ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




การฟ้องคดีล้มละลาย ข้อสันนิษฐานของกฎหมาย

การฟ้องคดีล้มละลาย ข้อสันนิษฐานของกฎหมาย

การฟ้องคดีล้มละลาย โจทก์อาจอ้างว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตวตามความเป็นจริง หรือตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายก็ได้ ในกรณที่โจทก์ฟ้องโดยอ้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย โจทก์ก็มีหน้าที่เพียงนำสืบให้ต้องด้วยข้อสันนิษฐาน ถ้าโจทก์สืบไม่ได้ก็ถือไม่ได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ศาลก็ต้องยกฟ้อง แต่ถ้าโจทก์ฟ้องโดยอ้างว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายและตามความเป็นจริงด้วย แม้โจทก์สืบไม่เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายก็ต้องดูว่าโจทก์สืบได้หรือไม่ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามความเป็นจริงหรือไม่ด้วย หากสืบได้และประกอบหลักเกณฑ์อื่นตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ศาลก็ต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็กขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4286/2543
 
          ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันแก่โจทก์ถ้าลูกหนี้ชั้นต้นไม่ชำระหนี้ โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้รวมสามครั้ง แต่ในการทวงถามสองครั้งแรก ยังไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ชั้นต้นไม่ชำระหนี้ตามขั้นตอนในคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนั้น จำเลยชอบที่จะ ปฏิเสธไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามหนังสือทวงถามทั้งสองครั้งได้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามโดยชอบเพียงครั้งเดียวยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่า มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(9)
 

          โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา ที่ให้นางอรุณช่วยทอง ชำระเงิน 170,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีถ้านางอรุณไม่ชำระให้จำเลยชำระแทนในฐานะผู้ค้ำประกันโจทก์ส่งคำบังคับให้นางอรุณและจำเลยทราบแล้ว แต่นางอรุณได้ถึงแก่กรรมโจทก์จึงมีหนังสือบอกกล่าวให้ทายาทของนางอรุณชำระหนี้ แต่ทายาทนางอรุณไม่ชำระ โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้ว 2 ครั้ง มีระยะเวลาห่างกันมากกว่า 30 วัน แต่จำเลยไม่ชำระและจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย

          จำเลยให้การว่า โจทก์เพียงแต่มีหนังสือทวงถามให้ทายาทของนางอรุณชำระหนี้ให้โจทก์ แต่โจทก์มิได้สืบหาทรัพย์หรือบังคับคดีเอาจากกองมรดกนางอรุณก่อน โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย จำเลยมีอาชีพการงานดีและมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้ตามคำพิพากษา ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง

          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 และให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หักเงินจากกองทรัพย์สินของจำเลย ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดค่าทนายความตามจำนวนที่เห็นสมควร

          จำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า "จำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้ 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกตามหนังสือทวงถามลงวันที่ 2ตุลาคม 2538 เอกสารหมาย จ.9 ครั้งที่สองตามหนังสือทวงถามลงวันที่ 25กุมภาพันธ์ 2539 เอกสารหมาย จ.11 และครั้งที่สามลงวันที่ 22 ตุลาคม2539 เอกสารหมาย จ.7 หนังสือทวงถามครั้งแรกระบุว่าศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2538 ให้นางอรุณชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทนายความของโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามไปยังนางอรุณแล้วแต่นางอรุณไม่ยอมชำระและได้ถึงแก่กรรมแล้ว จึงให้จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันนำเงินตามคำพิพากษาศาลฎีกาไปชำระให้โจทก์ภายใน 15 วัน แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่านางอรุณได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ตั้งแต่เมื่อใด อันเป็นการแสดงให้เห็นว่านางอรุณไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวซึ่งมีผลทำให้โจทก์สามารถเรียกให้จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นอกจากนี้สำเนารายงานการเดินหมายเอกสารหมาย จ.16 ที่พนักงานเดินหมายได้นำคำบังคับไปส่งให้นางอรุณก็ปรากฏว่านางอรุณได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่พนักงานเดินหมายได้ปิดหมายให้นางอรุณทราบคำบังคับแล้ว จึงถือไม่ได้ว่านางอรุณไม่ชำระหนี้ตามขั้นตอนในคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว โจทก์ยังเรียกให้จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามครั้งแรก และทวงถามซ้ำตามหนังสือทวงถามครั้งที่สอง จำเลยชอบที่จะปฏิเสธไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ได้ส่วนหนังสือทวงถามครั้งที่สามซึ่งเป็นการทวงถามหลังจากที่โจทก์ทวงถามให้ทายาทของนางอรุณชำระหนี้ และทายาทของนางอรุณไม่ชำระ แม้โจทก์จะปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนในคำพิพากษาศาลฎีกาและจำเลยจะปฏิเสธการชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ได้ก็ตาม แต่ก็เป็นการที่จำเลยได้รับหนังสือทวงถามโดยชอบเพียงครั้งเดียว กรณีจึงไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9) กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลยอีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น"

          พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

  พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483

 มาตรา 8 ถ้ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งต่อไปนี้เกิดขึ้น ให้สันนิษฐานไว้ ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
 (1) ถ้าลูกหนี้โอนทรัพย์สินหรือสิทธิจัดการทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลอื่น เพื่อประโยชน์แห่งเจ้าหนี้ทั้งหลายของตน ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอก ราชอาณาจักร
 (2) ถ้าลูกหนี้โอน หรือส่งมอบทรัพย์สินของตนไปโดยการแสดงเจตนา ลวง หรือโดยการฉ้อฉล ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
 (3) ถ้าลูกหนี้โอนทรัพย์สินของตน หรือก่อให้เกิดทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง อย่างใดขึ้นเหนือทรัพย์สินนั้น ซึ่งถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะต้องถือว่าเป็นการ ให้เปรียบ ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
 (4) ถ้าลูกหนี้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งต่อไปนี้ เพื่อประวิงการ ชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
 ก. ออกไปเสียนอกราชอาณาจักร หรือได้ออกไปก่อนแล้วและคง อยู่นอกราชอาณาจักร
 ข. ไปเสียจากเคหะสถานที่เคยอยู่ หรือซ่อนตัวอยู่ในเคหะสถาน หรือหลบไป หรือโดยวิธีอื่น หรือปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ
 ค. ยักย้ายทรัพย์ไปให้พ้นอำนาจศาล
 ง. ยอมตนให้ต้องคำพิพากษา ซึ่งบังคับให้ชำระเงินซึ่งตนไม่ควร ต้องชำระ
 (5) ถ้าลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี หรือไม่มีทรัพย์สิน อย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้
 (6) ถ้าลูกหนี้แถลงต่อศาลในคดีใด ๆ ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
 (7) ถ้าลูกหนี้แจ้งให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดของตนทราบว่า ไม่สามารถ ชำระหนี้ได้
 (8) ถ้าลูกหนี้เสนอคำขอประนอมหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป
 (9) ถ้าลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อย กว่าสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันและลูกหนี้ไม่ชำระหนี้      

 




คำพิพากษาฎีกาทั่วไป

ความผิดทางอาญาในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
นิติบุคคลเชิดกรรมการเป็นตัวแทนทำหนังสือมอบอำนาจไม่ประทับตราสำคัญ
สัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมเงิน
อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง
ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะ
อัตราโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทเกินอำนาจศาลแขวงพิจารณาพิพากษา
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
อายัดเงินฝากในบัญชี หลักประกันขอปล่อยตัวชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินสินสมรส
บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์
ครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเอง
อำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
กฎหมายเดิมยกเลิกไปแล้วลงโทษได้หรือไม่?
หากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกันสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
หลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์
คำสั่งรับฎีกาของจำเลยไม่ชอบ
ผู้เช่าซื้อมีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีฐานยักยอกได้
ไม่มีเจตนาเล่นการพนันด้วยจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
ทารกในครรภ์มารดาสามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้
คำแถลงการณ์ปิดคดีในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด
บุคคลล้มละลายมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
เรียกโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าหนี้เงินกู้ยืม
ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
พ.ร.บ.ล้างมลทิน กับการเพิ่มโทษจำเลย
พรบ- ล้างมลทินไม่อาจมีผลย้อนหลังได้
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
รับเงินไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
จำเลยให้การรับสารภาพแต่ศาลยกฟ้อง
การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด
ร้องสภาทนายความจัดระเบียบ-ทนายความทวงหนี้
เช็คที่มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ-แก้ไขวันที่
ความผิดยาเสพติดให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ
หนี้ที่ต้องห้ามเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้
ร้านอาหารเปิดเพลงMP3ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง ทางศาลแรงงาน หรือพนักงานตรวจแรงงาน
ร้านอินเทอร์เน็ตและเกมส์ลงเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในคอมพิวเตอร์
เจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
ลูกจ้างได้รับประโยชน์ไม่เป็นการที่ต้องรับภาระมากกว่าที่พึงคาดหมายได้
การยื่นฎีกาเกี่ยวกับคดียาเสพติด
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอม
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว
ร้านอาหารตามสั่งเปิดแผ่นวีซีดีแพลงให้ลูกค้าฟัง
ฟ้องบุคคลล้มละลายเป็นคดีแพ่ง
ผู้ใหญ่บ้านถูกจับยาเสพติดมีโทษจำคุก 3 เท่า
เมาแล้วขับจำคุก 3 ปี โจทก์อ้างบทกฎหมายไม่ครบถ้วน
ศาลมีคำสั่งเป็นคนสาบสูญถือว่าถึงแก่ความตาย-เงินฌาปนกิจ
ทนายความละเมิดอำนาจศาล
สามีภริยาจดทะเบียนหย่ากันเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษี