ReadyPlanet.com


อดีตสามีรู้ว่าเราเอาเด็กออกเขาจะฟ้องร้องได้หรือไม่


แต่งงานกับแฟนแล้วจดทะเบียนสมรส  แต่เกิดปัญหาทะเลาะกันรุนแรงบ่อยครั้ง อยู่บ้านก็ไม่ให้ไปไหน  เลยตัดสินใจแยกออกมาอยู่ต่างหาก แต่ตอนนั้นกำลังท้องอยู่  เลยตัดสินใจเอาเด็กออก  พออยู่มานานมากแล้วเขารู้ว่าเราเอาเด็กออกเขาจะฟ้องร้องได้หรือไม่  และจะหย่ากันได้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ คนคิดมาก :: วันที่ลงประกาศ 2013-11-08 21:04:38


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3380606)

ความผิดฐานยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี อายุความในการฟ้องร้องคดีอาญา คือ 10 ปี คำถามว่าอดีตสามีจะฟ้องได้หรือไม่  กรณีหากมีพยานหลักฐานสามีก็สามารถแจ้งความร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนหาผู้กระทำความผิดทางอาญาต่อคุณได้ภายใน 10 ปีครับ


มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิด มายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอัน ขาดอายุความ
(1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึง หนึ่งปี
(5) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น

ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกันมาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ

มาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ

มาตรา 302 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 303 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาท ถึงสี่หมื่นบาท

มาตรา 304 ผู้ใดเพียงแต่พยายามกระทำความผิดตาม มาตรา 301 หรือ มาตรา 302 วรรคแรก ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

มาตรา 305 ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวใน มาตรา 301 และ มาตรา 302 นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์และ
(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ
(2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283 หรือ มาตรา 284
ผู้กระทำไม่มีความผิด

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 วันที่ตอบ 2013-11-21 16:12:07


ความคิดเห็นที่ 2 (3380608)

ความผิดฐานทำให้แท้งลูก
 
                ความผิดฐานทำให้แท้งลูก บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองทารกในครรภ์มารดาและมารดาและมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับความผิดฐานฆ่าผู้อื่น อย่างไรก็ดีมีข้อยกเว้นที่เป็นบทบัญญัติคุ้มครองหญิงมารดาด้วยในกรณีที่การทำแท้งนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นหรือถึงตาย กับกรณีจำเป็นต้องทำแท้งเพื่อสุขภาพของหญิงนั้นหรือหญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาฐานข่มขืนกระทำชำเราหรือฐานจัดหาหรือพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและเป็นการกระทำของแพทย์ ความผิดฐานนี้กฎหมายเอาผิดตั้งแต่หญิงที่ทำแท้ง ความรับผิดของผู้อื่นในกรณีหญิงยินยอมให้ทำแท้ง  ความรับผิดของผู้อื่นในกรณีหญิงไม่ยินยอมให้ทำแท้ง การทำแท้งที่ไม่ต้องรับโทษ และการทำแท้งโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป
 
1. ความรับผิดของหญิงที่ทำแท้ง มาตรา 301 บัญญัติไว้ว่า หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
 
องค์ประกอบภายนอก
 
1. หญิงใด

2. ทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก
 
องค์ประกอบภายใน
 
เจตนา
 
                มาตรานี้เป็นบทลงโทษหญิง ซึ่งกระทำแก่ตนเอง หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำแก่หญิงนั้น คำว่า ทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก สามารถแยกพิจารณาได้เป็น 4 กรณีคือ
 
1. หญิงทำให้ตนเองแท้งลูก หมายความว่า หญิงกระทำแก่ตนเองให้แท้งลูกไม่ได้อาศัยผู้อื่นหรือร่วมกับผู้อื่นในการทำแท้ง  ตัวอย่างเช่น นาง ก. ร่วมกับนาย ข. ทำให้นาง ก. แท้งลูก ดังนี้ นาง ก. มีความผิดตามมาตรา 301 แต่นาย ข.มีความผิดตามมาตรา 302 นาย ข. (ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดในคราวต่อไป)
 
2. หญิงยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนเองแท้งลูก หมายความว่า หญิงสมัครใจให้ทำแก่ตนเอง ไม่ใช่ถูกบังคับขู่เข็ญใช้กำลังประทุษร้าย หรือถูกหลอกลวงหรือทำให้สำคัญผิดในสภาพของการกระทำ เช่น แพทย์หลอกหญิงมีครรภ์ให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำอย่างอื่น ที่มิใช่ทำแท้ง
 
3. ความหมายของการทำให้แท้งลูก ตามประมวลกฎหมายอาญา คือ การทำลายชีวิตของทารก ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิไปจนถึงคลอดออกมาแล้วแต่ก่อนมีชีวิตอยู่รอดเป็นทารก หรือเป็นความผิดฐานฆ่าทารกในครรภ์มารดาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ ไปจนถึงคลอดออกมาแล้วแต่ก่อนมีชีวิตอยู่รอดเป็นทารก ตัวอย่างเช่น นางก มีครรภ์ 8 เดือน นาย ข. สามีไปหานักพยากรณ์ดูดวงชะตาเด็กแล้วบอกว่าดวงชะตาเด็กแรง ต้องทำคลอดก่อนกำหนด ถ้ารอให้คลอดเมื่อถึงกำหนดตามปกติ เด็กอาจจะตาย นาย ข. จึงให้แพทย์ผ่าเอาเด็กออกมา เด็กออกมามีชีวิตอยู่ 1 ชั่วโมงจึงตาย  ดังนี้นาย ข. หรือแพทย์ไม่มีความผิดฐานทำให้แท้งลูก
 
4. วิธีการทำแท้งและผล  ความผิดฐานนี้เป็นความผิดที่เกิดขึ้นโดยการกระทำ ไม่ใช่ความผิดที่เกิดขึ้นโดยการละเว้น เช่น เจตนาให้ลูกในครรภ์แท้งแต่ไม่ทำอะไรเลย ยังไม่เป็นความผิดฐานทำให้แท้งลูก อย่างไรก็ดี มาตรา 59 วรรคท้าย ให้ความหมายของการกระทำว่ารวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย หมายความว่า หญิงมีครรภ์มีหน้าที่ในฐานะเป็นมารดาจักต้องกระทำเพื่อป้องกันมิให้มีการแท้งลูก แต่งดเว้นไม่กระทำ ทำให้เกิดแท้งลูก ตัวอย่างเช่น หญิงต้องการทำแท้งและทราบว่าการนั่งบนหลังม้าที่วิ่งเร็ว ๆ และบนทางขรุขระทำให้แท้งลูกได้ เมื่อมีผู้ชักชวนจึงขึ้นขี่บนหลังม้าให้พาวิ่งไป ไม่ป้องกันผลคือลูกในท้องตาย และเป็นเหตุให้แท้งลูก หญิงจึงมีความผิดตามกฎหมาย เป็นต้น
 
แหล่งข้อมูล
http://base.bcnpy.ac.th/elearning/laws/C005.htm
 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2013-11-21 16:13:58



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล