ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




ผู้ขายทำพินัยกรรมหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน

ผู้ขายทำพินัยกรรมหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน

ที่ดิน ที่มีโฉนดที่ดิน ที่ได้ออกสืบเนื่องมาจากใบจอง กฎหมายห้ามมิให้ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินนั้น โอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น ภายในสิบปี(10 ปี)นับแต่วันได้รับโฉนดที่ดิน ในคดีนี้ผู้ขายได้แบ่งขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อในระยะเวลาห้ามโอน แต่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์กันได้ จึงได้ทำสัญญาเช่ากันไว้ 10 ปี และให้ผู้ขายซึ่งป่วยเป็นโรคมะเร็ง ทำพินัยกรรมยกที่ดินที่ซื้อขายและอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนนั้นให้แก่ผู้ซื้อ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การทำพินัยกรรมดังกล่าว มีเจตนาหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน การทำพินัยยกที่ดินให้ผู้ซื้อมีวัตถุประสงค์เป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6855/2541
 
          บทบัญญัติมาตรา 31 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน บัญญัติขึ้นโดยมุ่งหมายที่จะให้ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินได้มีที่ดินไว้ทำกินตลอดไปถึงลูกหลานหรือทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมายและเพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้มาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปให้บุคคลอื่นได้โดยง่าย ได้ความว่า ห. ตกลงแบ่งขายที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 และ 42264ให้แก่จำเลย เพื่อสร้างโรงเรียน แต่ ห. ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยตามสัญญา เพราะที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ทำให้จำเลยไม่อาจขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนได้ ห. จึงทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 และ 42264ให้แก่จำเลยตามเนื้อที่ดินที่จะแบ่งขายให้แก่จำเลยโดยได้รับเงินค่าที่ดินจากจำเลยแล้ว ต่อมาจำเลยกับ ห. ไปทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวกันมีกำหนด 10 ปี โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จนจำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงเรียนในที่ดินดังกล่าวได้ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่า ห. และจำเลยจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยร่วมรู้เห็นให้ ห.ทำพินัยกรรมเพื่อหวังผลได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมาเป็นหลักฐานประกอบการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน อันแสดงถึงความไม่สุจริตของจำเลย จึงถือได้ว่าการยกที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 ให้แก่จำเลยตามพินัยกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150

           โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 และ 42264 คืนจากจำเลย เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 ไม่เป็นผลเพราะตกเป็นโมฆะ จำเลยย่อมมิใช่ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมของ ห. ผู้ตาย จึงอ้างอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 และ 1755 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ ทั้งโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยสำคัญผิด ถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1708 และ 1709 จึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตรา 1710

           จำเลยมีสิทธิขอรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 42264 ในฐานะผู้รับพินัยกรรมโจทก์ซึ่งมิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 วรรคท้าย
 

          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทและเป็นผู้จัดการมรดกของนายหอม จำเลยกับพวกได้ทำปลอมพินัยกรรมของนายหอมขึ้นทั้งฉบับ มีข้อความว่า นายหอมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้จำเลย 20 ไร่ ให้นางถนอม กองโพธิ์  19 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวา และยกที่ดินโฉนดเลขที่ 42264 ให้จำเลย 4 ไร่ ให้นางถนอม 3 ไร่ 52 ตารางวา ซึ่งความจริงนายหอมไม่เคยทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่ผู้ใด พินัยกรรมดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม จำเลยไม่อาจใช้พินัยกรรมแสวงหาประโยชน์ได้ ต่อมาจำเลยนำพินัยกรรมปลอมไปอ้างต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา และเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยและนางถนอมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินทั้งสองแปลง ขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมของนายหอม  เป็นโมฆะให้เพิกถอนชื่อจำเลยจากการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 และโฉนดเลขที่ 42264

          จำเลยให้การว่า นายหอมทำพินัยกรรมตามฟ้องยกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน และพ้นกำหนด1 ปี นับแต่วันรู้หรือควรรู้ว่านายหอมเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า พินัยกรรมของนายหอม กองโพธิ์ ฉบับลงวันที่ 9 มีนาคม 2526 ที่ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 ตำบลกองโพธิ์ อำเภอเมือง นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา บางส่วนจำนวนเนื้อที่ 20 ไร่ ให้จำเลยเป็นโมฆะ ให้เพิกถอนการโอนมรดกตามพินัยกรรมและรายการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2529 เสียทั้งสิ้น คำขออื่นให้ยก

          โจทก์และจำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน

          โจทก์และจำเลยฎีกา โดยฎีกาของโจทก์ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นบุตรนายหอม และนางถนอม กองโพธิ์ ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2526 โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของนายหอมตามคำสั่งศาล เดิมนายหอมเป็นเจ้าของที่ดินตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3 ที่ดินตามเอกสารหมาย จ.2 มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ 20 เมษายน 2522 จะพ้นกำหนดห้ามโอนวันที่ 20 เมษายน 2532 เว้นแต่ตกทอดทางมรดกตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2526 นายหอมได้ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าว มีกำหนดระยะเวลาเช่า 10 ปี โดยจดทะเบียนการเช่าตามกฎหมาย ต่อมาวันที่ 29 พฤษภาคม 2529 จำเลยและนางถนอมภริยานายหอมได้ทำพินัยกรรม ฉบับลงวันที่ 9 มีนาคม 2526 ซึ่งมีข้อกำหนดในพินัยกรรมว่า นายหอมยกที่ดินตามเอกสารหมาย จ.2 ให้จำเลย 20 ไร่ ส่วนที่เหลือยกให้แก่นางถนอมและยกที่ดินตามเอกสารหมาย จ.3 ให้จำเลย 4 ไร่ ส่วนที่เหลือยกให้แก่นางถนอม  เจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยและนางถนอมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ปัญหาต่อไปตามฎีกาโจทก์มีว่า พินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.4 เป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายหอมได้ทำพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.4 ยกที่ดินตามฟ้องให้แก่จำเลยจริง พินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.4 จึงมิใช่เอกสารปลอมดังที่โจทก์ฟ้อง ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาตามฎีกาจำเลยมีว่า พินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.4 มีผลบังคับได้เพียงใด ข้อเท็จจริงฟังได้ดังวินิจฉัยมาแล้วว่า พินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.4 ไม่ใช่พินัยกรรมปลอม การที่นายหอมทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้จำเลยตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงซื้อขายซึ่งเป็นเจตนาอันแท้จริงของนายหอมผู้ทำพินัยกรรม ดังนั้น พินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.4 ในส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 42264 ซึ่งไม่มีข้อกำหนดห้ามโอนจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ จำเลยจึงมีสิทธิขอรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 42264 ในฐานะผู้รับพินัยกรรมได้ส่วนข้อกำหนดพินัยกรรมที่นายหอมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 ให้แก่จำเลยนั้น เห็นว่าประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ได้ออกสืบเนื่องมาจากใบจองตามมาตรา 30 และมาตรา 33 ห้ามมิให้ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ถ้าเป็นกรณีที่ได้ออกใบจองในหรือหลังวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ห้ามโอนภายในสิบปีนับแต่วันได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ฯลฯ

          ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ที่ดินนั้นตกทอดทางมรดก

          จึงเห็นได้ว่า กฎหมายมาตราดังกล่าวบัญญัติขึ้นก็โดยมุ่งหมายที่จะให้ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินได้มีที่ดินไว้ทำกินตลอดไปถึงลูกหลานหรือทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมายและเพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้มาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปให้บุคคลอื่นได้โดยง่าย คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความจากคำให้การและทางนำสืบของจำเลยว่า มูลเหตุที่นายหอมทำพินัยกรรมเอกสารหมาย จ.4 สืบเนื่องมาจากเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2526 นายหอมตกลงแบ่งขายที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 และ 42264 ให้แก่จำเลย เนื้อที่ 20 ไร่ และ 4 ไร่ ตามสัญญาเอกสารหมาย ล.1 และ ล.2 ตามลำดับ โดยให้จำเลยปรับปรุงพื้นที่และสร้างอาคารเรียนเพื่อสร้างโรงเรียนได้ แต่นายหอมไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยตามสัญญาเพราะที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2522 มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ทำให้จำเลยไม่อาจขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนได้ เพราะตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนมีกำหนดไม่น้อยกว่า 10 ปี ตามเอกสารหมาย ล.8 แผ่นที่ 1 และที่ 2 ดังนั้น นางสาวแสงจันทร์ เจ้าหน้าที่ที่ดินจึงแนะนำให้ทำสัญญาเช่ากัน หากเกรงว่าจะเกิดปัญหาก็ให้ทำพินัยกรรมไว้ ประกอบกับขณะนั้นนายหอมป่วยเป็นโรคมะเร็งในลำไส้ซึ่งอาจจะทำให้เสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น จำเลยเองก็ทราบว่านายหอมเป็นโรคดังกล่าว ฉะนั้น การที่เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2526 นายหอมทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 และ 42264 ให้แก่จำเลยตามเนื้อที่ดินที่จะแบ่งขายให้แก่จำเลยโดยได้รับเงินค่าที่ดินจากจำเลยแล้วตามเอกสารหมาย จ.4 ต่อมาวันที่ 11 มีนาคม 2526 จำเลยกับนายหอมไปทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวกันมีกำหนด 10 ปี โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ครั้นวันที่ 30 กรกฎาคม 2526 จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีเกษตรกรรมนครราชสีมา ตามเอกสารหมาย ล.8 แผ่นที่ 3 ต่อมา วันที่ 9 พฤศจิกายน 2526 นายหอมก็ถึงแก่ความตาย พฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่านายหอมและจำเลยจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง โดยนายหอมทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอน และที่ดินโฉนดเลขที่ 42264 ซึ่งไม่มีข้อกำหนดห้ามโอนให้แก่จำเลยตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงจะซื้อขายกัน เพื่อให้มีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 ภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย เมื่อจำเลยร่วมรู้เห็นให้นายหอมทำพินัยกรรมเพื่อหวังผลได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมาเป็นหลักฐานประกอบการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนอันแสดงถึงความไม่สุจริตของจำเลย จึงถือได้ว่าการยกที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 ให้แก่จำเลยตามพินัยกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ว่า นายหอมทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 ให้แก่จำเลย ถือว่าเป็นการตกทอดทางมรดกไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 วรรคสองหรือไม่ อีกส่วนที่จำเลยฎีกาทำนองว่า ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยโดยอ้างว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่า ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วว่า นายหอม กองโพธิ์ ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้จำเลยหรือไม่ และพินัยกรรมมีผลบังคับได้เพียงใด ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงอยู่ในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว การที่ศาลจะยกบทกฎหมายเรื่องใดขึ้นปรับแก่คดีย่อมเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา ที่ศาลล่างทั้งสองยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น

 ปัญหาตามฎีกาจำเลยประการสุดท้ายมีว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 และ 42264คืนจากจำเลย เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 ไม่เป็นผลเพราะตกเป็นโมฆะ จำเลยย่อมมิใช่เป็นทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมของนายหอมผู้ตาย จึงอ้างอายุความมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 และ 1755 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ทั้งโจทก์ฟ้องว่าพินัยกรรมปลอม มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยสำคัญผิด ถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1708และ 1709 จึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตรา 1710 ดังนั้น คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ แต่คดีโจทก์สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 42264 นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีสิทธิขอรับโอนที่ดินดังกล่าวในฐานะผู้รับพินัยกรรมดังวินิจฉัยมาแล้ว โจทก์ซึ่งมิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 วรรคท้ายกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 42264 ขาดอายุความหรือไม่อีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน"
          พิพากษายืน

 




เรื่องมรดก

บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย
การจัดการทรัพย์มรดกซึ่งมีผู้เยาว์เป็นทายาทอยู่ด้วย
โฉนดที่ดินยังมีชื่อเจ้ามรดกทายาทมีอำนาจฟ้อง
เจ้ามรดกได้จำหน่ายทรัพย์โดยพินัยกรรมแล้ว
นำพินัยกรรมซึ่งเป็นโมฆะมายื่นขอตั้งผู้จัดการมรดก
ในฐานะที่จะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
เป็นผู้จัดการมรดก 2 ปีไม่แบ่งทรัพย์มรดก
ข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความของผู้ค้ำประกัน
ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?
หน้าที่ของผู้จัดการมรดกมีอะไรบ้าง?
การแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก
เพิกถอนการจดทะเบียนโอน
สิทธิเรียกร้องมรดกขาดอายุความแล้วหรือไม่?
สิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้
บันทึกไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินและยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้เดียว
วัดก็สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้
การมอบอำนาจบกพร่อง
บุคคลที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทเป็นปฏิปัษ์ต่อกัน,ทรัพย์มรดก
ถือเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก
ดุลพินิจศาลในการตั้งผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมยกทรัพย์ให้สถานที่สักการะ
เจ้าหนี้ร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดก
การสืบมรดกของทายาทผู้สละมรดก
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก
ทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งกัน,อายุความ
สัญญายอมความส่วนแบ่งมรดก
โอนมรดกในส่วนของทายาทอื่น
สิทธิของทายาทโดยธรรมต่างลำดับ
บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดก
หน้าที่ผู้จัดการมรดกต่อทายาทโดยธรรม
ทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย article
ที่ดินผู้ตายสละการครอบครองไม่ใช่มรดก
ทรัพย์สินผู้ตายในขณะทำพินัยกรรม
พินัยกรรมมิได้ลงวันเดือนปีเป็นโมฆะ
ดอกผลธรรมดาของสุกรเป็นมรดก
ดอกผลของที่ดินทรัพย์มรดก
เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก
ทายาทถูกตัดไม่ให้รับมรดก
อายุความมรดกตามมาตรา 1754
บิดาสายโลหิต สิทธิรับมรดกบุตรนอกกฎหมาย