ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




ลงโทษลูกจ้างในความผิดเรื่องนั้นแล้วไม่อาจอ้างคำเตือนเดิมเลิกจ้าง article

ลงโทษลูกจ้างในความผิดเรื่องนั้นแล้วไม่อ้างคำเตือนเดิมเลิกจ้าง
ลูกจ้างได้ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานหลายครั้งซึ่งโจทก์ได้ตักเตือนเป็นหนังสือ เมื่อนายจ้างลงโทษลูกจ้างในเรื่องกระทำความผิดในเรื่องนั้นไปแล้วย่อมไม่สามารถนำมากล่าวอ้างว่าลูกจ้างทำผิดซ้ำ คำเตือนในเรื่องเดิมได้อีกส่วนเหตุในการเลิกจ้าง เกิดจากการที่ลูกจ้างไม่ทำความเคารพกรรมการผู้จัดการ ทำตัวไม่เหมาะสมและไม่ทำงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างแต่ก็มิใช่กรณีร้ายแรงที่นายจ้างไม่จำต้องตักเตือน การเลิกจ้างลูกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8824/2556

  เมื่อนายจ้างลงโทษลูกจ้างในการกระทำความผิดเรื่องนั้นไปแล้ว ไม่สามารถนำมากล่าวอ้างว่าลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนในเรื่องเดิมได้อีก
 
 โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำเลยที่ 55/2550
          จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
          ศาลแรงงานภาค 1 พิพากษายกฟ้อง

          โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานภาค 1 พิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า นายพรชัย เป็นลูกจ้างโจทก์ เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2542 ระหว่างทำงานนายพรชัยได้ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานหลายครั้งซึ่งโจทก์ได้ตักเตือนเป็นหนังสือตามเอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.16 วันที่ 22 พฤษภาคม 2550 ต่อมาจำเลยมีคำสั่งที่ 55/2550 ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยเป็นเงิน 51,760 บาท แล้ววินิจฉัยว่า หนังสือเตือนของโจทก์นับย้อนหลังไปไม่เกินหนึ่งปีเป็นการเตือนเรื่องขาดงาน การนำรถยนต์เข้าไปจอดภายในบริษัทโดยไม่ได้แสดงบัตรจอดรถ หยุดงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และออกนอกพื้นที่การทำงานโดยไม่ได้ขออนุญาตตามลำดับ ส่วนหนังสือเตือนเป็นการเตือนในเรื่องไม่เชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ให้ไปรอคำสั่งการเปลี่ยนหน้าที่ในการทำงานใหม่ แต่การไม่เชื่อฟังคำสั่งของบังคับบัญชาที่โจทก์อ้างเป็นเหตุเลิกจ้างนั้น ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเกิดจากการที่นายพรชัยไม่ทำความเคารพกรรมการผู้จัดการโจทก์ที่นำลูกค้าชาวต่างประเทศเข้าเยี่ยมชมกิจการของโจทก์ ทำตัวไม่เหมาะสมและไม่ทำงาน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากนายพรชัยยอมทำงานในหน้าที่ใหม่แล้ว ดังนั้นการกระทำดังกล่าวของนายพรชัยจึงมิใช่กรณีเดียวกับเรื่องที่โจทก์เคยมีหนังสือเตือนและไม่ใช่กรณีร้ายแรง จึงมิใช่เหตุยกเว้นที่โจทก์จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งของจำเลยตามฟ้อง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การปลดนายพรชัยออกจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไม่ได้เกิดจากการที่นายพรชัยไม่ทำความเคารพกรรมการผู้จัดการของโจทก์เพียงอย่างเดียว ยังประกอบด้วยความผิดฐานไม่เอาใจใส่ในการปฏิบัติงานและฐานไม่เชื่อฟังคำสั่งของหัวหน้างานซึ่งโจทก์ได้เตือนเป็นหนังสือแล้ว เมื่อโจทก์เลิกจ้างนายพรชัยโดยรวมความผิดอื่นๆ ประกอบไปด้วยย่อมสามารถเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น เห็นว่า หนังสือเตือนตามเอกสารหมาย จ.13 จะมีข้อความว่าหัวหน้างานมีการติดตามผลการปฏิบัติงานของพนักงานพบว่าพนักงานไม่เอาใจใส่ในการปฏิบัติงาน ไม่มีการรายงานปัญหาในการผลิต ไม่มีความเอาใจใส่ในงานที่ได้รับมอบหมายและไม่เชื่อฟังคำสั่งของหัวหน้างานซึ่งทางหัวหน้ามีการแจ้งเพื่อปรับเปลี่ยนการทำงานที่ได้รับมอบหมายเพื่อหยุดปัญหาที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการผลิตจึงได้มีการปรับเปลี่ยนมารอคำสั่งในสำนักงานก่อนแต่ทางพนักงานไม่เชื่อฟังและไม่ปฏิบัติตาม จึงพิจารณาเห็นสมควรลงโทษเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรหนังสือเตือนดังกล่าวแม้จะมีการกล่าวถึงการไม่เอาใจใส่ในการปฏิบัติงาน ไม่เชื่อฟังคำสั่งของหัวหน้างานแต่เป็นการกล่าวอ้างเพื่อเปลี่ยนหน้าที่ในการทำงานแล้วมีคำสั่งให้นายพรชัยมารอคำสั่งในสำนักงานในวันที่ 10 และ 11 พฤษภาคม 2550 เมื่อนายพรชัยไม่ปฏิบัติตามจึงมีการออกหนังสือเตือนฉบับนี้ ส่วนหนังสือเตือนเอกสารหมาย จ.14 ก็เป็นกรณีนายพรชัยไม่ไปรอคำสั่งการเปลี่ยนหน้าที่ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2550 สำหรับเอกสารหมาย จ.15 เป็นกรณีที่นายพรชัยยังมิได้ไปรอคำสั่งในวันที่ 14 พฤษภาคม 2550 จึงถูกลงโทษโดยการพักงาน 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 15 ถึง 17 พฤษภาคม 2550 โดยไม่จ่ายค่าจ้าง เมื่อนายจ้างลงโทษลูกจ้างในเรื่องกระทำความผิดในเรื่องนั้นไปแล้วย่อมไม่สามารถนำมากล่าวอ้างว่าลูกจ้างทำผิดซ้ำ คำเตือนในเรื่องเดิมได้อีกส่วนเหตุในการเลิกจ้างนายพรชัยเกิดจากการที่นายพรชัยไม่ทำความเคารพกรรมการผู้จัดการโจทก์ในขณะที่นำลูกค้าชาวต่างประเทศเข้าเยี่ยมชมกิจการของโจทก์ ทำตัวไม่เหมาะสมและไม่ทำงาน ถึงแม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์แต่ก็มิใช่กรณีร้ายแรงที่โจทก์ไม่จำต้องตักเตือน ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้นต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

    พิพากษายืน
 
 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้ กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ




กฎหมายแรงงาน

เลิกจ้างอ้างเหตุลูกจ้างปกปิดคุณวุฒิเกี่ยวกับเนติบัณฑิตอันเป็นเท็จ article
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
นายจ้างมีอำนาจลงโทษตักเตือนบังคับบัญชาเป็นการจ้างแรงงาน article
ลูกจ้างส่งภาพโป๊ลามกอนาจารในเวลาทำงาน article
เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน article
นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือ article
สัญญาจ้างแรงงานนายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชา article
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีฐานะเป็นนายจ้าง article
ย้ายตำแหน่งลูกจ้างเป็นอำนาจของนายจ้างในทางบริหาร article
เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลแรงงาน article
เล่นอินเตอร์เน็ตในเวลาทำงานเลิกจ้างไม่ต้องบอกล่วงหน้า article
นายจ้างมอบอำนาจบังคับบัญชาให้ผู้อื่น article
ค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างที่ต้องถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย article
เงินค่านายหน้าในการยึดรถนอกจากค่าจ้างรายเดือนถือเป็นค่าจ้าง article
สัญญายอมความหลีกเลี่ยงไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า article