
มรดก หมายถึงทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มรดกตกได้แก่ทายาท แต่ก่อนที่ทายาทจะได้รับมรดกนั้น ผู้ที่มีบทบาทสำคัญก็คือผู้จัดการมรดก มีหน้าที่ในการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรม การแบ่งทรัพย์มรดกอาจแบ่งออกไปได้สองกรณี ประการแรกคือ กรณีที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนตาย ประการที่สองคือ ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนตาย
ในกรณีที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนเสียชีวิต ผู้จัดการมรดกก็แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับพินัยกรรมตามเจตนารมณ์ของเจ้าของทรัพย์ หากผู้รับมรดกตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม พินัยกรรมไม่มีผลใช้บังคับเพราะพินัยกรรมย่อมตกไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698 แม้ผู้รับพินัยกรรมจะมีทายาทก็ไม่อาจรับมรดกแทนที่ได้ ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมต่อไป
ในกรณีที่เจ้าของทรัพย์ตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมนั้นทรัพย์มรดกก็จะตกได้แก่ทายาทโดยธรรมซึ่งมี 6 ลำดับตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 บัญญัติไว้ คือ
มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635
ทายาทโดยธรรม ลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดาน ความหมายของผู้สืบสันดานก็คือผู้สืบสายโลหิตโดยตรงของเจ้ามรดก ก็คือ ลูก หลาน เหลน ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะขาดสาย รวมถึงบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับรองเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายแล้ว
ทายาทโดยธรรม ลำดับที่ 2 คือ บิดามารดา สำหรับบิดานั้นต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ไม่รวมถึงบิดาหรือมารดาบุญธรรมหรือผู้รับบุตรบุญธรรม
ทายาทโดยธรรม ลำดับที่ 3 คือ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมของบิดามารดา แต่ไม่สับสนว่าบุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมได้
ทายาทโดยธรรม ลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน คือเป็นพี่น้องกันแต่มีบิดาหรือมารดากันคนละคนหรือต่างมารดา(บิดาเดียวกัน) หรือต่างบิดากัน(มารดาเดียวกัน)แล้วแต่กรณี และต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ทายาทโดยธรรม ลำดับที่ 5 คือปู่ ย่า ตา ยาย บิดามารดาของ บิดาเจ้ามรดกคือ ปู่กับย่า ส่วนบิดามารดาของ มารดาเจ้ามรดก คือ ตา กับยาย สำหรับทายาทโดยธรรมลำดับนี้หากเสียชีวิตก่อนเจ้ามรดกแล้วจะไม่มีการรับมรดกแทนที่กัน มีข้อสังเกตว่า ทวดหรือบุพการีที่สูงกว่าทวดไม่เป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งต่างกับทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ซึ่งจะนับเป็นทายาทจนกว่าจะขาดสายโดยไม่จำกัดจำนวนชั้น
ทายาทโดยธรรม ลำดับที่ 6 คือลุง ป้า น้า อา โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นจะเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดาหรือร่วมแต่มารดาของบิดาเจ้ามรดกก็มีสิทธิเท่าเทียมกันก็มีสิทธิเท่าเทียมกันกับพี่น้องร่วมบิดามารดาของบิดามารดาเจ้ามรดก ทายาทโดยธรรมลำดับนี้สามารถรับมรดกแทนที่กันได้
คู่สมรสของเจ้ามรดกเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ซึ่งคู่สมรสต้องจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายด้วย เว้นแต่จะได้อยู่กินฉันสามีภริยากันก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478
สำหรับบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองในทางพฤตินัยว่าเป็นบุตรนั้น ไม่ต้องถึงกับต้องไปจดทะเบียนรับรองและมีคำสั่งศาลว่าเป็นบุตรก็มีสิทธิรับมรดกของบิดาได้และถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
_________________________________________________________
ผู้มีสิทธิรับมรดกตามลำดับชั้น
ผู้ตายเจ้ามรดกและ นายนต์เป็นบุตรของนายสุด ที่เกิดจากนางหลง(บิดามารดาเดียวกัน) ส่วนผู้ร้อง(ขอเป็นผู้จัดการมรดก)เป็นบุตรของนายสุดที่เกิดจากนางยัน(พี่น้องต่างมารดา) บิดาและมารดาของผู้ตาย(เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกแล้ว สำหรับนายยนต์พี่ชายผู้ตายนั้นถึงแก่กรรมภายหลังเจ้ามรดก เห็นว่า ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิร้องขอจัดการมรดกของผู้ตายนั้นต้องเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกซึ่งเป็นไปตามลำดับชั้น แม้ผู้ตายไม่มีผู้สืบสันดานซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 และบิดามารดาของผู้ตายซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2 ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปก่อนผู้ตายแล้วก็ตาม แต่ขณะผู้ตายถึงแก่กรรม นายยนต์ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 3 ซึ่งเป็นลำดับที่สูงกว่าผู้ร้อง(ขอเป็นผู้จัดการมรดก)ยังมีชีวิตอยู่ ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงย่อมตกได้แก่นายยนต์เมื่อทรัพย์มรดกของผู้ตายตกได้แก่นายยนต์ ผู้ร้อง(ขอเป็นผู้จัดการมรดก)ก็ไม่อยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมที่จะร้องขอจัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2551 (อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่)
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้มีส่วนได้เสีย แม้ว่าคำร้องใหม่นี้จะมีเนื้อหาและประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 เสียเช่นนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
http://www.peesirilaw.com/คดีมรดก/ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก.html
มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือครอบครองแทน
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเพื่อนำมาใช้ในกิจการเหมืองแร่ สวนยางพาราโดยจดทะเบียนใส่ชื่อนายชัยสิน และจำเลย 9 คน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองแทนโจทก์โจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ในระหว่างการพิจารณาของศาลจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้บุคคลภายนอกเข้ามาตัดต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายอันเป็นการกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหากภายหลังโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี
http://www.peesirilaw.com/สิทธิครอบครอง/มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แทน.html
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
บุคคลที่ศาลจะตั้งเป็นผู้จัดการมรดก นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมอื่นๆ ประกอบด้วย การที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้ตายโดยเป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืม ตามหนังสือรับรองว่าเป็นหนี้และสัญญากู้เงิน ซึ่งการที่ผู้จัดการมรดกเป็นเจ้าหนี้กองมรดกอยู่เป็นจำนวนมากจึงอยู่สองสถานะ คือเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ การจัดการมรดกอาจมีผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนได้เสียของทายาทอื่นโดยตรง
http://www.peesirilaw.com/คดีมรดก/ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก.html
ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ 0859604258 * www.peesirilaw.com *
http://www.peesirilaw.com/เกี่ยวกับกฎหมาย/สำนักงานทนายความ-รับปรึกษากฎหมาย-0859604258.html
http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=webboard