ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




พรบ- ล้างมลทินไม่อาจมีผลย้อนหลังได้

พรบ- ล้างมลทินไม่อาจมีผลย้อนหลังได้-ลูกจ้างไม่อาจถือเอาประโยชน์จาก พรบ.ล้างมลทินย้อนหลัง

ในปี พศ. 2530 ลูกจ้างได้ถูกนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจไล่ออกเพราะเก็บเงินค่าโดยสารแล้วไม่ฉีกตั๋วให้ตามราคา ต่อมาในปี 2532 ลูกจ้างได้เปลี่ยนชื่อแล้วกลับมาสมัครเข้าทำงานกับนายจ้างใหม่โดยที่นายจ้างไม่รู้ ลูกจ้างทำงานถึงปี 2545 ได้มีผู้ร้องเรียนว่าลูกจ้างขาดคุณสมบัติ และเลิกจ้างในปี 2547 ซึ่งแม้ในปี 2539 ได้ประกาศ พรบ.ล้างมลทินก็ตาม แต่ลูกจ้างขาดคุณสมบัติในปี 2532 ดังนั้น ลูกจ้างไม่อาจถือเอาประโยชน์จาก พรบ.ล้างมลทินย้อนหลังไปถึงก่อนปี 2532ก่อนที่ลูกจ้างจะเข้ามาสมัครเป็นลูกจ้างอีกได้ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  10787/2551

 จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เคยถูกจำเลยลงโทษทางวินัยไล่ออกเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2530 ต่อมาโจทก์เปลี่ยนชื่อแล้วกลับมาสมัครงานกับจำเลยอีกครั้งในวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 จำเลยมีคำสั่งรับโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2532 ซึ่งตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2522 ที่ใช้อยู่เดิมในขณะที่โจทก์สมัครงานและระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2532 ซึ่งประกาศใช้ในขณะที่จำเลยมีคำสั่งรับโจทก์เข้าทำงานระบุให้การถูกไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจเป็นการขาดคุณสมบัติการเป็นพนักงานของจำเลย ต่อมาจำเลยได้รับหนังสือร้องเรียนจึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้วพบว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติการเป็นพนักงานของจำเลยตั้งแต่วันสมัครงานดังกล่าว จำเลยจึงมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เมื่อปี 2547 หลังจากที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ.2539 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งผลของ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ.2539 มีได้เฉพาะสิทธิประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเท่านั้น ดังนั้น แม้ขณะที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์พระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ขณะโจทก์เข้าทำงานเมื่อปี 2532 โจทก์เป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2522 และระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2532 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุโจทก์ขาดคุณสมบัติได้

  โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมและให้จำเลยชำระค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 10,460 บาท นับแต่เดือนมกราคม 2548 จนกว่าจำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงานให้แก่โจทก์
          จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

          ศาลแรงงานภาค 8 เห็นว่า พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 มาตรา 5 ได้ล้างมลทินแก่ผู้ถูกลงโทษทางวินัยที่ได้กระทำก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 จึงถือว่าโจทก์ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออกมาก่อน จำเลยจึงไม่อาจเลิกจ้างเพราะโจทก์ขาดคุณสมบัติ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะเลิกจ้าง

          จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ยุติในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานภาค 8 ว่า จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ ในปี 2528 โจทก์สมัครเข้าทำงานกับจำเลยในตำแหน่งพนักงานบริกร กองการเดินรถปรับอากาศ ต่อมาในปี 2529 จำเลยมอบหมายให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่พนักงานเก็บค่าโดยสารประจำรถสายกรุงเทพฯ - นครปฐม กองการเดินรถภาคใต้ วันที่ 17 กรกฎาคม 2530 โจทก์เรียกเก็บเงินค่าโดยสารแล้วไม่ฉีกตั๋วให้ครบราคา และได้นำตั๋วเก่าที่ได้จำหน่ายแล้วกลับมาจำหน่ายซ้ำอีก จำเลยสอบสวนแล้วเห็นว่าโจทก์กระทำส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2522 จึงมีคำสั่งบริษัทขนส่ง จำกัด ที่ 841/2530 ไล่โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2530 ต่อมาโจทก์ได้เปลี่ยนชื่อจาก“นรินทร์” เป็น “ชัยรัตน์” แล้วสมัครเข้าเป็นพนักงานของจำเลยในวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 โดยไม่แจ้งรายละเอียดที่เคยถูกไล่ออกไว้ในใบสมัครงานให้จำเลยทราบ จำเลยจึงมีคำสั่งบริษัทขนส่ง จำกัด ที่ 916/2532 เรื่อง จ้างพนักงานบริการประจำรถ (ชาย) จ้างโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2532 ในปี 2545 นายหลำได้มีหนังสือร้องเรียนโจทก์ต่อกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลย จำเลยจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัยสอบสวนโจทก์กรณีที่เคยถูกไล่ออกจากงานแล้ว แต่ได้เปลี่ยนชื่อและกลับมาสมัครเข้าเป็นพนักงานอีก แล้วเห็นว่าโจทก์เป็นผู้ขาดคุณสมบัติการเป็นพนักงานตั้งแต่ปี 2532 แม้ในปี 2539 จะมีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ก็เป็นการบัญญัติภายหลังที่โจทก์ขาดคุณสมบัติการเป็นพนักงานตั้งแต่วันสมัครเป็นพนักงานของจำเลยแล้ว จำเลยจึงมีคำสั่งบริษัทขนส่ง จำกัด ที่ ก. 534/2547 ให้โจทก์ออกจากงานฐานเป็นผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2532 ข้อ 6 (12)

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยประการเดียวว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติการเป็นพนักงานของจำเลยตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2522 และระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2532 ได้หรือไม่ เห็นว่า ผลของพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 มีได้เฉพาะสิทธิประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเท่านั้น ดังนั้น แม้ขณะที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 จะมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ขณะโจทก์เข้าทำงานเมื่อปี 2532 โจทก์เป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2522 และระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2532 จำเลยก็สามารถเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติได้ อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น

          พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

 




คำพิพากษาฎีกาทั่วไป

ความผิดทางอาญาในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
นิติบุคคลเชิดกรรมการเป็นตัวแทนทำหนังสือมอบอำนาจไม่ประทับตราสำคัญ
สัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมเงิน
อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง
ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะ
อัตราโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทเกินอำนาจศาลแขวงพิจารณาพิพากษา
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
อายัดเงินฝากในบัญชี หลักประกันขอปล่อยตัวชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินสินสมรส
บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์
ครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเอง
อำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
กฎหมายเดิมยกเลิกไปแล้วลงโทษได้หรือไม่?
หากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกันสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
หลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์
คำสั่งรับฎีกาของจำเลยไม่ชอบ
ผู้เช่าซื้อมีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีฐานยักยอกได้
ไม่มีเจตนาเล่นการพนันด้วยจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
ทารกในครรภ์มารดาสามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้
คำแถลงการณ์ปิดคดีในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด
บุคคลล้มละลายมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
เรียกโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าหนี้เงินกู้ยืม
ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
พ.ร.บ.ล้างมลทิน กับการเพิ่มโทษจำเลย
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
รับเงินไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
จำเลยให้การรับสารภาพแต่ศาลยกฟ้อง
การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด
ร้องสภาทนายความจัดระเบียบ-ทนายความทวงหนี้
เช็คที่มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ-แก้ไขวันที่
ความผิดยาเสพติดให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ
หนี้ที่ต้องห้ามเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้
ร้านอาหารเปิดเพลงMP3ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง ทางศาลแรงงาน หรือพนักงานตรวจแรงงาน
การฟ้องคดีล้มละลาย ข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
ร้านอินเทอร์เน็ตและเกมส์ลงเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในคอมพิวเตอร์
เจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
ลูกจ้างได้รับประโยชน์ไม่เป็นการที่ต้องรับภาระมากกว่าที่พึงคาดหมายได้
การยื่นฎีกาเกี่ยวกับคดียาเสพติด
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอม
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว
ร้านอาหารตามสั่งเปิดแผ่นวีซีดีแพลงให้ลูกค้าฟัง
ฟ้องบุคคลล้มละลายเป็นคดีแพ่ง
ผู้ใหญ่บ้านถูกจับยาเสพติดมีโทษจำคุก 3 เท่า
เมาแล้วขับจำคุก 3 ปี โจทก์อ้างบทกฎหมายไม่ครบถ้วน
ศาลมีคำสั่งเป็นคนสาบสูญถือว่าถึงแก่ความตาย-เงินฌาปนกิจ
ทนายความละเมิดอำนาจศาล
สามีภริยาจดทะเบียนหย่ากันเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษี