ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




ทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย article

ทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย

เงินสังขารานุเคราะห์เป็นเงินที่ผู้รับประโยชน์จะได้รับหลังจากที่สมาชิกถึงแก่ความตายแล้ว มิใช่ทรัพย์สินที่สมาชิกผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย การที่สมาชิกผู้ตายระบุชื่อผู้รับประโยชน์เงินสังขารานุเคราะห์ไว้ สิทธิของผู้รับประโยชน์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเมื่อผู้รับประโยชน์ตายก่อนสมาชิกโดยมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังนั้นสิทธิในเงินสังขารานุเคราะห์จึงยังไม่เกิดขึ้นและไม่อาจตกทอดไปยังทายาทของผู้รับประโยชน์แม้เงินดังกล่าวจะมิใช่ทรัพย์มรดกของสมาชิกผู้ถึงแก่ความตายแต่กฎหมายลักษณะมรดกซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับ ดังนั้นเงินดังกล่าวควรตกแก่ทายาทโดยธรรมของสมาชิกผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2401/2515

 ผู้ตายเป็นสมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขระบุชื่อ ส. บิดาเป็นผู้รับประโยชน์เงินสังขารานุเคราะห์ไว้ ตามข้อบังคับ ย่อมมีผลว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข โดยองค์การดังกล่าวได้ทำสัญญาว่า จะชำระหนี้แก่ ส. บุคคลภายนอกสิทธิของ ส. จะเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น เมื่อ ส. ตายเสียก่อนโดยมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาสิทธิของ ส.ในเงินสังขารานุเคราะห์จึงยังไม่เกิดขึ้นและไม่อาจตกทอดเป็นทรัพย์มรดกไปยังทายาทของ ส.

          เงินสังขารานุเคราะห์เป็นเงินที่ผู้รับประโยชน์จะได้รับหลังจากที่สมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขถึงแก่ความตายแล้ว มิใช่ทรัพย์สินที่สมาชิกผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย

          (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 132/2507)

          ตามข้อบังคับกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อสมาชิกตาย ให้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์แก่ผู้รับประโยชน์ซึ่งสมาชิกผู้ตายได้ระบุชื่อไว้ แต่เมื่อผู้รับประโยชน์นั้นตายก่อนสมาชิก ย่อมไม่มีตัวผู้รับประโยชน์ที่จะรับเงินสังขารานุเคราะห์ได้ตามข้อบังคับ แม้เงินสังขารานุเคราะห์จะมิใช่ทรัพย์มรดกของสมาชิกผู้ถึงแก่ความตาย แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับ เงินสังขารานุเคราะห์ดังกล่าวจึงควรจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมของสมาชิกผู้ตาย เสมือนหนึ่งทรัพย์มรดก

          กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยให้การว่า ได้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่ทายาทของผู้รับประโยชน์เป็นการถูกต้องตามข้อบังคับแล้ว เท่ากับรับว่าองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข จะมายกข้อโต้แย้งขึ้นในชั้นฎีกาว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข ไม่ ต้องรับผิดจ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ หาได้ไม่

          (วรรคหนึ่งถึงสามวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่23/2515)

  โจทก์ฟ้องว่า นายวิทยาสามีโจทก์ที่ 1 บิดาโจทก์ที่ 2 เป็นสมาชิกองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข (อ.ส.ค.) ซึ่งจำเลยที่ 1 จัดตั้งและจำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการ นายวิทยาระบุนายสมบุญบิดาเป็นผู้รับประโยชน์ แต่นายสมบุญตายไปก่อน บัดนี้นายวิทยาตาย จำเลยไม่ยอมจ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ (ส.ข.น.) ให้โจทก์ ขอให้บังคับ

    จำเลยต่อสู้ว่า สิทธิที่จะรับประโยชน์รายนี้ตกทอดไปยังทายาทของนายสมบุญ คือ นางสุวรรณภริยาของนายสมบุญ ซึ่งจำเลยได้จ่ายไปแล้ว

  คู่ความรับข้อเท็จจริงกัน ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน แล้ววินิจฉัยว่า นายสมบุญผู้รับประโยชน์ตายก่อนนายวิทยา ข้อกำหนดนี้จึงตกไป แต่ข้อบังคับไม่กำหนดไว้ว่าจะจัดการอย่างไรในกรณีไม่มีตัวผู้รับประโยชน์ จึงไม่อาจมีคำสั่งให้จำเลยจัดการตามที่โจทก์ขอพิพากษายกฟ้อง

  โจทก์อุทธรณ์

    ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ผู้ควรได้รับการสงเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของ อ.ส.ค. คือสมาชิกในครอบครัว ซึ่งได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายมีนางสุวรรณมารดานายวิทยาผู้ตาย และโจทก์ทั้งสองคนละส่วน พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 1 ใช้เงิน 13,426 บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2, 3 เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้กระทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย

    จำเลยที่ 1 ฎีกา

   ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาคดีนี้โดยมติที่ประชุมใหญ่

   ปัญหาที่ว่า การที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่นางสุวรรณภริยานายสมบุญไปนั้น เป็นการชอบด้วยข้อบังคับกรมไปรษณีย์โทรเลขว่าด้วยองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขฯ หรือไม่

     ตามข้อบังคับระบุไว้ว่า เมื่อสมาชิกผู้ใดถึงแก่กรรม อ.ส.ค.จะจ่ายเงิน ส.ข.น. ให้แก่ผู้รับประโยชน์ที่สมาชิกผู้ถึงแก่กรรมได้ระบุชื่อไว้แก่ อ.ส.ค.

   เมื่อปรากฏว่านายสมบุญซึ่งนายวิทยาผู้ถึงแก่กรรมได้ระบุชื่อไว้นั้น ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อนนายวิทยา ดังนี้ จึงไม่มีตัวผู้รับประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 จะจ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้ตามข้อบังคับการที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่นางสุวรรณไป จึงเป็นการมิชอบด้วยข้อบังคับ

     การที่นายวิทยา นิยม ได้ระบุชื่อนายสมบุญ นิยม เป็นผู้รับประโยชน์ไว้ในใบสมัครเป็นสมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขตามข้อบังคับกรมไปรษณีย์โทรเลขมีผลว่า กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 1 โดยองค์การดังกล่าวได้ทำสัญญาว่าจะชำระหนี้แก่นายสมบุญ นิยม บุคคลภายนอก สิทธิของนายสมบุญ นิยม จะเกิดมีขึ้นก็ต่อเมื่อตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ก่อนนายสมบุญ นิยม ถึงแก่กรรม นายสมบุญ นิยม ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 ว่า จะถือเอาประโยชน์จากสัญญา สิทธิของนายสมบุญ นิยม ในเงินสังขารานุเคราะห์รายนี้จึงยังมิได้เกิดมีขึ้นในระหว่างที่นายสมบุญ นิยม มีชวิตอยู่ ฉะนั้น เมื่อนายสมบุญ นิยม ถึงแก่กรรมลงเงินสังขารานุเคราะห์รายนี้จึงไม่อาจตกทอดเป็นทรัพย์มรดกไปยังทายาทของนายสมบุญ นิยม ตามความเข้าใจของจำเลยที่ 1 ได้อยู่นั่นเอง ตามข้อเท็จจริงในสำนวน เงินสังขารานุเคราะห์นี้เป็นเงินที่ผู้รับประโยชน์จะได้รับหลังจากที่นายวิทยา นิยม สมาชิกองค์การสงเคราะห์ถึงแก่กรรมแล้ว หาใช่ทรัพย์สินที่นายวิทยา นิยม มีอยู่ในขณะที่นายวิทยา นิยม ถึงแก่กรรมไม่ จึงไม่เป็นมรดกของนายวิทยา นิยม เช่นกัน ทั้งนี้ ตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 132/2507 ระหว่างนายหล้า ปัญญากา หรือปัญญาก๋า โจทก์ นายสมชัย วุฒิปรีชา กับพวก จำเลย

   เนื่องจากตามข้อบังคับกรมไปรษณีย์โทรเลขดังกล่าวนั้น มิได้ระบุไว้ว่า ในกรณีที่ผู้รับประโยชน์ถึงแก่กรรมก่อนสมาชิกองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข จะพึงจัดการแก่เงินสังขารานุเคราะห์อย่างใดต่อไป จึงมีปัญหาที่จะวินิจฉัยว่า เงินสังขารานุเคราะห์จำนวน 21,139 บาทรายนี้จะพึงจ่ายให้แก่ผู้ใด

  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 บัญญัติว่า

     "อันกฎหมายนั้น ท่านว่าต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษรหรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น ๆ

    เมื่อใดไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ท่านให้วินิจฉัยคดีนั้นตามคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น

   ถ้าและไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ท่านให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนี้ก็ไม่มีด้วยไซร้ ท่านให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป"

    ดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว แม้เงินสังขารานุเคราะห์รายนี้จะมิใช่ทรัพย์มรดกของนายวิทยา นิยม ก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดก เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับแก่เงินสังขารานุเคราะห์รายนี้ และโดยเฉพาะก็คือ ตามบทบัญญัติมาตรา 1599, 1620 วรรคแรก, 1629 และ 1635 ดังนั้น เงินสังขารานุเคราะห์รายนี้จึงควรจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมของนายวิทยา นิยม เสมือนหนึ่งทรัพย์มรดก กล่าวคือ นางสุวรรณ นิยม มารดานางพรรณี นิยม โจทก์ที่ 1 ผู้เป็นภริยาและเด็กชายวีระพงษ์ นิยม โจทก์ที่ 2 ผู้เป็นบุตร คนละหนึ่งส่วน สำหรับส่วนของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 นั้น ปรากฏว่าจำเลยได้จ่ายเงินช่วยค่าทำศพนายวิทยา นิยม เป็นเงิน 2,000 บาทให้แก่โจทก์แล้ว คงเหลือส่วนที่โจทก์ทั้งสองจะได้รับอีกเป็นเงิน 13,426 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ทั้งสอง

  ส่วนข้อที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า องค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขมิได้อยู่ในสังกัดหรือเป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด เป็นแต่เพียงองค์การซึ่งข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขจัดตั้งขึ้นเอง จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่โจทก์นั้น ปรากฏจากคำให้การของจำเลยเองว่า จำเลยได้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่ทายาทของนายสมบุญเป็นการถูกต้องตามข้อบังคับของกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 1ว่าด้วยองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทษเลขแล้ว จึงเท่ากับจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าองค์การนี้อยู่ในความรับผิดของชอบของจำเลยที่ 1 นั้นเอง จำเลยที่ 1 องค์การนี้อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 นั้นเอง จำเลยที่ 1จะยกความข้อนี้ขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกาว่าไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่โจทก์หาได้ไม่ ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น

   พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในผล               




เรื่องมรดก

บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย
การจัดการทรัพย์มรดกซึ่งมีผู้เยาว์เป็นทายาทอยู่ด้วย
โฉนดที่ดินยังมีชื่อเจ้ามรดกทายาทมีอำนาจฟ้อง
เจ้ามรดกได้จำหน่ายทรัพย์โดยพินัยกรรมแล้ว
นำพินัยกรรมซึ่งเป็นโมฆะมายื่นขอตั้งผู้จัดการมรดก
ในฐานะที่จะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
เป็นผู้จัดการมรดก 2 ปีไม่แบ่งทรัพย์มรดก
ข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความของผู้ค้ำประกัน
ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?
หน้าที่ของผู้จัดการมรดกมีอะไรบ้าง?
การแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก
เพิกถอนการจดทะเบียนโอน
สิทธิเรียกร้องมรดกขาดอายุความแล้วหรือไม่?
สิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้
บันทึกไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินและยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้เดียว
วัดก็สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้
การมอบอำนาจบกพร่อง
บุคคลที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทเป็นปฏิปัษ์ต่อกัน,ทรัพย์มรดก
ถือเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก
ดุลพินิจศาลในการตั้งผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมยกทรัพย์ให้สถานที่สักการะ
เจ้าหนี้ร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดก
การสืบมรดกของทายาทผู้สละมรดก
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก
ทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งกัน,อายุความ
สัญญายอมความส่วนแบ่งมรดก
โอนมรดกในส่วนของทายาทอื่น
สิทธิของทายาทโดยธรรมต่างลำดับ
บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดก
หน้าที่ผู้จัดการมรดกต่อทายาทโดยธรรม
ที่ดินผู้ตายสละการครอบครองไม่ใช่มรดก
ผู้ขายทำพินัยกรรมหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน
ทรัพย์สินผู้ตายในขณะทำพินัยกรรม
พินัยกรรมมิได้ลงวันเดือนปีเป็นโมฆะ
ดอกผลธรรมดาของสุกรเป็นมรดก
ดอกผลของที่ดินทรัพย์มรดก
เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก
ทายาทถูกตัดไม่ให้รับมรดก
อายุความมรดกตามมาตรา 1754
บิดาสายโลหิต สิทธิรับมรดกบุตรนอกกฎหมาย