ReadyPlanet.com


สิทธิ์ในตัวเด็ก


น้องสาวอยู่กินกับสามี โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีลูกสาวด้วยกัน 1 คน (ตอนนี้อายุ 8 ขวบ) แล้วส่งให้ตากับยายเลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดที่ต่างจังหวัด ในการแจ้งเกิดพ่อของเด็กเป็นคนไปแจ้งเกิดโดยใส่ชื่อเขาเองในช่องบิดา และให้เด็กใช้นามสกุลของพ่อเขา ต่อมาน้องสาวกับสามีเลิกกัน (ทั้งคู่อยู่กรุงเทพฯ) พอเลิกกันประมาณครึ่งปีน้องสาวเสียชีวิตจากอบุติเหตุ ต้องดำเนินเรื่องในศาลจึงให้ตาไปร้องขอเป็นผู้ปกครองของเด็ก และศาลเยาวชนและครอบครัวที่ต่างจังหวัดอนุญาตเป็นคำพิพากษาแล้ว อยากถามว่า

1. ตากับยายไปขอเปลี่ยนนามสกุลหลานมาใช้ของตนได้ไหม (เพราะตอนนี้เป็นนามสกุลพ่อเขาอยู่) หรือใช้ไปอย่างนี้ก่อน รอหลานอายุครบ 20 ปีค่อยให้ไปเปลี่ยนเอง

2. พ่อของเด็กมีสิทธิ์ใดๆ ในตัวเด็กหรือไม่

3. ญาติของพ่อเด็กบอกว่าเขาจะฟ้องเอาเด็กไปวันใดก็ได้เพราะเด็กใช้นามสกุลเขาอยู่ จริงหรือไม่ (ทั้งๆ ที่เขาไม่เคยช่วยเลี้ยงดูเลยตั้งแต่เด็กเกิดมา)

4. ในฐานะที่เราเป็นป้า เราจะรับหลานเป็นลูกบุญธรรมได้ไหม (ตัวเองยังไม่มีลูก) เพราะรักหลานมากมีหลานอยู่คนเดียว

 



ผู้ตั้งกระทู้ ทัศนีย์ :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-08 13:18:56


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3283814)

1. ตากับยายไปขอเปลี่ยนนามสกุลหลานมาใช้ของตนได้ไหม (เพราะตอนนี้เป็นนามสกุลพ่อเขาอยู่) หรือใช้ไปอย่างนี้ก่อน รอหลานอายุครบ 20 ปีค่อยให้ไปเปลี่ยนเอง

ตอบ---การเปลี่ยนนามสกุลของเด็กไม่ก่อให้เกิดสิทธิอย่างใดเพิ่มเติมขึ้นมา และไม่อาจทำให้สิทธิที่เคยมีอยู่ลดน้อยลงไป ขอเรียนตามตรงว่า การที่ให้พ่อลูกเขายังคงความสัมพันธ์กันอยู่อย่างนั้นน่าจะเป็นผลดีกับเด็กมากกว่าครับ อย่างน้อยในวันใดข้างหน้าพ่อของเขามีธุรกิจรุ่งเรื่องมีเงินหลาย 10 ล้านและเกิดมีลูกใหม่กับภรรยาใหม่และพ่อเขาเสียชีวิตลงจะได้อ้างสิทธิขอรับมรดกง่ายขึ้นไม่ต้องไปพิสูจน์ความเป็นมามากนัก

2. พ่อของเด็กมีสิทธิ์ใดๆ ในตัวเด็กหรือไม่

ตอบ--- เขาเป็นบิดาโดยสายเลือด และเอกสารก็แสดงอยู่ถึงความสัมพันธ์ในฐานะบิดาผู้ให้กำเนิด ดังนั้นหากเขาอยากเอาลูกเขาไปเลี้ยงหรือเรียกร้องดูแลบ้าง เขามีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรได้ และศาลก็จะอนุญาตให้เป็นบิดาแน่นอน เพราะศาลถือว่านั่นเป็นประโยชน์กับเด็ก จริงอยู่คุณมีในฐานะป้า เลี้ยงดูเด็กมาตลอดย่อมมีความรักและความผูกพันเป็นเรื่องธรรมดาและธรรมชาติของมนุษย์ แต่ศาลจะไม่มองว่าการที่เด็กมีบิดาโดยสายเลือดมาขอจดทะเบียนเพื่อให้เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจะเป็นผลร้ายกับเด็ก ดีเสียอีกเขาจะได้มีญาติพี่น้องฝ่ายบิดาของเขาเพิ่มขึ้นมาอีก ขอให้คุณป้าเปิดใจให้กว้างเพื่อประโยชน์ของเด็ก ขอให้ทำใจเพื่อแยกแยะความรักเด็กกับโอกาสของเด็กให้ขาดจากกัน ช่วยกันเลี้ยงช่วยกันดูแลดีกว่าครับ

3. ญาติของพ่อเด็กบอกว่าเขาจะฟ้องเอาเด็กไปวันใดก็ได้เพราะเด็กใช้นามสกุลเขาอยู่ จริงหรือไม่ (ทั้งๆ ที่เขาไม่เคยช่วยเลี้ยงดูเลยตั้งแต่เด็กเกิดมา)

ตอบ--- จริง ๆ ก็ถูกของเขาครับ ก็ตามคำตอบข้อ 2 ซึ่งได้อธิบายไว้พอเข้าใจแล้ว ว่าเมื่อเขาเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายแล้ว กฎหมายให้สิทธิบิดาชอบด้วยกฎหมายกำหนดที่อยู่ของเด็กได้ และประเด็นที่สำคัญที่อยากให้เข้าใจก็คือ เด็กจะใช้นามสกุลของใครก็ไม่ทำให้ความสัมพันธ์แตกต่างไป เพราะเด็กมีสูติบัตร จึงมีเลข 13 หลักแสดงเลขบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว ไม่ว่าจะเปลี่ยนชื่อหรือสกุลใหม่เป็นอย่างไร ก็สามารถสืบค้นติดตามได้อยู่ดีครับ ส่วนเรื่องที่ว่าเขาไม่เคยช่วยเลี้ยงดูเลยตั้งแต่แรกเกิดนั้นเป็นคนละประเด็นเพราะในขณะนี้เขาเป็นบิดานอกกฎหมายอยู่ เขายังไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดู (เน้นว่าตามกฎหมาย) และเขาจะมาเรียกร้องเอาบุตรของเขาตอนนี้โดยไม่มีคำสั่งศาลก็ยังไม่ได้เช่นกัน

4. ในฐานะที่เราเป็นป้า เราจะรับหลานเป็นลูกบุญธรรมได้ไหม (ตัวเองยังไม่มีลูก) เพราะรักหลานมากมีหลานอยู่คนเดียว

ตอบ---รับเป็นบุตรบุญธรรมได้ แต่คงต้องไปติดต่อกับอัยการเพื่อร้องขอต่อศาลเพื่อให้ความยินยอมแทนมารดาที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่ถ้าศาลมีคำสั่งว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต้องได้รับความยินยอมจากบิดาเขาก่อน ซึ่งคุณก็พอเดาได้ว่าเขาจะยินยอมง่าย ๆ หรือไม่??

มาตรา 1598/21 การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมจะกระทำได้ ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดาและมารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง ต้องได้รับความยินยอมของมารดาหรือบิดาซึ่งยังมีอำนาจปกครอง
 

ถ้าไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอมดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หรือมีแต่บิดา หรือมารดาคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคน ไม่สามารถแสดงเจตนาให้ ความยินยอมได้ หรือไม่ให้ความยินยอมนั้นปราศจากเหตุผลอันสมควร และเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขภาพความเจริญหรือสวัสดิภาพของผู้เยาว์ มารดาหรือบิดาหรือผู้ประสงค์ขอรับบุตรบุญธรรมหรืออัยการจะร้องขอ ต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอม

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-09 00:04:03



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล