ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




กฎหมายเดิมยกเลิกไปแล้วลงโทษได้หรือไม่?

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

 โจทก์ขอให้ลงโทษตามกฎหมายเดิมซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว

ศาลจะมีคำพิพากษาตัดสินความผิดจำเลยอย่างไร เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ ขอให้ลงโทษจำเลยโดยอ้างบทมาตราซึ่งถูกยกเลิกและแก้ไขใหม่แล้ว แต่มิได้อ้างมาตราที่แก้ไขใหม่ การที่โจทก์ยังคงขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายเดิม เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แต่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้

   คำพิพากษาศาลฎีกาที่  10765/2551

           โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยโดยอ้างบทมาตราซึ่งถูกยกเลิกและแก้ไขใหม่แล้ว แต่มิได้อ้างมาตราที่แก้ไขใหม่ ซึ่งบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ยังคงถือเป็นความผิด ดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่  การที่โจทก์ยังคงขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายเดิม เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แต่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วตามคำขอท้ายฟ้องจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบขึ้นมาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4

 
มาตรา 192  ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคำขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทำความผิดหรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และทำให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจำเลยเกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดั่งกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้

ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้

มาตรา 195  ข้อกฎหมายทั้งปวงอันคู่ความอุทธรณ์ร้องอ้างอิงให้แสดงไว้โดยชัดเจนในฟ้องอุทธรณ์ แต่ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือที่เกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยอุทธรณ์ เหล่านี้ผู้อุทธรณ์หรือศาลยกขึ้นอ้างได้ แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นก็ตาม

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 6, 8, 15, 19, 61, 73, 74

  จำเลยให้การรับสารภาพ

 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 6, 8, 15, 19, 61, 73, 74 ลงโทษจำคุก 2 เดือน และปรับ 6,000 บาท คำรับสารภาพของจำเลย ไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ไม่ลดโทษให้ โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30

            โจทก์อุทธรณ์ โดยรองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 8 รักษาการแทนอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 8 ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด รับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

          ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำคุกสถานเดียว ไม่ปรับและไม่รอการลงโทษ จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 เดือน ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังมีกำหนด 1 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ...ตามคำขอท้ายฟ้องว่า โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 61, 73 แต่ขณะจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2550 มีพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ออก ออกใช้บังคับโดยมาตรา 25 และมาตรา 29 ให้ยกเลิกความในมาตรา 61 และมาตรา 73 เดิม และให้ใช้ความใหม่แทน โดยมาตรา 61 ทั้งพระราชบัญญัติทางหลวงฉบับเดิมและฉบับที่มีการแก้ไขใหม่ยังบัญญัติเป็นบทความผิดห้ามการใช้ยานพาหนะบนทางหลวงโดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุก หรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าผู้อำนวยการทางหลวงได้ประกาศกำหนดเช่นเดียวกัน ส่วนบทกำหนดโทษตามมาตรา 73 (เดิม) ได้แก้ไขและมีบทบัญญัติเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 30 เป็นมาตรา 73/2 ดังนั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องยังคงถือเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ เพียงแต่มาตรา 73/2 กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งหนักกว่าโทษตามมาตรา 73 ของกฎหมายเดิม ที่ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การที่โจทก์ยังคงขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 61 และมาตรา 73 เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แต่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วตามคำขอท้ายฟ้องจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นมาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง และ มาตรา 225 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4

          พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 61 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่), 73/2 (ที่แก้ไขใหม่) ไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน แต่ให้วางโทษปรับจำเลย 6,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กึ่งหนึ่ง คงลงโทษปรับจำเลย 3,000 บาท แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี และคุมความประพฤติจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรกำหนด ให้จำเลยละเว้นการประพฤติใดอันอาจนำไปสู่การกระทำความผิดทำนองเดียวกันนี้อีก กับให้กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควรมีกำหนด 12 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8




คำพิพากษาฎีกาทั่วไป

ความผิดทางอาญาในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
นิติบุคคลเชิดกรรมการเป็นตัวแทนทำหนังสือมอบอำนาจไม่ประทับตราสำคัญ
สัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมเงิน
อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง
ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะ
อัตราโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทเกินอำนาจศาลแขวงพิจารณาพิพากษา
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
อายัดเงินฝากในบัญชี หลักประกันขอปล่อยตัวชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินสินสมรส
บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์
ครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเอง
อำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
หากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกันสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
หลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์
คำสั่งรับฎีกาของจำเลยไม่ชอบ
ผู้เช่าซื้อมีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีฐานยักยอกได้
ไม่มีเจตนาเล่นการพนันด้วยจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
ทารกในครรภ์มารดาสามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้
คำแถลงการณ์ปิดคดีในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด
บุคคลล้มละลายมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
เรียกโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าหนี้เงินกู้ยืม
ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
พ.ร.บ.ล้างมลทิน กับการเพิ่มโทษจำเลย
พรบ- ล้างมลทินไม่อาจมีผลย้อนหลังได้
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
รับเงินไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
จำเลยให้การรับสารภาพแต่ศาลยกฟ้อง
การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด
ร้องสภาทนายความจัดระเบียบ-ทนายความทวงหนี้
เช็คที่มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ-แก้ไขวันที่
ความผิดยาเสพติดให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ
หนี้ที่ต้องห้ามเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้
ร้านอาหารเปิดเพลงMP3ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง ทางศาลแรงงาน หรือพนักงานตรวจแรงงาน
การฟ้องคดีล้มละลาย ข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
ร้านอินเทอร์เน็ตและเกมส์ลงเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในคอมพิวเตอร์
เจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
ลูกจ้างได้รับประโยชน์ไม่เป็นการที่ต้องรับภาระมากกว่าที่พึงคาดหมายได้
การยื่นฎีกาเกี่ยวกับคดียาเสพติด
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอม
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว
ร้านอาหารตามสั่งเปิดแผ่นวีซีดีแพลงให้ลูกค้าฟัง
ฟ้องบุคคลล้มละลายเป็นคดีแพ่ง
ผู้ใหญ่บ้านถูกจับยาเสพติดมีโทษจำคุก 3 เท่า
เมาแล้วขับจำคุก 3 ปี โจทก์อ้างบทกฎหมายไม่ครบถ้วน
ศาลมีคำสั่งเป็นคนสาบสูญถือว่าถึงแก่ความตาย-เงินฌาปนกิจ
ทนายความละเมิดอำนาจศาล
สามีภริยาจดทะเบียนหย่ากันเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษี