

การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม ให้จำคุกจำเลยทั้งสามตลอดชีวิต ศาลฎีกา เห็นว่า การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด คดีได้ความว่า เหตุเกิดวันที่ 5 มีนาคม 2547 เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ดังนั้นขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุเกินกว่า 15 ปีบริบูรณ์แล้ว...พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก จำคุกคนละ 6 ปี ป.พ.พ. มาตรา 16 บัญญัติว่า การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2532 จึงต้องนับอายุแต่วันเกิดคือนับแต่วันที่ 5 มีนาคม 2532 เป็นหนึ่งวันเต็ม ผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/5 คดีได้ความว่า เหตุเกิดวันที่ 5 มีนาคม 2547 เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ดังนั้นขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุเกินกว่า 15 ปีบริบูรณ์แล้ว กรณีจึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 และ 317 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277, 317, 91, 83 จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในข้อหาพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจาร ข้อหาอื่นให้การปฏิเสธ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 จำคุกคนละ 6 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณานับเป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 3 ปี และจำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก จำคุกคนละ 4 ปี จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา นับเป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกคนละ 2 ปี 8 เดือน สำหรับจำเลยที่ 1 รวมจำคุก 5 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 2 จำคุก 8 ปี 8 เดือน และจำเลยที่ 3 จำคุก 2 ปี 8 เดือน โจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม ให้จำคุกจำเลยทั้งสามตลอดชีวิต ลดโทษให้จำเลยทั้งสามคนละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คงจำคุกคนละ 33 ปี 4 เดือน เมื่อรวมกับโทษในความผิดฐานอื่นแล้วเป็นจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 36 ปี 4 เดือน จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 39 ปี 4 เดือน และจำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 33 ปี 4 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ประการแรกว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 อายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์หรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16 บัญญัติว่า การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2532 จึงต้องนับอายุแต่วันเกิดคือนับแต่วันที่ 5 มีนาคม 2532 เป็นหนึ่งวันเต็ม ผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/5 คดีได้ความว่า เหตุเกิดวันที่ 5 มีนาคม 2547 เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ดังนั้นขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุเกินกว่า 15 ปีบริบูรณ์แล้ว... อนึ่ง สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งมิได้ฎีกาในความผิดตามมาตรา 277 แต่เมื่อได้ความว่า ผู้เสียหายที่ 1 อายุเกินกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ทำให้การกระทำของจำเลยทั้งสามไม่มีความผิด อันเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก จำคุกคนละ 6 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 78 คงจำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ยกและให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 3.
มาตรา 16 การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิดในกรณีที่รู้ว่าเกิดในเดือนใดแต่ไม่รู้วันเกิดให้นับวันที่หนึ่งแห่งเดือนนั้นเป็นวันเกิด แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใดให้นับอายุบุคคลนั้นตั้งแต่วันต้นปีปฏิทินซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด มาตรา 193/5 ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นสัปดาห์ เดือนหรือปี ให้ คำนวณตามปีปฎิทิน ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งสัปดาห์ วันต้นแห่งเดือนหรือปีระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งสัปดาห์ เดือนหรือปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น ถ้าในระยะ เวลานับเป็นเดือนหรือปีนั้นไม่มีวันตรงกันในเดือนสุดท้าย ให้ถือเอาวันสุดท้ายแห่งเดือนนั้นเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา
|