ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




ให้อภัยสิทธิฟ้องหย่าหมดไป | จงใจละทิ้งร้าง

   -ปรึกษากฎหมาย

     ทนายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

      ทนายเอกชัย อาชาโชติธรรม โทร.083-1378440

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

 

ให้อภัยสิทธิฟ้องหย่าหมดไป | จงใจละทิ้งร้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2524

จำเลยใช้มีดจะแทงโจทก์ตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยาและมีบุตรด้วยกัน จึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย แสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแต่แรกแล้ว ถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518

โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้

ความสามารถและฐานะของโจทก์ดีกว่าจำเลย โจทก์ผู้เป็นสามีจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ประกอบด้วยมาตรา1598/38

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันมีบุตร 1 คน เมื่อต้นปี 2519 จำเลยประพฤติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาโดยทะเลาะวิวาทกับโจทก์ ใช้มีดแทงทำร้ายโจทก์ได้รับบาดเจ็บ โจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยามีบุตรด้วยกัน จึงมิได้ร้องทุกข์กล่าวโทษโจทก์ต่อมาจำเลยพาบุตรไปอาศัยอยู่ที่อื่น เป็นการจงใจละทิ้งร้างโจทก์เกินกว่าหนึ่งปี ขอให้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่า ถ้าจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลย และให้จำเลยส่งมอบบุตรมาอยู่ในความปกครองของโจทก์

จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่เคยทะเลาะหรือทำร้ายร่างกายโจทก์ พี่สาวโจทก์ทุบตีด่าว่าและไล่จำเลย โจทก์จึงพาจำเลยและบุตรไปอยู่กับมารดาจำเลยแล้วโจทก์ไม่ยอมส่งเสียค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยและบุตร จึงฟ้องแย้งขอให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยและบุตรเดือนละ 3,000 บาทนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะตายและบุตรบรรลุนิติภาวะ

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า จำเลยมีรายได้พอที่จะอุปการะเลี้ยงดูบุตรเมื่อจำเลยออกจากบ้านโจทก์ จำเลยได้นำทรัพย์สินของโจทก์ไปด้วย มีจำนวนมากพอที่จำเลยจะใช้จ่ายเลี้ยงดูตนเองได้ตลอดชีวิต ขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ให้จำเลยให้เงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่จำเลยเดือนละ 1,500 บาทนับแต่วันฟ้องแย้งไปจนกว่าจำเลยจะตายหรือสมรสใหม่

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

       ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยใช้มีดจะแทงโจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งว่าโจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยาและมีบุตรด้วยกัน จึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย จึงแสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จำเลยมาแต่แรกแล้ว ถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้หมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518

ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์เกินกว่า 1 ปีนั้น พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า โจทก์จำเลยต่างนำสืบรับกันฟังได้ว่า จำเลยและบุตรไปอยู่กับมารดาจำเลยโดยโจทก์เป็นผู้พาไปส่งขนเสื้อผ้าไปให้และนำรถยนต์ไปให้จำเลยใช้สอย ต่อมาโจทก์ขอให้จำเลยกลับแต่จำเลยไม่ยอมกลับ ในที่สุดบิดาโจทก์จะให้เงินไปซื้อตึกแถวเพื่อแยกมาตั้งครอบครัวและประกอบอาชีพต่างหาก ดังนั้นการที่จำเลยพาบุตรไปอยู่กับมารดาจำเลยจึงถือไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาจงใจละทิ้งร้างโจทก์ หลังจากที่โจทก์จำเลยตกลงกันไม่ได้ว่าจะซื้อตึกแถว ณ ที่ใด โจทก์ได้มาขอรับรถยนต์คืนไปจากจำเลยแม้จำเลยจะเบิกความรับว่าจำเลยไม่ได้ติดต่อกับโจทก์มา 2 ปีเศษแล้ว และเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์เคยให้มาแต่แรกที่มาอยู่กับมารดาจำเลย โจทก์ก็ไม่นำมาจ่ายให้อีก พฤติการณ์ที่โจทก์จำเลยแยกกันอยู่และโจทก์ไม่ส่งเสียอุปการะเลี้ยงดูจำเลยถือได้ว่า โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยมีเจตนาจงใจละทิ้งร้างโจทก์หาได้ไม่

ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ไม่จำต้องจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลย เพราะจำเลยไม่ได้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยอยู่ต่างหากนั้น พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า เดิมจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์อยู่ในบ้านของโจทก์ โจทก์มีอาชีพประกอบการค้าร่วมกับบิดา จำเลยไม่มีอาชีพอะไร โจทก์เคยจ่ายเงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยมาตลอด ครั้นเมื่อโจทก์ยินยอมให้จำเลยพาบุตรมาอยู่กับมารดาจำเลย โจทก์ก็ยังจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยอยู่ ครั้นต่อมาเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์มีความสามารถและฐานะดีกว่าจำเลยดังจะเห็นได้ว่าโจทก์และบิดาโจทก์เคยรับปากจะซื้อตึกแถวเพื่อประกอบอาชีพการค้าร่วมกับจำเลย เมื่อคำนึงถึงความสามารถและฐานะดังกล่าวของโจทก์ ย่อมเป็นที่เห็นประจักษ์แจ้งว่าโจทก์ดีกว่าจำเลย โจทก์ผู้เป็นสามีจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ประกอบด้วยมาตรา 1598/38 ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยเดือนละ 1,500 บาท จึงเป็นการเหมาะสมแล้ว
  พิพากษายืน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและ ฐานะของตน

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
 อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

       มาตรา 1518 สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปในเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ กระทำการอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็น เหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้นแล้ว

มาตรา 1598/38 ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่าง บิดามารดากับบุตรนั้น ย่อมเรียกจากกันได้เมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะ เลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู หรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่ เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและ พฤติการณ์แห่งกรณี




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

จดทะเบียนสมรสแต่ไม่ได้อยู่กินฉันสามีภริยา ความสมบูรณ์ของการสมรส
ที่ดินและรถยนต์ภริยากู้ยืมเงินมาซื้อและผ่อนด้วยเงินเดือน
สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีคนใหม่ยังไม่จดทะเบียนหย่า
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี
สิทธิเลือกคู่ครองเมื่อเห็นว่าภริยาไม่เหมาะสมกับตน
ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง
สามีไม่ค่อยอยู่บ้านก็มิใช่เป็นการประพฤติเสื่อมเสีย
สามีฟ้องหย่าภริยาอ้างเหตุจงใจละทิ้งร้าง
คู่สมรสมีสิทธิบอกล้างได้ในขณะที่ยังเป็นสามีภริยากัน
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่า
จดทะเบียนสมรสซ้อน
ฟ้องหย่าเหตุอ้างร้องเรียนผู้บังคับบัญชา
การสมรสที่เป็นโมฆียะ
หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง | เหตุฟ้องหย่า
ร้องเรียนกล่าวโทษสามีต่อผู้บังคับบัญชา | เป็นปฏิปักษ์
การทิ้งร้างกับการสมัครใจแยกกันอยู่
บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่า | การแสดงเจตนาลวง
สัญญาระหว่างสมรส | ข้อตกลงห้ามบอกล้าง