วยที่ศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507และมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484ชอบแล้ว

สำหรับฎีกาของจำเลยที่ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยนั้นเห็นว่าจำเลยเพียงเป็นผู้ซื้อสิทธิการครอบครองและเข้ายึดถือครอบครองป่าสงวนต่อจากบุคคลอื่นเมื่อเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบจำเลยก็ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงในการที่ได้ซื้อมาให้เจ้าหน้าที่ทราบพาไปดูเขตที่ดินแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อมาแสดงใบเสร็จการเสียภาษีแสดงหลักฐานคำร้องอ้างสิทธิการครอบครองของผู้ขายให้เจ้าหน้าที่ทราบเป็นการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่จำเลยเคยรับราชการครูขณะรับราชการได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณได้รับประกาศเกียรติคุณบัตรปรากฏตามภาพถ่ายท้ายฎีกาหมายเลข1ถึง3และรับราชการครูมาจนเกษียณอายุแสดงว่าจำเลยเป็นผู้ประพฤติดีมาตลอดการกระทำของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่จำเลยมิได้กระทำความผิดเพราะเหตุที่จำเลยมีสันดานเป็นผู้ร้ายเมื่อได้พิจารณาประกอบกับว่าจำเลยเป็นหญิงปัจจุบันอายุประมาณ66ปีและไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนด้วยแล้วกรณีมีเหตุสมควรให้จำเลยปรับตัวให้เข้ากับสังคมเป็นพลเมืองดีต่อไปที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ลงโทษจำคุกจำเลย9ปีหนักเกินไปสมควรกำหนดโทษให้เบาลงตามสมควรแก่โทษและรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น"

พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำคุก3ปีปรับ150,000บาทลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78หนึ่งในสามคงจำคุก2ปีปรับ100,000บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด3ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา56ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา29,30ให้คุมประพฤติจำเลยโดยให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควรไม่น้อยกว่า30ชั่วโมงภายในกำหนดเวลารอการลงโทษให้จำเลยไปติดต่อพนักงานคุมประพฤติเพื่อดำเนินการดังกล่าวภายในกำหนด30วันนับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกานอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3

(กอบเกียรติรัตนพานิช-สมมาตรพรหมานุกูล-ชลอบุณยเนตร)

หมายเหตุ

(1)สิทธิครอบครองซึ่งเป็นทรัพยสิทธิย่อมโอนกันได้โดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1378)เป็นวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้จึงเป็นทรัพย์สิน(มาตรา138)ย่อมซื้อขายกันได้(มาตรา453)โดยปกติถ้าเป็นทรัพย์สินโดยทั่วไปและเป็นสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์เพราะเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินฯลฯ(มาตรา139)การซื้อขายสิทธิครอบครองซึ่งเป็นนิติกรรมก็ย่อมต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา456มิฉะนั้นย่อมเป็นโมฆะ

(2)การส่งมอบสิทธิครอบครองก็คือการโอนการครอบครองซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเหมือนกันไม่เกี่ยวกับกฎหมายเป็นหน้าที่ของผู้ขายที่จะต้องส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ(มาตรา461)แต่การซื้อขายซึ่งเป็นนิติกรรมสัญญาเป็นบุคคลสิทธิเป็นคนละเรื่องกับการได้สิทธิครอบครองซึ่งเป็นทรัพยสิทธิแม้จะซื้อขายรับโอนส่งมอบกันมาแล้วซึ่งต้องหมายความว่าต้องเข้ายึดถือโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนจึงจะได้สิทธิครอบครอง(มาตรา1367)แต่ตอนหลังอาจไม่ได้ยึดถือโดยเจตนายึดถือเพื่อตนจึงไม่ได้สิทธิครอบครองก็ได้

(3)ตามคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้จำเลยได้สิทธิครอบครองที่ดินจากบุคคลภายนอกผู้ครอบครอง(หมายความว่าบุคคลภายนอกมีสิทธิครอบครองอยู่ก่อน)โดยวิธีซื้อแม้การซื้อขายสิทธิครอบครองที่พิพาทจะไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียน(สิทธิครอบครองป่าสงวนแห่งชาติเช่นกรณีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่คงไม่ยอมจดทะเบียนการซื้อขายให้แน่)แต่ในทางข้อเท็จจริงนั้นไม่เกี่ยวกับกฎหมายเมื่อจำเลยรับโอนการครอบครองมาโดยได้ยึดถือและเจตนาจะยึดถือเพื่อตน(หมายความว่าเพื่อประโยชน์ของตนไม่ต้องถึงขนาดมีเจตนาเป็นเจ้าของ)จำเลยจึงได้สิทธิครอบครอง
(4)ได้กล่าวในบันทึกท้ายคำพิพากษาศาลฎีกามาหลายฉบับแล้วว่าการได้สิทธิครอบครองเป็นข้อเท็จจริงที่บุคคลยึดถือโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนไม่เกี่ยวกับกฎหมายแม้จะผิดกฎหมายก็ยังอาจได้สิทธิครอบครอง(มาตรา1367)ครอบครองโดยไม่มีสิทธิครอบครองหามีไม่กรณีนี้เป็นสิทธิครอบครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย(การพูดดังนี้ไม่ได้พูดคลาดเคลื่อนหรือผิดหลักเกณฑ์)คดีนี้จำเลยยึดถือโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนจึงได้สิทธิครอบครอง(มาตรา1367)แม้กระนั้นจำเลยซึ่งทราบดีว่าที่ดินเป็นป่าสงวนแห่งชาติจึงมีเจตนาบุกรุกกระทำความผิดทางอาญาตามกฎหมาย2ฉบับดังที่ศาลฎีกาอ้างไว้แม้จำเลยจะมีสิทธิครอบครอง(ไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญาซึ่งเป็นอย่างเดียวกัน)ก็ตามแต่เมื่อถูกขับไล่จำต้องออกไปเมื่อใดก็ไม่มีสิทธิครอบครองเมื่อนั้นและไม่มีสิทธิที่จะได้คืนการครอบครอง(สิทธิครอบครอง)ตามมาตรา1375ด้วย
ไพจิตรปุญญพันธุ์
พ.ร.บ.ป่าไม้มาตรา54
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯมาตรา14

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-08-21 18:04:19



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล