ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




อำนาจฟ้องขับไล่ผู้มีสิทธิอาศัย

อำนาจฟ้องขับไล่ผู้มีสิทธิอาศัย

เจ้าของเดิมอนุญาตให้จำเลยพักอาศัยในบ้านหลังหนึ่งต่อมาเจ้าของเดิมเสียชีวิต จำเลยปลูกบ้านหลังใหม่แทนหลังเดิม เมื่อโรงเรือนได้ถูกรื้อถอนไปแล้วโดยจำเลยแล้วสิทธิอาศัยที่จำเลยได้ทำไว้กับเจ้าของเดิมย่อมสิ้นลงและไม่มีโรงเรือนอันจะมีสิทธิอาศัยอีกต่อไป การที่จำเลยปลูกบ้านใหม่ขึ้นแทนภายหลังจากที่เจ้าของเดิมถึงแก่ความตายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก็หาก่อให้เกิดสิทธิอาศัยขึ้นมาใหม่แต่อย่างใดไม่ บ้านหลังใหม่ จึงเป็นส่วนควบของที่ดินตกเป็นของเจ้าของที่ดินและเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้าของเดิมชอบที่จะจัดการมรดกโดยทั่วไป จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวแต่อย่างใด 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2551

 แม้การอยู่อาศัยที่ ป. ได้ให้ไว้แก่ ฮ. และจำเลยที่ 1 จะเป็นบุคคลสิทธิใช้ยันโจทก์ทั้งสอง ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ให้ปฏิบัติตามได้ก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1402 บัญญัติว่า “บุคคลใดรับสิทธิอาศัยในโรงเรือน บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า” และมาตรา 1408 บัญญัติว่า “เมื่อสิทธิอาศัยสิ้นลงผู้อาศัยต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่ผู้ให้อาศัย” เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บ้านเลขที่ 30 (เดิม) ซึ่งเป็นโรงเรือนได้ถูกรื้อถอนไปแล้วโดยจำเลยทั้งสองเช่นนี้ สิทธิอาศัยที่ ฮ. และจำเลยที่ 1 ได้ทำไว้กับ ป. ย่อมสิ้นลงจึงไม่มีโรงเรือนอันจะมีสิทธิอาศัยตามบทกฎหมายข้างต้น การที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ขึ้นแทนภายหลังจากที่ ป. ถึงแก่ความตาย โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสองก็หาก่อให้เกิดสิทธิอาศัยขึ้นมาใหม่แต่อย่างใดไม่ และการที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ในที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอม บ้านเลขที่ 30 (ใหม่) จึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 ทั้งเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดิน่ของผู้อื่นโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1311 การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) เช่นนี้พอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ประสงค์จะให้บ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ซึ่งเป็นโรงเรือนคงอยู่ตามมาตรา 1311

          โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหาย 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์เสร็จสิ้น ให้จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 2973 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองและบริวารออกจากบ้านเลขที่ 30

          จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ
          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 2973 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 22 มีนาคม 2544) เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองและบริวารจะออกไปจากบ้านเลขที่ 30 กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท คำขออื่นให้ยก

          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเดือนละ 2,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองและบริวารจะออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 2973 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ไขให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          จำเลยทั้งสองฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองหรือไม่ โดยจำเลยทั้งสองฎีกาว่า การที่นายไฮ้และจำเลยที่ 1 อาศัยอยู่ในบ้านเลขที่ 30 เป็นการอยู่อาศัยโดยนายประมุข อนุญาต แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานก็เป็นบุคคลสิทธิที่ใช้บังคับได้ โจทก์ทั้งสองเป็นเพียงผู้จัดการมรดกของนายประมุขเท่านั้น จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองนั้น เห็นว่า แม้การอยู่อาศัยที่นายประมุขได้ให้ไว้แก่นายไฮ้และจำเลยที่ 1 จะเป็นบุคคลสิทธิใช้ยันโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกนายประมุขให้ปฏิบัติตามได้ก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1402 บัญญัติว่า “บุคคลใดได้รับสิทธิอาศัยโรงเรือน บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า” และมาตรา 1408 บัญญัติว่า “เมื่อสิทธิอาศัยสิ้นลงผู้อาศัยต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่ผู้ให้อาศัย” เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บ้านเลขที่ 30 (เดิม) ซึ่งเป็นโรงเรือนได้ถูกรื้อถอนไปแล้วโดยจำเลยทั้งสองเช่นนี้ สิทธิอาศัยที่นายไฮ้และจำเลยที่ 1 ได้ทำไว้กับนายประมุขย่อมสิ้นลงจึงไม่มีโรงเรือนอันจะมีสิทธิอาศัยตามบทกฎหมายข้างต้น การที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ขึ้นแทนภายหลังจากที่นายประมุขถึงแก่ความตายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสองก็หาก่อให้เกิดสิทธิอาศัยขึ้นมาใหม่แต่อย่างใดไม่ และการที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ในที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอม บ้านเลขที่ 30 (ใหม่) จึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 ทั้งเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1311 การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) เช่นนี้พอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของนายประมุขประสงค์จะให้บ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ซึ่งเป็นโรงเรือนคงอยู่ตามมาตรา 1311 ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ดังวินิจฉัยมาแล้วเช่นนี้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของนายประมุขชอบที่จะจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และมาตรา 1736 วรรคสอง จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวแต่อย่างใด สำหรับคำพิพากษาฎีกาที่จำเลยทั้งสองอ้างข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผลฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 มาตรา 144   ส่วนควบของทรัพย์หมายความว่าส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้นและไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลายทำให้บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือ สภาพไป

เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น

มาตรา 1299 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่น ท่านว่าการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอัน เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและ ได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่

ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของผู้ได้มานั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียน นั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและ โดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว

มาตรา 1311 บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของ เว้นแต่เจ้าของ จะเลือกให้ส่งคืนตามที่เป็นอยู่ ในกรณีเช่นนี้เจ้าของที่ดินต้องใช้ราคาโรงเรือน หรือใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้น แล้วแต่จะเลือก

มาตรา 1402 บุคคลใดได้รับสิทธิอาศัยในโรงเรือน บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า

มาตรา 1405 สิทธิอาศัยนั้นถ้ามิได้จำกัดไว้ชัดแจ้งว่าให้เพื่อประโยชน์ แก่ผู้อาศัยเฉพาะตัวไซร้ บุคคลในครอบครัวและในครัวเรือนของผู้อาศัยจะอยู่ ด้วยก็ได้       




กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินสิทธิครอบครอง

บุคคลใดยึดถือที่ดินมีเจตนายึดถือเพื่อตนย่อมได้สิทธิครอบครอง
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
เจ้าของที่ดินไม่ได้ไประวังแนวเขต
ตัดไม้ประดู่ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จำคุก 6 เดือน
สิทธิเหนือพื้นดินจะได้มาก็แต่โดยนิติกรรมเท่านั้น
สิทธิครอบครองที่ดินของรัฐ
สร้างบ้านโดยอาศัยสิทธิไม่ตกเป็นส่วนควบ
การโอนการครอบครอง | อำนาจฟ้อง
อายุความหนึ่งปี | แย่งการครอบครอง
สิทธิครอบครอง | อำนาจฟ้องขับไล่