ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน

เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน 

การวางเงินเป็นบทบัญญัติที่บังคับให้เป็นหน้าที่ของนายจ้างต้องปฏิบัติเสียก่อนนำคดีไปฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ศาลไม่มีหน้าที่ต้องสั่งหรือเตือนให้นายจ้างวางเงิน เมื่อนายจ้างไม่วางเงินที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 125 วรรคสาม นายจ้างจึงฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้ กฎหมายให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3664/2551

          การวางเงินต่อศาลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่บังคับให้เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่เป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาลต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นการฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลไม่มีหน้าที่ต้องสั่งหรือเตือนให้นายจ้างที่เป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาลวางเงินดังกล่าว

          โจทก์ผู้เป็นนายจ้างฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ออกตามมาตรา 124 โดยไม่วางเงินที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 125 วรรคสาม โจทก์จึงฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้

          โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลพบุรีที่ 2/2549 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2549

          จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง

          จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ไม่ได้ให้การ
          ศาลแรงงานภาค 1 เห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์และจำเลย ให้งดสืบพยาน       ศาลแรงงานภาค 1 เห็นว่า โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างและไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานของจำเลยที่ 2 ได้นำคดีไปสู่ศาล แต่มิได้วางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานของจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง

          โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 2/2549 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2549 ของจำเลยที่ 2 ที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 โดยไม่วางเงินที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้นต่อศาลแรงงานภาค 1 หรือไม่ เห็นว่า ตามมาตรา 125 วรรคสาม บัญญัติให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ การวางเงินตามมาตรา 125 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่บังคับให้เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่เป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาลต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นการฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลไม่มีหน้าที่ต้องสั่งหรือเตือนให้นายจ้างที่เป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาลวางเงินดังกล่าว เมื่อโจทก์ผู้เป็นนายจ้างฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ออกตามมาตรา 124 ของจำเลยที่ 2 โดยไม่วางเงินที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้นและไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานภาค 1 ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 ขยายระยะเวลาวางเงินให้โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 125 วรรคสาม โจทก์จึงฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้

          พิพากษายืน.
 

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125

มาตรา 125 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตาม มาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมขอ ลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้นให้นำคดีไปสู่ศาลได้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง

วรรคสอง--ในกรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุด

วรรคสาม---ในกรณที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวาง เงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้

วรรคสี่----เมื่อคดีถึงที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจำนวนใดให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายให้ศาลมีอำนาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาลให้แก่ลูกจ้างหรือ ทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายได้




กฎหมายแรงงาน

เลิกจ้างอ้างเหตุลูกจ้างปกปิดคุณวุฒิเกี่ยวกับเนติบัณฑิตอันเป็นเท็จ
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง
นายจ้างมีอำนาจลงโทษตักเตือนบังคับบัญชาเป็นการจ้างแรงงาน
ลงโทษลูกจ้างในความผิดเรื่องนั้นแล้วไม่อาจอ้างคำเตือนเดิมเลิกจ้าง
ลูกจ้างส่งภาพโป๊ลามกอนาจารในเวลาทำงาน
นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือ
สัญญาจ้างแรงงานนายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชา
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีฐานะเป็นนายจ้าง
ย้ายตำแหน่งลูกจ้างเป็นอำนาจของนายจ้างในทางบริหาร
เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลแรงงาน
เล่นอินเตอร์เน็ตในเวลาทำงานเลิกจ้างไม่ต้องบอกล่วงหน้า
นายจ้างมอบอำนาจบังคับบัญชาให้ผู้อื่น
ค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างที่ต้องถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
เงินค่านายหน้าในการยึดรถนอกจากค่าจ้างรายเดือนถือเป็นค่าจ้าง
สัญญายอมความหลีกเลี่ยงไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า