ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




ส่วนที่ 4 การเลิกและชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญ มาตรา 1055 ถึง มาตรา 1063

ส่วนที่ 4 การเลิกและชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญ

 

มาตรา 1055 ห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมเลิกกันด้วยเหตุดั่งกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าในสัญญาทำไว้มีกำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิกกันเมื่อ มีกรณีนั้น
(2) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะกำหนดกาลใด เมื่อสิ้นกำหนดกาลนั้น
(3) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียว เมื่อเสร็จการนั้น
(4) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งให้คำบอกกล่าวแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ ตามกำหนดดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 1056
(5) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย หรือล้มละลายหรือตกเป็นผู้ไร้ ความสามารถ

 

มาตรา 1056 ถ้าห้างหุ้นส่วนได้ตั้งขึ้นไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่ง อย่างใดเป็นยุติ ท่านว่าจะเลิกได้ต่อเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง บอกเลิกเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้น และผู้เป็น หุ้นส่วนนั้นต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือน

 

มาตรา 1057 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดร้องขอเมื่อมีกรณีอย่างใด อย่างหนึ่งดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ ศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกัน เสียก็ได้คือ
(1) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้ร้องฟ้องนั้น ล่วงละเมิด บทบังคับใด ๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตน โดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(2) เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นจะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว
และไม่มีหวังจะกลับฟื้นตัวได้อีก
(3) เมื่อมีเหตุอื่นใด ๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้

 

มาตรา 1058 เมื่อเหตุอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวด้วยผู้เป็นหุ้นส่วน คนหนึ่งซึ่งตามความใน
มาตรา 1057 หรือ มาตรา 1067 เป็นเหตุให้ผู้ เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนอกนั้นมีสิทธิจะเรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ไซร้ ในเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนเหล่านั้นยื่นคำร้อง ท่านว่าศาลจะสั่งให้ กำจัด หุ้นส่วนผู้ต้นเหตุนั้นออกเสียจากห้างหุ้นส่วนแทนสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วน ก็ได้
 

ในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างห้างหุ้นส่วนกับผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถูก กำจัดนั้นท่านให้ตีราคาทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนตามราคาที่เป็นอยู่ใน เวลานั้นแรกยื่นคำร้องขอให้กำจัด

 

มาตรา 1059 ถ้าเมื่อสิ้นกำหนดกาลซึ่งได้ตกลงกันไว้ และผู้เป็น หุ้นส่วนทั้งหลาย หรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเคยได้จัดการอยู่ในระหว่าง กำหนดนั้นยังคงดำเนินการค้าของห้างหุ้นส่วนอยู่ต่อไปโดยมิได้ชำระ บัญชี หรือชำระเงินกันให้เสร็จไปไซร้ ท่านให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งปวงได้ตกลงคงทำการเป็นหุ้นส่วนกันสืบไปโดยไม่มีกำหนดกาล

 

มาตรา 1060 ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งกล่าวไว้ใน มาตรา 1055 อนุมาตรา (4) หรืออนุ(5) นั้น ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่รับซื้อหุ้น ของผู้ที่ออกจากหุ้นส่วนไปไซร้ ท่านว่าสัญญาหุ้นส่วนนั้นก็ยังคงใช้ได้ ต่อไปในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ด้วยกัน

 

มาตรา 1061 เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็ให้จัดการชำระบัญชี เว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็น หุ้นส่วนด้วยกันหรือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย
 

ถ้าการเลิกห้างหุ้นส่วนนั้นได้เป็นไปโดยที่เจ้าหนี้เฉพาะตัวของผู้ เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้ให้คำบอกกล่าวก็ดี หรือโดยที่ผู้เป็นหุ้นส่วน คนใดคนหนึ่งล้มละลายก็ดี ท่านว่าจะงดการชำระบัญชีเสียได้ต่อเมื่อ เจ้าหนี้คนนั้นหรือเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ยินยอมด้วย
 

การชำระบัญชีนั้น ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดด้วยกันจัดทำ หรือให้ บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ตั้งแต่งขึ้นนั้นเป็นผู้จัดทำ
 

การตั้งแต่งผู้ชำระบัญชี ให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมาก ของผู้เป็นหุ้นส่วน

 

มาตรา 1062 การชำระบัญชี ให้ทำโดยลำดับดั่งนี้ คือ
(1) ให้ชำระหนี้ทั้งหลายซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอก
(2) ให้ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกของ ตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง
(3) ให้คืนทุนทรัพย์ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนได้ลงเป็นหุ้น
 

ถ้ายังมีทรัพย์เหลืออยู่อีกเท่าไรก็ให้เฉลี่ยแจกเป็นกำไรในระหว่าง ผู้เป็นหุ้นส่วน

 

มาตรา 1063 ถ้าเมื่อได้ชำระหนี้ซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอก และชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายแล้ว สินทรัพย์ที่ยังอยู่ไม่พอจะคืน แก่ผู้เป็นหุ้นหุ้นส่วนให้ครบจำนวนที่ลงหุ้นไซร้ ส่วนที่ขาดนี้คือขาดทุน ซึ่งต้องคิดเฉลี่ยช่วยกันขาด

 




ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

บรรพ1 หลักทั่วไป มาตรา 1 ถึง มาตรา 14 article
ส่วนที่ 1 สภาพบุคคล มาตรา 15 ถึง มาตรา 18 article
ส่วนที่ 2 ความสามารถ มาตรา 19 ถึง มาตรา 36 article
ส่วนที่ 3 ภูมิลำเนา มาตรา 37 ถึง มาตรา 47
ส่วนที่ 4 สาปสูญ มาตรา 48 ถึง มาตรา 64 article
หมวด 2 นิติบุคคล ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 65 ถึง มาตรา 77
ส่วนที่ 2 สมาคม มาตรา 78 ถึง มาตรา 109
ส่วนที่ 3 มูลนิธิ มาตรา 110 ถึง มาตรา 136
ลักษณะ 3 ทรัพย์ มาตรา 137 ถึง มาตรา 148
ลักษณะ 4 นิติกรรม หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 149 ถึง มาตรา 153
หมวด 2 การแสดงเจตนา มาตรา 154 ถึง มาตรา 171
หมวด 3 โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม มาตรา 172 ถึง มาตรา 181
หมวด 4 เงื่อนไขและเงื่อนเวลา มาตรา 182 ถึง มาตรา 193
ลักษณะ 5 ระยะเวลา มาตรา 193/1 ถึง มาตรา 193/8
ลักษณะ 6 อายุความ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 193/9 ถึง มาตรา 193/29
หมวด 2 กำหนดอายุความ มาตรา 193/30 ถึง มาตรา 193/35
บรรพ 2 หนี้ ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป หมวด 1 วัตถุแห่งหนี้ มาตรา 194 ถึง มาตรา 202
หมวด 2 ผลแห่งหนี้ ส่วนที่ 1 การไม่ชำระหนี้ มาตรา 203 ถึง มาตรา 225
ส่วนที่ 2 รับช่วงสิทธิ มาตรา 226 ถึง มาตรา 232
ส่วนที่ 3 การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ มาตรา 233 ถึง มาตรา 236
ส่วนที่ 4 เพิกถอนการฉ้อฉล มาตรา 237 ถึง มาตรา 240
ส่วนที่ 5 สิทธิยึดหน่วง มาตรา 241 ถึง มาตรา 250
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ มาตรา 251 ถึง มาตรา 252
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *1. บุริมสิทธิสามัญ มาตรา 253 ถึง มาตรา 258
2. บุริมสิทธิพิเศษ (ก) บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์ มาตรา 259 ถึง มาตรา 272
2. บุริมสิทธิพิเศษ (ข) บุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ มาตรา 273 ถึง มาตรา 276
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *3. ลำดับแห่งบุริมสิทธิ มาตรา 277 ถึง มาตรา 280
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *4. ผลแห่งบุริมสิทธิ มาตรา 281 มาตรา 289
หมวด 3 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน มาตรา 290 ถึง มาตรา 302
หมวด 4 โอนสิทธิเรียกร้อง มาตรา 303 ถึง มาตรา 313
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่1 การชำระหนี้ มาตรา 314 ถึง มาตรา 339
หมวด4 โอนสิทธิเรียกร้อง *ส่วนที่ 2 ปลดหนี้ มาตรา 340
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 3 หักกลบลบหนี้ มาตรา 341 ถึง มาตรา 348
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 4 แปลงหนี้ใหม่ มาตรา 349 ถึง มาตรา 352
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 5 หนี้เกลื่อนกลืนกัน มาตรา 353
ลักษณะ 2 สัญญา หมวด 1 ก่อให้เกิดสัญญา มาตรา 354 ถึง มาตรา 368
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 2 ผลแห่งสัญญา มาตรา 369 ถึง มาตรา 376
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 3 มัดจำและเบี้ยปรับ มาตรา 377 ถึง มาตรา 385
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 4 เลิกสัญญา มาตรา 386 ถึง มาตรา 394
ลักษณะ3 จัดการงานนอกสั่ง มาตรา 395 ถึง มาตรา 405
ลักษณะ 4 ลาภมิควรได้ มาตรา 406 ถึง มาตรา 419
ลักษณะ 5 ละเมิด หมวด 1 ความรับผิดเพื่อละเมิด มาตรา 420 ถึง มาตรา 437
หมวด2 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด มาตรา 438 ถึง มาตรา 448
หมวด 3 นิรโทษกรรม มาตรา 449 ถึง มาตรา 452
หมวด 1 สภาพและหลักสำคัญของสัญญาซื้อขาย ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 453 ถึง มาตรา 457
ส่วนที่ 2 การโอนกรรมสิทธิ์ มาตรา 458 ถึง มาตรา 460
หมวด 2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ขาย ส่วนที่ 1 การส่งมอบ มาตรา 461 ถึง มาตรา 471
ส่วนที่ 2 ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง มาตรา 472 ถึง มาตรา 474
ส่วนที่ 3 ความรับผิดในการรอนสิทธิ มาตรา 475 ถึง มาตรา 482
ส่วนที่ 4 ข้อสัญญาไม่ต้องรับผิด มาตรา 483 ถึง มาตรา 485
หมวด 3 หน้าที่ของผู้ซื้อ มาตรา 486 ถึง มาตรา 490
หมวด 4 การซื้อขายเฉพาะบางอย่าง ส่วนที่ 1 ขายฝาก มาตรา 491 ถึง มาตรา 502
ส่วนที่ 2 ขายตามตัวอย่าง ขายตามคำพรรณนา ขายเผื่อชอบ มาตรา 503 ถึง มาตรา 508
ส่วนที่ 3 ขายทอดตลาด มาตรา 509 ถึง มาตรา 517
ลักษณะ 2 แลกเปลี่ยน มาตรา 518 ถึง มาตรา 520
ลักษณะ 3 ให้ มาตรา 521 ถึง มาตรา 536
ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 537 ถึง มาตรา 545
หมวด 2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่า มาตรา 546 ถึง มาตรา 551
หมวด 3 หน้าที่ความรับผิดของผู้เช่า มาตรา 552 ถึง มาตรา 563
หมวด 4 ความระงับแห่งสัญญาเช่า มาตรา 564 ถึง มาตรา 571
ลักษณะ5 เช่าซื้อ มาตรา 572 ถึง มาตรา 574
ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน มาตรา 575 ถึง มาตรา 586
ลักษณะ 7 จ้างทำของ มาตรา 587 ถึง มาตรา 607
ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 608 ถึง มาตรา 609
หมวด 1 รับขนของ มาตรา 610 ถึง มาตรา 633
หมวด 2 รับขนคนโดยสาร มาตรา 634 ถึง มาตรา 639
ลักษณะ 9 ยืม หมวด 1 ยืมใช้คงรูป มาตรา 640 ถึง มาตรา 649
หมวด 2 ยืมใช้สิ้นเปลือง มาตรา 650 ถึง มาตรา 656
ลักษณะ 10 ฝากทรัพย์ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 657 ถึง มาตรา 671
หมวด 2 วิธีการเฉพาะการฝากเงิน มาตรา 672 ถึง มาตรา 673
หมวด 3 วิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม มาตรา 674 ถึง มาตรา 679
ค้ำประกัน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 680 ถึง มาตรา 685/1
หมวด 2 ผลก่อนชำระหนี้ มาตรา 686 ถึง มาตรา 692
หมวด 3 ผลภายหลังชำระหนี้ มาตรา 693 ถึง มาตรา 697
หมวด 4 ความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกัน มาตรา 698 ถึง มาตรา 701
ลักษณะ 12 จำนอง หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 702 ถึง มาตรา 714/1
หมวด 2 สิทธิจำนองครอบเพียงใด มาตรา 715 ถึง มาตรา 721
หมวด 3 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับจำนองและผู้จำนอง มาตรา 722 ถึง มาตรา 727/1
หมวด 4 การบังคับจำนอง มาตรา 728 ถึง มาตรา 735
หมวด 5 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง มาตรา 736 ถึง มาตรา 743
หมวด 6 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจำนอง มาตรา 744 ถึง มาตรา 746
ลักษณะ 13 จำนำ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 747 ถึง มาตรา 757
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของผู้จำนำและผู้รับจำนำ มาตรา 758 ถึง มาตรา 763
หมวด 3 การบังคับจำนำ มาตรา 764 ถึง มาตรา 768
ความระงับสิ้นไปแห่งการจำนำ มาตรา 769
ลักษณะ 14 เก็บของในคลังสินค้า หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 770 ถึง มาตรา 774
หมวด 2 ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า มาตรา 775 ถึง มาตรา 796
ลักษณะ 15 ตัวแทน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 797 ถึง มาตรา 806
หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ มาตรา 807 ถึง มาตรา 814
หมวด 3 หน้าที่และความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน มาตรา 815 ถึง มาตรา 819
หมวด 4 ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก มาตรา 820 ถึง มาตรา 825
หมวด 5 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน มาตรา 826 ถึง มาตรา 832
หมวด 6 ตัวแทนค้าต่าง มาตรา 833 ถึง มาตรา 844
ลักษณะ 16 นายหน้า มาตรา 845 ถึง มาตรา 849
ลักษณะ 17 ประนีประนอมยอมความ มาตรา 850 ถึง มาตรา 852
ลักษณะ 18 การพนันและขันต่อ มาตรา 853 ถึง มาตรา 855
ลักษณะ 19 บัญชีเดินสะพัด มาตรา 856 ถึง มาตรา 860
ลักษณะ 20 ประกันภัย หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 861 ถึง มาตรา 868
หมวด 2 ประกันวินาศภัย ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 869 ถึง มาตรา 882