ReadyPlanet.com


การแบ่งมรดก


กรณีที่บิดาได้มีภรรยาอีกคน(โดยไม่จดทะเบียนกัน)และมีบุตรด้วยกัน 1 คนแต่บุตรไม่ได้ใช้นามสกุลบิดาแต่เปิดเผยกับสาธารณะชนว่าเป็นบุตรหลังจากภรรยาคนแรก(ซึ่งจดทะเบียนสมรสกันมีบุตรด้วยกัน 3 คนและใช้นามสกุลบิดาทั้งหมด)เสียชีวิตเป็นเวลา10 ปีแล้ว และต่อมาบิดาก็ได้เสียชีวิตลงโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้และมีหนี้สินอยู่ด้วย โดยมีบุตรจากภรรยคนแรกร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก  คำถามคือ

 1.บุตรที่เกิดจากภรรยาคนแรกมีสิทธิในมรดกมากกว่าหรือไม่

2. บิดามีที่ดินที่ได้รับจากย่าระหว่างที่สมรสแล้วอยากทราบว่าบุตรของภรรยาคนแรกสามารถขอให้ศาลแบ่งเป็นสินสมรสของมารดาได้หรือไม่(เพื่อจะได้เหลือส่วนของบิดาเพื่อแบ่งกัน 4 คน)

3. การร้องเป็นผู้จัดการมรดกของบิดาทางผู้ร้องมิได้แจ้งว่ามีบุตรอีก 1 คนที่เกิดจากภรรยาน้อยว่าเป็นบุตรในการยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จ้ดการมรดกและต่อมาภรรยาอีกคนได้มาขอคัดค้านและขอเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรอีกคนในการขอเป็นผู้จัดการมรดกสามารถทำได้หรือไม่  โดยอ้างว่าผู้จัดการมรดกคนเดิมมิยอมแบ่งทรัพย์สินให้กับบุตรเสียที (ซึ่งตามที่ตกลงกันไว้คือของใช้หนี้สินทั้งหมดเสียก่อนโดยการขายที่ 1 แปลงเพื่อนำเงินไปใช้หนี้) และถ้าบุตรอีก 3 คนไม่ยินยอมให้บุตรทีเกิดจากภรรยาอีกคนเป็นผู้จัดการมรดกจะสามารถทำได้หรือไม่

4.ถ้าทางบุตรทั้ง 3 คนจะเรียกร้องค่าเสียหายกับภรรยาอีกคนในกรณีที่ทำให้ภรรยาคนแรกตอมใจจะทำได้หรือไม่(ซึ่งทางบุตรและภรรยาคนแรกทราบว่าบิดามีภรรยาอีกคนแต่ไม่มีใครคัดค้าน)

 



ผู้ตั้งกระทู้ kimsim :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-04 11:12:51


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3283235)

 1.บุตรที่เกิดจากภรรยาคนแรกมีสิทธิในมรดกมากกว่าหรือไม่

ตอบ-- ได้เท่ากันครับ

มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

2. บิดามีที่ดินที่ได้รับจากย่าระหว่างที่สมรสแล้วอยากทราบว่าบุตรของภรรยาคนแรกสามารถขอให้ศาลแบ่งเป็นสินสมรสของมารดาได้หรือไม่(เพื่อจะได้เหลือส่วนของบิดาเพื่อแบ่งกัน 4 คน)

ตอบ-- ย่ายกที่ดินให้พ่อโดยเสน่หา จึงไม่ใช่สินสมรส เมื่อไม่ใช่สินสมรส ภรรยาชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์สินของสามีคู่สมรส

มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
 

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

 3. การร้องเป็นผู้จัดการมรดกของบิดาทางผู้ร้องมิได้แจ้งว่ามีบุตรอีก 1 คนที่เกิดจากภรรยาน้อยว่าเป็นบุตรในการยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จ้ดการมรดกและต่อมาภรรยาอีกคนได้มาขอคัดค้านและขอเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรอีกคนในการขอเป็นผู้จัดการมรดกสามารถทำได้หรือไม่  โดยอ้างว่าผู้จัดการมรดกคนเดิมมิยอมแบ่งทรัพย์สินให้กับบุตรเสียที (ซึ่งตามที่ตกลงกันไว้คือของใช้หนี้สินทั้งหมดเสียก่อนโดยการขายที่ 1 แปลงเพื่อนำเงินไปใช้หนี้) และถ้าบุตรอีก 3 คนไม่ยินยอมให้บุตรทีเกิดจากภรรยาอีกคนเป็นผู้จัดการมรดกจะสามารถทำได้หรือไม่

ตอบ-คัดค้านในเวลาที่กฎหมายกำหนด (ศาลยังไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดก) สามารถทำได้ครับ หน้าที่ของผู้จัดการมรดกคือแบ่งมรดกและจัดการทรัพย์สินของเจ้ามรดก ส่วนจะไม่ยินยอมให้บุตรที่เกิดจากเมียน้อยเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่ก็อยู่ที่เงื่อนไขว่า ศาลได้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกไปแล้วย่อมพ้นระยะเวลาคัดค้านแล้ว หรือบุตรเมียน้อยอายุยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์

4.ถ้าทางบุตรทั้ง 3 คนจะเรียกร้องค่าเสียหายกับภรรยาอีกคนในกรณีที่ทำให้ภรรยาคนแรกตอมใจจะทำได้หรือไม่(ซึ่งทางบุตรและภรรยาคนแรกทราบว่าบิดามีภรรยาอีกคนแต่ไม่มีใครคัดค้าน)

ตอบ-- ไม่ได้ครับ ลักษณะตอมใจกฎหมายไม่รับรองให้เรียกค่าเสียหายได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-04 16:54:25



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล