ReadyPlanet.com


ฟ้องผิดสัญญาหมั่น


ดิฉันขอเรียนถามท่านทนายว่า ดิฉันได้หมั่นกับผู้ชายคนหนึ่ง วันที่หมั่นเขาได้มอบสร้อยหนึ่งบาทแต่ค่าสินสอดไม่ได้มอบแต่ตกลงกันคือแสนห้าหมื่นห้าพันเก้าสิบเก้าบาท ตกลงกันว่าจะแต่งเดือนหก แล้วเมื่อเดือนที่ผ่านมาเขาบอกว่าจะไม่แต่งเพราะไม่พร้อมขอเลื่อนออกไปก่อน

ถ้าดิฉันจะเรียกร้องค่าทดแทนความเสียหายต่อร่างกายและชื่อเสียงควรเรียกร้องหลังเดือนหกไปหรือเปล่า? และถ้าเรียกร้องค่าทดแทนเป็นจำนวนเงินหนึ่งแสนบาทศาลจะพิจารณาหรือเปล่า? และนอกจากค่าทดแทนที่ดิฉันเรียกร้องค่าสินสอดที่ตกลงกันว่าเขาจะให้แสนห้าดิฉันมีสิทธิ์เรียกร้องจากเขาได้ไหม? และถ้าศาลตัดสินให้เขาจ่ายแต่เขายืนยันว่าไม่มีไม่จ่าย หรือถ้าจ่ายจะจ่ายเพียงเดือนละไม่กี่ร้อยอย่างนี้เขาสามารถทำได้ไหม? รบกวนช่วยตอบคำถามด้วยนะคะเพื่อประโยชน์ในการฟ้องต่อไป   ขอบคุณคะ



ผู้ตั้งกระทู้ pukka :: วันที่ลงประกาศ 2012-01-28 00:00:00


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3328120)

ตกลงกันว่าจะแต่งเดือนหก ชายคู่หมั้นจะผิดสัญญาหมั้นก็ควรจะถึงเวลานัดหมายตามสัญญาหมั้นเสียก่อน แม้ฝ่ายชายจะบอกล่วงหน้าก่อนถึงวันนัดจึงยังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะคำพูดว่า "ขอเลื่อนไปก่อน" ไม่ได้บอกว่าไม่ต้องการสมรสด้วยจึงน่าจะรอให้ถึงวันนัดก่อนครับ

ในเรื่องค่าทดแทนความเสียหายแก่กายหรือชื่อเสียงนั้นเป็นอำนาจของศาลที่จะชี้ขาด การเรียกค่าเสียหายต้องดูฐานานุรูปของผู้เรียกและผู้ถูกเรียก จำนวนเงินที่คุณเรียก 100,000 บาท ผมเห็นว่าเหมาะสมแล้ว ส่วนศาลจะพิจารณาอย่างไร ก็แล้วแต่ศาล

สำหรับค่าสินสอดนั้นเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้กับบิดามารดาฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการสมรส เมื่อไม่มีการสมรสเกิดขึ้นจึงไม่มีเหตุจะเรียกสินสอดได้ ดังนั้นจึงเรียกได้เฉพาะค่าเสียหาย แต่ไม่สามารถเรียกค่าสินสอดได้ครับ

สำหรับเรื่องที่เขาไม่มีเงินจ่ายตามคำพิพากษาเป็นเรื่องการบังคับคดีซึ่งคุณในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดได้ภายใน 10 ปี นับแต่คดีถึงที่สุด ดังนั้นในเรื่องการบังคับคดีน่าจะข้ามไปก่อน ขอให้ศาลมีคำพิพากษาตั้งสิทธิของคุณเสียก่อน หลังจากนั้นค่อยคิดเรื่องการบังคับคดีครับ

มาตรา 1439 เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญา หมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย

มาตรา 1440 ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคล ผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่อง ในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส


ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่าของหมั้นที่ ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมด หรือเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึง ของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้

สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่ง ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-03-07 18:24:48



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล