ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




หมวด 5 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง มาตรา 736 ถึง มาตรา 743

หมวด 5 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง

 

มาตรา 736    ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองจะไถ่ถอนจำนองก็ได้ ถ้าหากมิได้เป็นตัวลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน หรือเป็นทายาทของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน

 

มาตรา 737   ผู้รับโอนจะไถ่ถอนจำนองเมื่อใดก็ได้ แต่ถ้าผู้รับจำนองได้บอกกล่าวว่ามีจำนงจะบังคับจำนองไซร้ ผู้รับโอนต้องไถ่ถอนจำนองภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันรับคำบอกกล่าว

แก้ไขใหม่

มาตรา 16 ให้ยกเลิกความในมาตรา 737 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา 737 ผู้รับโอนจะไถ่ถอนจำนองเมื่อใดก็ได้ แต่ถ้าผู้รับจำนองได้บอกกล่าวว่าจะบังคับจำนองผู้รับโอนต้องไถ่ถอนจำนองภายในหกสิบวันนับแต่วันรับคำบอกกล่าว” 

มาตรา 738    ผู้รับโอนซึ่งประสงค์จะไถ่ถอนจำนองต้องบอกกล่าวความประสงค์นั้นแก่ผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้น และต้องส่งคำเสนอไปยังบรรดาเจ้าหนี้ที่ได้จดทะเบียนไม่ว่าในทางจำนองหรือประการอื่นว่าจะรับใช้เงินให้เป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินนั้นคำเสนอนั้นให้แจ้งข้อความทั้งหลายต่อไปนี้ คือ
(1) ตำแหน่งแหล่งที่และลักษณะแห่งทรัพย์สินซึ่งจำนอง
(2) วันซึ่งโอนกรรมสิทธิ์
(3) ชื่อเจ้าของเดิม
(4) ชื่อและภูมิลำเนาของผู้รับโอน
(5) จำนวนเงินที่เสนอว่าจะใช้
(6) คำนวณยอดจำนวนเงินที่ค้างชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่ง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์และจำนวนเงินที่จะจัดเป็นส่วนใช้แก่บรรดาเจ้าหนี้ตามลำดับกัน
 

อนึ่ง ให้คัดสำเนารายงานจดทะเบียนของเจ้าพนักงานในเรื่องทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นอันเจ้าพนักงานรับรองว่าเป็นสำเนาถูกถ้วนสอดส่งไปด้วย

 

มาตรา 739    ถ้าเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดไม่ยอมรับคำเสนอเจ้าหนี้คนนั้นต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในเดือนหนึ่ง นับแต่วันมีคำเสนอเพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้น แต่ว่าเจ้าหนี้นั้นจะต้องปฏิบัติการดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ด้วย คือ
(1) ออกเงินทดรองค่าฤชาธรรมเนียมการขายทอดตลาด
(2) ต้องเข้าสู้ราคาเองหรือแต่งคนเข้าสู้ราคาเป็นจำนวนเงินสูงกว่าที่ผู้รับโอนเสนอจะใช้
(3) บอกกล่าวการที่ตนไม่ยอมนั้นให้ผู้รับโอนและเจ้าหนี้คนอื่นๆ บรรดาได้จดทะเบียนกับทั้งเจ้าของทรัพย์สินคนก่อนและลูกหนี้ชั้นต้นทราบด้วย

 

มาตรา 740    ถ้าขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิล้ำจำนวนเงิน ที่ผู้รับโอนเสนอว่าจะใช้ ท่านให้ผู้รับโอนเป็นผู้ออกใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในการขายทอดตลาด ถ้าได้ไม่ถึงล้ำจำนวน ท่านให้เจ้าหนี้ผู้ร้องขอให้ ขายทอดตลาดเป็นผู้ออก

 

มาตรา 741    เมื่อเจ้าหนี้ทั้งหลายได้สนองรับคำเสนอทั่วทุกคนแล้วโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ดี ท่านว่าจำนองหรือบุริมสิทธิก็เป็นอันไถ่ถอนได้ด้วยผู้รับโอนใช้เงินหรือวางเงินตามจำนวนที่เสนอจะใช้แทนการชำระหนี้

 

มาตรา 742    ถ้าการบังคับจำนองก็ดี ถอนจำนองก็ดีเป็นเหตุให้ทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุดมือไปจากบุคคลผู้ได้ทรัพย์สินนั้นไว้แต่ก่อนไซร้ ท่านว่าการที่ทรัพย์สินหลุดมือไปเช่นนั้นหามีผลย้อนหลังไม่และบุริมสิทธิทั้งหลายของเจ้าหนี้แห่งผู้ที่ทรัพย์หลุดมือไป อันมีอยู่เหนือทรัพย์สินและได้จดทะเบียนไว้นั้นก็ย่อมเข้าอยู่ในลำดับหลังบุริมสิทธิอันเจ้าหนี้ของผู้จำนองหรือเจ้าของคนก่อนได้จดทะเบียนไว้
 

ในกรณีเช่นนี้ถ้าสิทธิใด ๆอันมีอยู่เหนือทรัพย์สินซึ่งจำนองเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลผู้ได้ทรัพย์สินซึ่งจำนองไว้แต่ก่อนได้ระงับไปแล้วด้วยเกลื่อนกลืนกันในขณะที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาไซร้ สิทธินั้นท่านให้กลับคืนมาเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลนั้นได้อีกในเมื่อทรัพย์สินซึ่งจำนองกลับหลุดมือไป

 

มาตรา 743    ถ้าผู้รับโอนได้ทำให้ทรัพย์สินซึ่งจำนองเสื่อมราคาลงเพราะการกระทำหรือความประมาทเลินเล่อแห่งตนเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ทั้งหลายผู้มีสิทธิจำนองหรือบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้นต้องเสียหายไซร้ ท่านว่าผู้รับโอนจะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้นอย่างไรก็ดี อันผู้รับโอนจะเรียกเอาเงินจำนวนใด ๆ ซึ่งตนได้ออกไป หรือเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ตนได้ทำให้ทรัพย์สินดีขึ้นนั้น ท่านว่าหาอาจจะเรียกได้ไม่เว้นแต่ที่เป็นการทำให้ทรัพย์สินนั้นงอกราคาขึ้นและจะเรียกได้เพียงเท่าจำนวนราคาที่งอกขึ้นเมื่อขายทอดตลาดเท่านั้น

 




ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

บรรพ1 หลักทั่วไป มาตรา 1 ถึง มาตรา 14 article
ส่วนที่ 1 สภาพบุคคล มาตรา 15 ถึง มาตรา 18 article
ส่วนที่ 2 ความสามารถ มาตรา 19 ถึง มาตรา 36 article
ส่วนที่ 3 ภูมิลำเนา มาตรา 37 ถึง มาตรา 47
ส่วนที่ 4 สาปสูญ มาตรา 48 ถึง มาตรา 64 article
หมวด 2 นิติบุคคล ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 65 ถึง มาตรา 77
ส่วนที่ 2 สมาคม มาตรา 78 ถึง มาตรา 109
ส่วนที่ 3 มูลนิธิ มาตรา 110 ถึง มาตรา 136
ลักษณะ 3 ทรัพย์ มาตรา 137 ถึง มาตรา 148
ลักษณะ 4 นิติกรรม หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 149 ถึง มาตรา 153
หมวด 2 การแสดงเจตนา มาตรา 154 ถึง มาตรา 171
หมวด 3 โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม มาตรา 172 ถึง มาตรา 181
หมวด 4 เงื่อนไขและเงื่อนเวลา มาตรา 182 ถึง มาตรา 193
ลักษณะ 5 ระยะเวลา มาตรา 193/1 ถึง มาตรา 193/8
ลักษณะ 6 อายุความ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 193/9 ถึง มาตรา 193/29
หมวด 2 กำหนดอายุความ มาตรา 193/30 ถึง มาตรา 193/35
บรรพ 2 หนี้ ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป หมวด 1 วัตถุแห่งหนี้ มาตรา 194 ถึง มาตรา 202
หมวด 2 ผลแห่งหนี้ ส่วนที่ 1 การไม่ชำระหนี้ มาตรา 203 ถึง มาตรา 225
ส่วนที่ 2 รับช่วงสิทธิ มาตรา 226 ถึง มาตรา 232
ส่วนที่ 3 การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ มาตรา 233 ถึง มาตรา 236
ส่วนที่ 4 เพิกถอนการฉ้อฉล มาตรา 237 ถึง มาตรา 240
ส่วนที่ 5 สิทธิยึดหน่วง มาตรา 241 ถึง มาตรา 250
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ มาตรา 251 ถึง มาตรา 252
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *1. บุริมสิทธิสามัญ มาตรา 253 ถึง มาตรา 258
2. บุริมสิทธิพิเศษ (ก) บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์ มาตรา 259 ถึง มาตรา 272
2. บุริมสิทธิพิเศษ (ข) บุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ มาตรา 273 ถึง มาตรา 276
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *3. ลำดับแห่งบุริมสิทธิ มาตรา 277 ถึง มาตรา 280
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *4. ผลแห่งบุริมสิทธิ มาตรา 281 มาตรา 289
หมวด 3 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน มาตรา 290 ถึง มาตรา 302
หมวด 4 โอนสิทธิเรียกร้อง มาตรา 303 ถึง มาตรา 313
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่1 การชำระหนี้ มาตรา 314 ถึง มาตรา 339
หมวด4 โอนสิทธิเรียกร้อง *ส่วนที่ 2 ปลดหนี้ มาตรา 340
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 3 หักกลบลบหนี้ มาตรา 341 ถึง มาตรา 348
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 4 แปลงหนี้ใหม่ มาตรา 349 ถึง มาตรา 352
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 5 หนี้เกลื่อนกลืนกัน มาตรา 353
ลักษณะ 2 สัญญา หมวด 1 ก่อให้เกิดสัญญา มาตรา 354 ถึง มาตรา 368
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 2 ผลแห่งสัญญา มาตรา 369 ถึง มาตรา 376
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 3 มัดจำและเบี้ยปรับ มาตรา 377 ถึง มาตรา 385
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 4 เลิกสัญญา มาตรา 386 ถึง มาตรา 394
ลักษณะ3 จัดการงานนอกสั่ง มาตรา 395 ถึง มาตรา 405
ลักษณะ 4 ลาภมิควรได้ มาตรา 406 ถึง มาตรา 419
ลักษณะ 5 ละเมิด หมวด 1 ความรับผิดเพื่อละเมิด มาตรา 420 ถึง มาตรา 437
หมวด2 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด มาตรา 438 ถึง มาตรา 448
หมวด 3 นิรโทษกรรม มาตรา 449 ถึง มาตรา 452
หมวด 1 สภาพและหลักสำคัญของสัญญาซื้อขาย ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 453 ถึง มาตรา 457
ส่วนที่ 2 การโอนกรรมสิทธิ์ มาตรา 458 ถึง มาตรา 460
หมวด 2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ขาย ส่วนที่ 1 การส่งมอบ มาตรา 461 ถึง มาตรา 471
ส่วนที่ 2 ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง มาตรา 472 ถึง มาตรา 474
ส่วนที่ 3 ความรับผิดในการรอนสิทธิ มาตรา 475 ถึง มาตรา 482
ส่วนที่ 4 ข้อสัญญาไม่ต้องรับผิด มาตรา 483 ถึง มาตรา 485
หมวด 3 หน้าที่ของผู้ซื้อ มาตรา 486 ถึง มาตรา 490
หมวด 4 การซื้อขายเฉพาะบางอย่าง ส่วนที่ 1 ขายฝาก มาตรา 491 ถึง มาตรา 502
ส่วนที่ 2 ขายตามตัวอย่าง ขายตามคำพรรณนา ขายเผื่อชอบ มาตรา 503 ถึง มาตรา 508
ส่วนที่ 3 ขายทอดตลาด มาตรา 509 ถึง มาตรา 517
ลักษณะ 2 แลกเปลี่ยน มาตรา 518 ถึง มาตรา 520
ลักษณะ 3 ให้ มาตรา 521 ถึง มาตรา 536
ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 537 ถึง มาตรา 545
หมวด 2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่า มาตรา 546 ถึง มาตรา 551
หมวด 3 หน้าที่ความรับผิดของผู้เช่า มาตรา 552 ถึง มาตรา 563
หมวด 4 ความระงับแห่งสัญญาเช่า มาตรา 564 ถึง มาตรา 571
ลักษณะ5 เช่าซื้อ มาตรา 572 ถึง มาตรา 574
ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน มาตรา 575 ถึง มาตรา 586
ลักษณะ 7 จ้างทำของ มาตรา 587 ถึง มาตรา 607
ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 608 ถึง มาตรา 609
หมวด 1 รับขนของ มาตรา 610 ถึง มาตรา 633
หมวด 2 รับขนคนโดยสาร มาตรา 634 ถึง มาตรา 639
ลักษณะ 9 ยืม หมวด 1 ยืมใช้คงรูป มาตรา 640 ถึง มาตรา 649
หมวด 2 ยืมใช้สิ้นเปลือง มาตรา 650 ถึง มาตรา 656
ลักษณะ 10 ฝากทรัพย์ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 657 ถึง มาตรา 671
หมวด 2 วิธีการเฉพาะการฝากเงิน มาตรา 672 ถึง มาตรา 673
หมวด 3 วิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม มาตรา 674 ถึง มาตรา 679
ค้ำประกัน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 680 ถึง มาตรา 685/1
หมวด 2 ผลก่อนชำระหนี้ มาตรา 686 ถึง มาตรา 692
หมวด 3 ผลภายหลังชำระหนี้ มาตรา 693 ถึง มาตรา 697
หมวด 4 ความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกัน มาตรา 698 ถึง มาตรา 701
ลักษณะ 12 จำนอง หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 702 ถึง มาตรา 714/1
หมวด 2 สิทธิจำนองครอบเพียงใด มาตรา 715 ถึง มาตรา 721
หมวด 3 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับจำนองและผู้จำนอง มาตรา 722 ถึง มาตรา 727/1
หมวด 4 การบังคับจำนอง มาตรา 728 ถึง มาตรา 735
หมวด 6 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจำนอง มาตรา 744 ถึง มาตรา 746
ลักษณะ 13 จำนำ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 747 ถึง มาตรา 757
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของผู้จำนำและผู้รับจำนำ มาตรา 758 ถึง มาตรา 763
หมวด 3 การบังคับจำนำ มาตรา 764 ถึง มาตรา 768
ความระงับสิ้นไปแห่งการจำนำ มาตรา 769
ลักษณะ 14 เก็บของในคลังสินค้า หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 770 ถึง มาตรา 774
หมวด 2 ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า มาตรา 775 ถึง มาตรา 796
ลักษณะ 15 ตัวแทน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 797 ถึง มาตรา 806
หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ มาตรา 807 ถึง มาตรา 814
หมวด 3 หน้าที่และความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน มาตรา 815 ถึง มาตรา 819
หมวด 4 ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก มาตรา 820 ถึง มาตรา 825
หมวด 5 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน มาตรา 826 ถึง มาตรา 832
หมวด 6 ตัวแทนค้าต่าง มาตรา 833 ถึง มาตรา 844
ลักษณะ 16 นายหน้า มาตรา 845 ถึง มาตรา 849
ลักษณะ 17 ประนีประนอมยอมความ มาตรา 850 ถึง มาตรา 852
ลักษณะ 18 การพนันและขันต่อ มาตรา 853 ถึง มาตรา 855
ลักษณะ 19 บัญชีเดินสะพัด มาตรา 856 ถึง มาตรา 860
ลักษณะ 20 ประกันภัย หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 861 ถึง มาตรา 868
หมวด 2 ประกันวินาศภัย ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 869 ถึง มาตรา 882
ส่วนที่ 2 วิธีเฉพาะการประกันภัยในการรับขน มาตรา 883 ถึง มาตรา 886