ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




ตัดไม้ประดู่ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จำคุก 6 เดือน

ตัดไม้ประดู่ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จำคุก 6 เดือน

พนักงานอัยการฟ้องจำเลยทั้งสองร่วมกันทำไม้โดยการตัด ฟัน โค่นล้มไม้ประดู่อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ที่มีและขึ้นอยู่ในป่าท้ายหมู่บ้านป่าสัก บนที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ของนายสะอาด อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และโดยไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 6 เดือน การตัดฟันและโค่นไม้ประดู่ในที่ดิน ส.ป.ก. จึงถือว่าเป็นการทำไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ 
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8371/2551

      พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาก็เพื่อนำไปใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มิได้มุ่งหมายให้ ส.ป.ก. มีกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับเจ้าของทรัพย์สินทั่วไปที่มีสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เมื่อที่ดินพิพาทเดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติเป็นที่ดินของรัฐ แม้ถูกเพิกถอนสภาพจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติอันเนื่องจากการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4) ก็ยังคงเป็นที่ดินของรัฐอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนประเภทของที่ดิน วัตถุประสงค์และการใช้ประโยชน์ในที่ดินและเปลี่ยนหน่วยงานของรัฐผู้ดูแลและใช้ประโยชน์ในที่ดินจากกรมป่าไม้เป็น ส.ป.ก. โดยให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา 36 ทวิ ยังคงเป็นที่ดินของรัฐตาม ป.ดิน มาตรา 2 ไม่อาจถือได้ว่า ส.ป.ก. เป็นบุคคลผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมายอื่นตาม ป.ที่ดิน มาตรา 3 (2) ที่ดินพิพาทจึงไม่มีบุคคลใดมาตามกฎหมายที่ดิน การที่ ส.ป.ก. ออกเอกสาร ส.ป.ก. 4-01 ก. ให้แก่เกษตรกรจึงเป็นเพียงหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินเท่านั้นไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายของที่ดินนั้น

          การที่ ส. ได้ที่ดินที่มีเอกสาร ส.ป.ก. 4-01 ก. มาไม่อาจถือได้ว่าเป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายอื่นตาม ป.ที่ดิน มาตรา 3 (2) จึงยังมิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน และยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (1) การที่จำเลยที่ 1 ตัดฟันโค่นไม้ประดู่อันเป็นไม่หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ก. ของ ส. โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต
 
ป.พ.พ.
มาตรา 1336  ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ป.ที่ดิน

มาตรา 2 ที่ดินซึ่งมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ถือว่าเป็นของรัฐ
มาตรา 3 บุคคลย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามบทกฎหมาย ก่อนวันที่ประมวลกฎหมาย นี้ใช้บังคับ หรือได้มาซึ่งโฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายนี้
(2) ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการ ครองชีพหรือกฎหมายอื่น

พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518
มาตรา 26 เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินใช้บังคับใน ท้องที่ใดแล้ว
 (1) ถ้าในเขตปฎิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับ พลเมืองใช้ร่วมกันแต่พลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น หรือได้เปลี่ยนแปลง สภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันก็ดี หรือพลเมืองยังใช้ ประโยชน์ในที่ดินนั้นอยู่หรือยังไม่เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมือง ใช้ร่วมกันเมื่อได้จัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทน โดยคณะกรรมการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ดี ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูป ที่ดินนั้นมีผล เป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดิน ดังกล่าวโดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน และให้ ส.ป.ก.มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้
 (2) ถ้าในเขตปฎิรูปที่ดินนั้นมีที่ดิน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือที่ดินที่ได้สงวนหรือหวง ห้ามไว้ตามความต้องการของทางราชการ เมื่อกระทรวงการคลังได้ให้ความ ยินยอมแล้วให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินนั้นมีผลเป็นการถอนสภาพ การเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับที่ดินดังกล่าวโดยมิต้องดำเนินการ ถอนสภาพตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุและให้ ส.ป.ก.มีอำนาจนำที่ดินนั้นมา ใช้ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้
 (3) ถ้าในเขตปฎิรูปที่ดินนั้นมีที่ดิน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่ง เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็น ของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดินและที่ดินนั้นอยู่นอกเขตป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรีให้ ส.ป.ก.มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมได้
 (4) ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ ดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก.จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตร กรรม ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวน แห่งชาติ
 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตาม(4) ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราช บัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ และมีอำนาจในการให้เช่าที่ดินอันเป็นป่าสงวนแห่ง ชาติดังกล่าวได้ และให้ค่าเช่าที่ได้มาตกเป็นของกองทุนการปฎิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม

มาตรา 36ทวิ บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก.ได้มา ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิเพื่อใช้ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมีอำนาจออกหนังสือแสดง สิทธิในที่ดินเกี่ยวกับที่ดินของ ส.ป.ก.ตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามที่ ส.ป.ก. ร้องขอ

พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484
มาตรา 11 ผู้ใดทำไม้ หรือเจาะ หรือสับ หรือเผา หรือทำ อันตรายด้วยประการใด ๆ แก่ไม้หวงห้าม ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือได้รับสัมปทานตามความในพระราชบัญญัตินี้ และต้องปฏิบัติ ตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในการอนุญาต
 การอนุญาตนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้ว จะอนุญาตให้ผูกขาดโดยให้ผู้ได้รับอนุญาตเสียเงินค่าผูกขาดให้แก่รัฐบาลตาม จำนวนที่รัฐมนตรีกำหนดก็ได้
 การอนุญาตโดยวิธีผูกขาดหรือให้สัมปทานสำหรับการทำไม้ฟืนหรือไม้ เผาถ่านไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้กระทำได้เฉพาะในเขตป่าที่ห่างไกล และกันดาร หรือเฉพาะการทำไม้ชนิดที่มีค่าหรือหายาก
 การพิจารณาคำขออนุญาตผูกขาดหรือสัมปทานตามความในวรรคก่อน ให้กระทำโดยคณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง

มาตรา 73 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 13 มาตรา 31 หรือ มาตรา 48 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 ในกรณีความผิดตาม มาตรา นี้ ถ้าการกระทำผิดนั้นเกี่ยวกับ
 (1) ไม้สัก ไม้ยาง หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. หรือ
 (2) ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง รวมกันเกินยี่สิบต้น หรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร หรือไม้ ที่ได้แปรรูปแล้วรวมปริมาตรไม้เกินสองลูกบาศก์เมตร
 ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับ ตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท
 
          โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2545 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง จำเลยทั้งสองกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ จำเลยทั้งสองร่วมกันทำไม้โดยการตัด ฟัน โค่นล้มไม้ประดู่อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ที่มีและขึ้นอยู่ในป่าท้ายหมู่บ้านป่าสัก ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าด้วยเกียงพาและป่าน้ำไคร้ แล้วตัดออกเป็นท่อน ๆ เพื่อแปรรูปและชักลากออกจากป่าต่อไป อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และโดยไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองร่วมกันแปรรูปไม้ประดู่ท่อนดังกล่าว โดยการเลื่อนออกเป็นแผ่น ได้ไม้ประดู่แปรรูปจำนวน 11 แผ่น ปริมาตร 0.18 ลูกบาศก์เมตร ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และจำเลยทั้งสองร่วมกันมีไม้ประดู่อันยังมิได้แปรรูปจำนวน 10 ท่อน ปริมาตร 0.32 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองโดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขาย เหตุเกิดที่ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2484 มาตรา 4, 14, 31, 35 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4, 7, 11, 47, 48, 69, 73, 74, 74 ทวิ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และริบของกลาง

          จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคหนึ่ง จำคุก 6 เดือน และปรับ 6,000 บาท คำให้การของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวนและทางนำสืบของจำเลยที่ 1 ในชั้นพิจารณาเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสาม คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 4 เดือน และปรับ 4,000 บาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบของกลาง ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

          จำเลยที่ 1 อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย คืนไม้ประดู่ที่ไม่ได้แปรรูป 10 ท่อน และไม้ประดู่แปรรูป 11 ท่อน กับรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน บ-0321 อุตรดิตถ์ ของกลาง แก่เจ้าของ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีสิ่งแวดล้อมวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังยุติว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยที่ 1 ตัด ฟัน โค่นล้มไม้ประดู่อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ก. ของนายสะอาดซึ่งได้รับอนุญาตจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวและอยู่ในเขตการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามสำเนา ส.ป.ก. 4-01 ก. เอกสารหมาย ล.1 คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 หรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า เอกสาร ส.ป.ก. 4-01 มิใช่หลักฐานแสดงถึงการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายอื่นตามความหมายของมาตรา 3 (2) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินที่นายสะอาดครอบครองอยู่จึงยังเป็นป่า การตัดฟันและโค่นไม้ประดู่ในที่ดิน ส.ป.ก. จึงถือว่าเป็นการทำไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ ปัญหาดังกล่าว พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เห็นว่า บทบัญญัติมาตรา 36 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาก็เพื่อนำไปใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมิได้มุ่งหมายให้ ส.ป.ก. มีกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับเจ้าของทรัพย์สินทั่วไปที่มีสิทธิ์ใช้สอย จำหน่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 เมื่อที่ดินพิพาทเดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติเป็นที่ดินของรัฐ แม้ถูกเพิกถอนสภาพจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติอันเนื่องจากการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4) ก็ตาม ก็ยังคงเป็นที่ดินของรัฐอยู่เพียงแต่เปลี่ยนประเภทของที่ดิน วัตถุประสงค์และการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และเปลี่ยนหน่วยงานของรัฐผู้ดูแลและใช้ประโยชน์ในที่ดินจากกรมป่าไม้เป็น ส.ป.ก. โดยให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามมาตรา 36 ทวิ ที่ดินพิพาทยังคงเป็นที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 2 ไม่อาจถือได้ว่า ส.ป.ก. เป็นบุคคลผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมายอื่นตามความหมายของประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 3 (2) ที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินที่มิได้มีบุคคลใดได้มาตามกฎหมายที่ดิน การที่ ส.ป.ก. ออก เอกสาร ส.ป.ก. 4-01 จัดสรรในที่ดินของรัฐให้แก่เกษตรกรจึงเป็นเพียงหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสถานนะทางกฎหมายของที่ดินนั้น ดังนั้นที่นายสะอาดได้ที่ดินที่มีเอกสาร ส.ป.ก. 4-01 ก. ตามเอกสารหมาย ล.1 ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายอื่นตามที่บัญญัติในมาตรา 3 (2) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินดังกล่าวจึงยังมิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน และยังคงเป็นป่าตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ การที่จำเลยที่ 1 ตัดฟันโค่นไม้ประดู่อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ก. ของนายสะอาดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามาเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย”

          พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 73 วรรคหนึ่ง ให้บังคับโทษจำเลยที่ 1 และริบของกลางไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6

 




กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินสิทธิครอบครอง

บุคคลใดยึดถือที่ดินมีเจตนายึดถือเพื่อตนย่อมได้สิทธิครอบครอง
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
เจ้าของที่ดินไม่ได้ไประวังแนวเขต
สิทธิเหนือพื้นดินจะได้มาก็แต่โดยนิติกรรมเท่านั้น
สิทธิครอบครองที่ดินของรัฐ
สร้างบ้านโดยอาศัยสิทธิไม่ตกเป็นส่วนควบ
อำนาจฟ้องขับไล่ผู้มีสิทธิอาศัย
การโอนการครอบครอง | อำนาจฟ้อง
อายุความหนึ่งปี | แย่งการครอบครอง
สิทธิครอบครอง | อำนาจฟ้องขับไล่