ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




บันทึกไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินและยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้เดียว

บันทึกไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินและยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้เดียว

การสละมรดกนั้น กฎหมายกำหนดว่าจะทำแต่เพียงบางส่วน หรือทำโดยมีเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่การสละมรดกที่มีเงื่อนไขว่าส่วนของตนยกให้ทายาทอื่นนั้นต้องห้ามเป็นผลให้ไม่เป็นการสละมรดกไม่ชอบ แต่หนังสือสละมรดกดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันทรัพย์มรดกผูกพันคู่สัญญา

           มาตรา 1612 การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ           

           มาตรา 1613 การสละมรดกนั้น จะทำแต่เพียงบางส่วน หรือทำโดยมีเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาไม่ได้
            (วรรค 2)การสละมรดกนั้น จะถอนเสียมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4921/2552

          การสละมรดกมี ป.พ.พ. มาตรา 1612 บัญญัติให้กระทำได้ 2 แบบคือ แสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ คำว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 หมายถึง ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอหรือหัวหน้ากิ่งอำเภอและหมายรวมถึงบุคคลที่กระทำหน้าที่แทนด้วย ดังนั้น การที่บุตรทั้งเจ็ดของเจ้ามรดกไปให้ถ้อยคำและทำบันทึกหลักฐานเป็นหนังสือระบุชัดแจ้งว่าไม่ขอรับโอนมรดกที่ดินไว้ต่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำสำนักงานที่ดินอำเภอสวี ในฐานะเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินปฏิบัติราชการแทนนายอำเภอ ซึ่งนายอำเภอมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 (10) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นที่จะมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการที่ประจำอยู่ในอำเภอปฏิบัติราชการแทนได้ จึงเป็นการแสดงเจตนาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว แต่การที่บุตรทั้งเจ็ดระบุว่า ไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้และยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้เดียว ไม่ใช่การสละมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 เพราะเป็นการสละมรดกโดยมีเงื่อนไข ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1613 อย่างไรก็ตามบันทึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลใช้บังคับผูกพันบุตรทั้งเจ็ดกับจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850, 852 และ 1750

          โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 843 และ 845 ตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมกึ่งหนึ่ง หากเพิกเฉยให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน และให้จำเลยนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวไปยื่นขอแบ่งแยกแก่โจทก์แปลงละกึ่งหนึ่ง หากแบ่งไม่ได้ให้ประมูลราคากันระหว่างโจทก์จำเลยหรือขายทอดตลาดนำเงินแบ่งแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง

          จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยร่วมกับโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายหิรัญนำที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เลขที่ 843 และ 845 ตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร แบ่งให้แก่โจทก์ 1 ใน 9 ส่วน หากแบ่งไม่ได้ให้ประมูลราคากันระหว่างโจทก์และจำเลยหรือขายทอดตลาดนำเงินให้แก่โจทก์ 1 ใน 9 ส่วน ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

          โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยรับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า การที่บุตรของจำเลยทั้งเจ็ดคนทำหลักฐานการไม่ขอรับโอนมรดก เป็นผลให้โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกตามฟ้องเพียงใด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นการที่บุตรของจำเลยกับนายหิรัญทั้งเจ็ดคนไปให้ถ้อยคำโดยทำหลักฐานเป็นหนังสือแจ้งโดยชัดแจ้งไม่ขอรับโอนมรดกที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.)  โดยระบุให้โอนมรดกส่วนของตนให้แก่จำเลยไว้ต่อนายสุเมธเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำสำนักงานที่ดินอำเภอสวี และนายสุเมธได้ลงนามในช่องพนักงานเจ้าหน้าที่โดยประทับตราระบุตำแหน่งว่า เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอปฏิบัติราชการแทนนายอำเภอตามหลักฐานการไม่ขอรับโอนมรดก ซึ่งนายอำเภอสวีมีอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 (10) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นที่จะมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการประจำอยู่ในอำเภอสวีปฏิบัติราชการแทนได้ ดังนั้นที่บุตรของจำเลยกับนายหิรัญทั้งเจ็ดคนไปแจ้งดังกล่าวจึงเป็นการแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย แต่การที่ระบุด้วยว่าให้โอนมรดกส่วนของตนให้แก่จำเลย ทำให้การจัดแบ่งทรัพย์มรดกไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและเป็นการทำโดยมีเงื่อนไขต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1613 เป็นผลให้ไม่เป็นการสละมรดกโดยชอบ แต่อย่างไรก็ตามบันทึกหลักฐานการไม่ขอรับโอนมรดก มีทั้งบุตรของจำเลยทั้งเจ็ดคนผู้ให้ และจำเลยผู้รับลงลายมือชื่อไว้มีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความแบ่งปันทรัพย์มรดกกันย่อมผูกพันคู่สัญญามีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850, 852 และ 1750 เมื่อนำทรัพย์มรดกในส่วนที่จำเลยได้รับจากบุตรทั้งเจ็ดคนรวมกับส่วนของจำเลยเองแล้ว จำเลยมีส่วนได้ที่ดินมรดกตามฟ้อง 8 ใน 9 ส่วน สำหรับโจทก์มีส่วนได้รับ 1 ใน 9 ส่วน ซึ่งเท่ากับที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ศาลฎีกาจึงเห็นพ้องด้วยในผลของคำพิพากษา อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น...

          พิพากษายืน คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่เกินมาแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์นอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ 




เรื่องมรดก

บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย
การจัดการทรัพย์มรดกซึ่งมีผู้เยาว์เป็นทายาทอยู่ด้วย
โฉนดที่ดินยังมีชื่อเจ้ามรดกทายาทมีอำนาจฟ้อง
เจ้ามรดกได้จำหน่ายทรัพย์โดยพินัยกรรมแล้ว
นำพินัยกรรมซึ่งเป็นโมฆะมายื่นขอตั้งผู้จัดการมรดก
ในฐานะที่จะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
เป็นผู้จัดการมรดก 2 ปีไม่แบ่งทรัพย์มรดก
ข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความของผู้ค้ำประกัน
ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?
หน้าที่ของผู้จัดการมรดกมีอะไรบ้าง?
การแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก
เพิกถอนการจดทะเบียนโอน
สิทธิเรียกร้องมรดกขาดอายุความแล้วหรือไม่?
สิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้
วัดก็สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้
การมอบอำนาจบกพร่อง
บุคคลที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทเป็นปฏิปัษ์ต่อกัน,ทรัพย์มรดก
ถือเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก
ดุลพินิจศาลในการตั้งผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมยกทรัพย์ให้สถานที่สักการะ
เจ้าหนี้ร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดก
การสืบมรดกของทายาทผู้สละมรดก
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก
ทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งกัน,อายุความ
สัญญายอมความส่วนแบ่งมรดก
โอนมรดกในส่วนของทายาทอื่น
สิทธิของทายาทโดยธรรมต่างลำดับ
บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดก
หน้าที่ผู้จัดการมรดกต่อทายาทโดยธรรม
ทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย article
ที่ดินผู้ตายสละการครอบครองไม่ใช่มรดก
ผู้ขายทำพินัยกรรมหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน
ทรัพย์สินผู้ตายในขณะทำพินัยกรรม
พินัยกรรมมิได้ลงวันเดือนปีเป็นโมฆะ
ดอกผลธรรมดาของสุกรเป็นมรดก
ดอกผลของที่ดินทรัพย์มรดก
เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก
ทายาทถูกตัดไม่ให้รับมรดก
อายุความมรดกตามมาตรา 1754
บิดาสายโลหิต สิทธิรับมรดกบุตรนอกกฎหมาย