ReadyPlanet.com


ฟ้องขับไล่


มีที่ดิน1แปลงมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ นส3ก.ที่ดินดังกล่าวรับมาโดยการไห้โดยเสน่หาจากพ่อแต่บนที่ดินนั้นได้ไห้พี่ชายอาศัยอยู่ เมื่อจะขอออกรางวัตเป็นโฉนดเขาคัดค้านว่าที่ดินแปลงนี่เป็นของตน ทำไห้ไม่สามารถออกโฉนดได้ชึ่งการฟ้องขับไล่คดีนี้ขึ้นถึงศาลฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาไห้เขามีสิทธิครอบครองเพื่อตน ไม่ทราบว่าเราจะสามารถขอออกโฉนดที่ดินแปลงนี้ได้ไหมคะ



ผู้ตั้งกระทู้ เบญจวรรณ :: วันที่ลงประกาศ 2012-07-02 23:24:04


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3345343)

คุณได้ต่อสู้มาถึง 3 ศาล และศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า พี่ชายแย่งการครอบครองไปแล้ว คุณเสียสิทธิครอบครองโดยคำพิพากษาของศาลฎีกาไปแล้วครับ คู่ความก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษาของศาลฎีกาครับ เมื่อคุณไม่มีสิทธิครอบครองก็ย่อมไม่มีสิทธิยื่นขอออกโฉนดที่ดินครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์0859604258 วันที่ตอบ 2012-09-19 10:05:20


ความคิดเห็นที่ 2 (3345344)

การฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินต้องฟ้องภายใน 1 ปี

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2012-09-19 10:08:06


ความคิดเห็นที่ 3 (3345387)

ที่ดิน น.ส. 3 ฟ้องขับไล่
ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าชายคาบ้านดังกล่าวอยู่ในที่ดินตามฟ้องแต่อยู่ในที่ดินของจำเลยเองและพิพากษายกฟ้อง จึงไม่ได้เป็นการวินิจฉัยว่าที่ดินตาม น.ส.3 ก. ที่โจทก์กล่าวอ้างเป็นของโจทก์หรือเป็นของจำเลย เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยและห้ามจำเลยคัดค้านการรังวัดที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินโดยอ้างว่าที่ดินตาม น.ส.3 ก. ดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งแปลง จึงเป็นประเด็นที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อน ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6086/2553

 
          คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนคดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างบ้านโดยมีชายคาและเสาค้ำชายคาล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทนี้ จำเลยให้การตอนแรกมีใจความสรุปว่า ที่ดินของจำเลยทางด้านทิศตะวันตกไม่ได้ติดกับที่ดินของโจทก์แต่ติดถน.ส.ธารณะ และให้การต่อมาว่าโจทก์ได้ที่ดินดังกล่าวมาโดยไม่ชอบไม่ทราบว่าขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ในที่ดินพิพาทได้อย่างไรเนื่องจากเป็นถน.ส.ธารณะ จำเลยสร้างบ้านซึ่งโจทก์อ้างว่ามีชายคารุกล้ำมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี โดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน สิทธิของจำเลยดีกว่าโจทก์ ขอให้ยกฟ้องจึงเท่ากับเป็นการอ้างว่าที่ดินตามฟ้องเป็นถน.ส.ธารณะ และจำเลยมีสิทธิในที่ดินในส่วนที่รุกล้ำดีกว่าโจทก์เท่านั้น มิได้หมายความว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่ใช่ของโจทก์ เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลมีคำวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าชายคาบ้านดังกล่าวอยู่ในที่ดินตามฟ้องแต่อยู่ในที่ดินของจำเลยเองและพิพากษายกฟ้อง จึงไม่ได้เป็นการวินิจฉัยว่าที่ดินตาม น.ส.3 ก. ที่โจทก์กล่าวอ้างเป็นของโจทก์หรือเป็นของจำเลย เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยและห้ามจำเลยคัดค้านการรังวัดที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินโดยอ้างว่าที่ดินตาม น.ส.3 ก. ดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งแปลง จึงเป็นประเด็นที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อน ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
 
________________________________
 
          โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 387 ตำบลชะแล้ อำเภอเมืองสงขลา (ปัจจุบันอำเภอสิงหนคร) จังหวัดสงขลา และห้ามจำเลยคัดค้านการรังวัดออกโฉนดในที่ดินดังกล่าวและให้จำเลยยินยอมในการรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออก หากจำเลยไม่ยินยอมรับรองแนวเขตให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย
          จำเลยให้การและฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องและขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองดีกว่าโจทก์ และเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 387 ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ห้ามโจทก์และบริวารเข้ามาเกี่ยวข้องหรือรบกวนในที่ดินพิพาทดังกล่าว
          โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องแย้ง
          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 387 ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท คำขออื่นให้ยกและให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนของฟ้องแย้งให้เป็นพับ
          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
          จำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีนี้ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 และ 248 ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดสงขลาว่า จำเลยปลูกสร้างบ้านโดยมีชายคารุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทคดีนี้ ต่อมาศาลจังหวัดสงขลาพิพากษายกฟ้องตามคดีหมายเลขแดงที่ 2284/2545 ของศาลจังหวัดสงขลาและคดีถึงที่สุดแล้ว มีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 2284/2545 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างบ้านโดยมีชายคาและเสาค้ำชายคาล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทนี้ จำเลยให้การในตอนแรกมีใจความโดยสรุปว่า ที่ดินของจำเลยทางด้านทิศตะวันตกไม่ได้ติดกับที่ดินของโจทก์แต่ติดถน.ส.ธารณะ และให้การในตอนต่อมาว่าโจทก์ได้ที่ดินดังกล่าวโดยไม่ชอบ เนื่องจากเมื่อปี 2521 ที่ทางราชการได้ออกประกาศเดินสำรวจเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งตำบล จำเลยไม่ทราบเรื่องเพราะขณะนั้นจำเลยไปอยู่ที่อื่น จึงไม่ได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจำเลยไม่ทราบว่าโจทก์ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้อย่างไรเนื่องจากเป็นถน.ส.ธารณะ จำเลยได้สร้างบ้านซึ่งโจทก์อ้างว่ามีชายคารุกล้ำมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี โดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน สิทธิของจำเลยจึงดีกว่าโจทก์ ขอให้ยกฟ้องตามคำให้การของจำเลยในคดีดังกล่าวจึงเท่ากับเป็นการอ้างว่าที่ดินตามฟ้องเป็นถน.ส.ธารณะ และจำเลยมีสิทธิในที่ดินในส่วนที่รุกล้ำดีกว่าโจทก์เท่านั้น มิได้มีความหมายว่าจำเลยให้การต่อสู้ไว้แจ้งชัดว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยกล่าวอ้างในฎีกา และคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลมีคำวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าชายคาบ้านดังกล่าวอยู่ในที่ดินตามฟ้องแต่อยู่ในที่ดินของจำเลยเองและพิพากษายกฟ้องจึงไม่ได้เป็นการวินิจฉัยว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 387 ที่โจทก์กล่าวอ้างนั้นเป็นของโจทก์หรือเป็นของจำเลยเอง เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยและห้ามจำเลยคัดค้านการรังวัดที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินโดยอ้างว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งแปลง จึงเป็นประเด็นที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น”
          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 
 
( ทัศนีย์ ธรรมเกณฑ์ - นพวรรณ อินทรัมพรรย์ - ไชยยงค์ คงจันทร์ )
 
 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2012-09-19 15:27:56


ความคิดเห็นที่ 4 (3348698)

มีที่ดิน1แปลงเป็น สปก 4-01 ชื่อของสามี แต่ยกให้ภรรยาด้วยปากเปล่า ต่อมาใด้เลิกกันภรรยาก็ไปมาสามีใหม่แล้วสามีมีที่เป็นเจ้าขอที่ดินใด้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าว แต่เมื่อภรรยาทราบจึงแจ้งความฟ้องร้องสามีเพื่อจะเอาที่ดินคืน พร้อมค่าเสียหายจำนวน 50000บาท คนที่ซื้อที่ดินไปจะต้องทำอย่างไรครับ และใครจะเป็นคนจ่ายค่าเสียหาย

ผู้แสดงความคิดเห็น somjai (jai_9491-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-24 16:22:08


ความคิดเห็นที่ 5 (3348787)

ที่ดิน สปก 4-01 ห้ามจำหน่าย จ่าย โอน ซื้อ ขาย การซื้อขายจึงเป็นโมฆะ คนที่ซื้อที่ดินไม่ต้องทำอะไรเลย หากมีการครอบครองที่ดินอยู่ก็ให้รอหมายศาลจนกว่าศาลจะมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเสียก่อน และเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ให้มายังไม่ทราบว่าใครเป็นคนครอบครองที่ดิน แล้วเวลาซื้อได้เข้าไปดูที่ดินหรือไม่ และในเอกสารการแสดงสิทธิครองครองระบุห้ามโอน คนซื้อได้ดูหรือไม่

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์0859604258 วันที่ตอบ 2012-10-25 12:08:32



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล