ReadyPlanet.com


ถูกแจ้งจับคดีพรากผูเเยาว์


น้องชายถูกแจังจับคดีพรากผู้เยาว์ คือผู้หญิงอายุ 17 ปี น้องชายอายุ 27 ปี คือน้องชายทำงานที่ต่างจังหวัดแล้วรู้จักกันซึ่งช่วงแรกพ่อกับแม่ของฝ่ายหญิงก็เห็นว่าลูกสาวตัวเองไปมาหาสู่กับน้องชายอยู่ช่วงหนึ่ง ประมาณ 2 เดือน จากนั้นหญิงก็มาบอกน้องชายให้พ่อกับแม่มาคุยว่าจะเอายังไง เพราะเขาบอกว่ามันผิดผีของเขา โดยให้เวลา 3 เดือน น้องชายโทรมาบอกพ่อกับแม่ แต่ว่าเวลาผ่านไปแค่ 2 วันเท่านั้น ทางฝ่ายพ่อของผู้หญิงก็แจ้งความจับน้องชาย โดยแจ้งขอหาพรากผู้เยาว์ และกักขัง  ทั้งที่เป็นฝ่ายผู้หญิงมาหาผู้ชายเอง (ที่พักของน้องชายและบ้านของฝ่ายหญิงอยู่ใกล้กัน) และมีพยายาน และไม่ได้กักขังอะไร

พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหาย 100,000 บาท  แต่ว่าฝ่ายหญิงให้ความว่าน้องชายไม่ได้บังคับขืนใจแต่สมย่อมเองและไม่ได้กักขังตน ซึ่งการแจ้งความเป็นพ่อฝ่ายหญิงแจ้งความ ซึ่งแม่ของฝ่ายหญิงเพียงอยากให้ทางเรามาคุยกันให้ถูกต้องเท่านั้นไม่ได้ต้องการให้จับน้องชาย

 และเมื่อทางเราโทรไปคุยกับพ่อของฝ่ายหญิงก็จะเอาแต่เงินอย่างเดียว ไม่เอาน้องชายไม่ให้รับผิดชอบลูกสาวทั้งที่แม่และลูกสาวต้องการให้รับผิดชอบ อย่างนี้ก็มีด้วยเหรอคะพ่อแบบนี้ ทั้งที่ลูกสาวก็บอกว่ารักน้องชายมากไม่ได้ต้องการให้เป็นแบบนี้ และเราก็ยังไม่ได้บอกว่าเราจะไม่รับผิดชอบเลย

ข้อสงสัยคือ

1. การแจ้งความลงบันทึกประจำวันไปแล้วสามารถไกล่เกลี่ยได้แล้วสามารถถอนแจ้งความได้ไหม

2. การแจ้งความในกรณีกักขังหน่วงเหนียวซึ่งไม่ได้เป็นไปตามข้อเท็จจริงถือเป็นการแจ้งความเท็จไหมค่ะ

( ในกรณีที่ผู้หญิงให้ความว่าฝ่ายชายไม่ได้กักขังหน่วงเหนียว)

3. เท่าที่รู้มาการพรากผู้เยาว์เป็นคดีอาญา ไม่สามารถถอนแจ้งความได้ ถึงแม้ว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะคุยกันได้และรับผิดชอบฝ่ายหญิง แล้วน้องชายต้องติดคุกไหมค่ะ ถ้าไม่สามารถถอนแจ้งความได้

4. ปรกติตำรวจจะสอบปากคำของฝ่ายหญิงที่มีอายุเพียง 17 ปี ไหมค่ะ หรือว่าจะฟังแต่พ่อกับแม่เท่านั้น

5. มีอะไรบ้างที่ทางเราสามารถช่วยน้องชายได้ และไม่ให้เสียเปรียบกับคำว่าพรากผู้เยาว์ ขอคำแนะนำค่ะ

อาจจะเล่ายาวมากไป แต่ก็อยากขอปรึกษาและคำแนะนำที่ชัดเจน

ขอบมากค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ พี่สาว :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-26 23:03:56


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3286066)

1. การแจ้งความลงบันทึกประจำวันไปแล้วสามารถไกล่เกลี่ยได้แล้วสามารถถอนแจ้งความได้ไหม

ตอบ-   ในความผิดฐานพรากผู้เยาว์เป็นความผิดต่อแผ่นดินไม่สามารถยอมความกันได้ จึงไม่อาจถอนแจ้งความรุกทุกข์

2. การแจ้งความในกรณีกักขังหน่วงเหนียวซึ่งไม่ได้เป็นไปตามข้อเท็จจริงถือเป็นการแจ้งความเท็จไหมค่ะ

ตอบ-- ถ้าไม่เป็นความจริงก็เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จได้ครับ

( ในกรณีที่ผู้หญิงให้ความว่าฝ่ายชายไม่ได้กักขังหน่วงเหนียว)
ตอบ--  ข้อเท็จจริงตรงนี้ต้องชัดเจนด้วยเพราะในชั้นพิจารณาคดี ผู้หญิงกลัวว่าพ่อเขาจะมีโทษอาญา อาจกลับคำให้การก็ได้ คือต้องคิดไว้ในทางลบด้วย

3. เท่าที่รู้มาการพรากผู้เยาว์เป็นคดีอาญา ไม่สามารถถอนแจ้งความได้ ถึงแม้ว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะคุยกันได้และรับผิดชอบฝ่ายหญิง แล้วน้องชายต้องติดคุกไหมค่ะ ถ้าไม่สามารถถอนแจ้งความได้

ตอบ-- ถ้าไม่มีเหตุบรรเทาโทษ ก็คงต้องติดคุกเพราะคดีพรากผู้เยาว์เป็นความผิดที่กฎหมายกำหนดโทษจำคุกไว้และก็ถือว่าแรงพอสมควรเมื่อเปรียบเทียบกับคดีอื่น ๆ เพราะที่ผ่านมาคนทั่วไปไม่คำนึงถึงความผิดฐานนี้กันเท่าไหร่เพราะเหตุไม่เข้าใจกฎหมายเท่าที่ควรโดยคิดเอาว่าฝ่ายหญิงเต็มใจมาหาเอง

4. ปรกติตำรวจจะสอบปากคำของฝ่ายหญิงที่มีอายุเพียง 17 ปี ไหมค่ะ หรือว่าจะฟังแต่พ่อกับแม่เท่านั้น

ตอบ-- ก็จะสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน และน้องเองก็เป็นผู้เสียหายในคดีกระทำอนาจารกับหญิงอายุยังไม่เกิน 18 ปีด้วย แต่เป็นความผิดอันยอมความได้ คือถอนคำร้องทุกข์ได้

                  มาตรา 283ทวิ ผู้ใดพาบุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี ไปเพื่อการอนาจาร แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
            (วรรคสอง)ถ้าการกระทำความผิดตาม วรรคแรกเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
       (วรรคสาม)ผู้ใดซ่อนเร้นบุคคลซึ่งถูกพา ไปตามวรรคแรกหรือวรรคสอง ต้องระวาง โทษตามที่บัญญัติในวรรคแรกหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี
(วรรคสี่)ความผิดตามวรรคแรกและ วรรคสามเฉพาะกรณีที่กระทำแก่บุคคลอายุ เกินสิบห้าปี เป็นความผิดอันยอมความได้

5. มีอะไรบ้างที่ทางเราสามารถช่วยน้องชายได้ และไม่ให้เสียเปรียบกับคำว่าพรากผู้เยาว์

ตอบ-- คงตอบยากนะครับ เพราะตามพฤติการณ์ที่เล่ามานั้น แม้ผู้หญิงมาหาเอง แต่ถ้าได้ความว่ามีการนัดแนะกันย่อมเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์แล้ว ในเรื่องนี้ข้อเท็จจริงตรงนี้เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากันในทางคดี ส่วนเรื่องกักขังหน่วงเหนี่ยวก็คงไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับน้องผู้หญิงว่าจะให้การเป็นประโยชน์กับฝ่ายเราหรือฝ่ายพ่อเขา ถ้าเป็นเราคงไม่อยากให้พ่อเดือดร้อนเพราะมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ (อะไรก็เกิดขึ้นได้)

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-27 10:58:09


ความคิดเห็นที่ 2 (3286068)

การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ก็เป็นความผิดแล้ว แม้เด็กจะยินยอมก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กนั้นมีส่วนร่วมกระทำความผิดด้วยโดยมีผลถึงการเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยก็หาไม่ ดังนั้นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจจัดการแทนเด็กได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2550

อ่านคำพิพากษาฉบับย่อยาว คลิ๊กที่นี่

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2011-02-27 11:04:42


ความคิดเห็นที่ 3 (3286069)

พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย

พรากผู้เยาว์อายุมากกว่า 15 ปีแล้วแต่ยังไม่เกิน 18 ปี โดยที่หญิงผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปมีเพศสัมพันธ์ด้วย ชายมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์มีโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี ปรับสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท แต่กรณีที่พาบุตรสาวผู้เยาว์ของเขาไปโดยที่หญิงสาวนั้นไม่เต็มใจไปด้วยแม้ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กันก็ตามก็มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์มีโทษจำคุกสองปีถึงสิบปีเช่นกัน แต่ถ้าไปมีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาวโดยที่เขาไม่ยินยอมด้วยโดยข้อหาหนักฐานข่มขืนกระทำชำเราด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7820/2549

อ่านคำพิพากษาฉบับย่อยาว คลิ๊กที่นี่ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-27 11:08:34


ความคิดเห็นที่ 4 (3286070)

พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย

พาหญิงอายุ 17 ปี ไม่เกิน 18 ปี ไปโดยต้องการอยู่กินฉันสามีภริยา โดยฝ่ายชายไม่มีภริยาอยู่ก่อน ดังนั้นฝ่ายชายไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5165/2548

อ่านคำพิพากษาฉบับย่อยาว คลิ๊กที่นี่ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-27 11:11:36



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล