ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




พินัยกรรมมิได้ลงวันเดือนปีเป็นโมฆะ

พินัยกรรมมิได้ลงวันเดือนปีเป็นโมฆะ

พินัยกรรมต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน พินัยกรรมที่มีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656   ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3776/2545

    พินัยกรรมที่มีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656   ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705

           บันทึกข้อตกลงที่มีข้อความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกของ ส. ไปในวันนี้แล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก เป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดก ที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 นอกจากนี้เงิน 10,000 บาท ที่ผู้ร้องจ่ายให้ผู้คัดค้านที่ 1 ก็เป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับเงินดังกล่าวไป แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก จึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกเพียงบางส่วนจึงมีผลเป็นการสละมรดกตามมาตรา 1612 และไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613  เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 สละมรดกแล้วมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกไม่มีอำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก

   คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนางสุนทรเกตุจิตร ผู้ตาย เพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรม

 ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องขอว่า ผู้คัดค้านที่ 1 มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันสี่คน คือ นางเฉลียว คงดิษฐ์ ผู้คัดค้านที่ 1 นางสุนทร เกตุจิตร ผู้ตาย และนายสุจินต์กลิ่นเกษร ซึ่งถึงแก่กรรมแล้ว ผู้ตายได้สมรสกับนายโนแล เกตุจิตร นายโนแลถึงแก่กรรมก่อนผู้ตาย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมนั้น เนื่องจากพินัยกรรมของผู้ตายไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมายเพราะพินัยกรรมไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรมและพยานมิได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมในขณะทำพินัยกรรม ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้จัดการมรดก อีกทั้งพินัยกรรมมีพิรุธ เพราะระบุยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้อง บุตรของผู้ร้องและบุตรของพี่สาวผู้ร้องเท่านั้น และในขณะที่ทำพินัยกรรมผู้ตายกำลังป่วย ไม่มีสติสัมปชัญญะที่จะสามารถทำพินัยกรรมได้ ขอให้มีคำสั่งถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

   ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันสี่คน คือ ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 1 นางสุนทร เกตุจิตร ผู้ตาย นายสุจินต์ กลิ่นเกษรซึ่งถึงแก่กรรมแล้ว หลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วผู้ร้องได้แบ่งทรัพย์มรดกให้ผู้คัดค้านที่ 1 กับพวกเป็นเงิน 60,000 บาท แล้วทำหลักฐานเป็นหนังสือยืนยันว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก ดังนั้น ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายอีก และยังทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก โดยยักยอกทรัพย์มรดกไปเป็นของตนบางส่วน จึงขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้จัดการมรดก ขอให้มีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องกับยกคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 1

 ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านว่า พินัยกรรมของผู้ตายมีผลสมบูรณ์เพราะมีพยานหลายคนขณะทำพินัยกรรมผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินจากผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายไป 60,000 บาท และทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆอีก ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องไม่เคยทำผิดหน้าที่ในการจัดการมรดกแต่อย่างใด

  ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถอนนางสนิท คงดิษฐ์ ผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนางสุนทร เกตุจิตร ผู้ตาย และมีคำสั่งตั้งนางชำเรือง มาใหญ่ ผู้คัดค้านที่ 1 กับนางเฉลียว คงดิษฐ์ ผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของนางสุนทร เกตุจิตรผู้ตาย ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย

 ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์

    ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน

   ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 ฎีกา

    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับนางสุนทร เกตุจิตร ผู้ตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมตามสำเนาภาพถ่ายเอกสารหมาย ร.6 ไว้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินจากผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นเงิน 10,000 บาทเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2540 โดยบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ อีก ตามเอกสารหมายร.12 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า พินัยกรรมเอกสารหมาย ร.6 เป็นโมฆะหรือไม่ เห็นว่า พินัยกรรมตามเอกสารหมาย ร.6 ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ไว้ ซึ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 บัญญัติว่า พินัยกรรมต้องทำเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้นและผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ดังนั้น แม้พินัยกรรมดังกล่าวจะมีพยานลงลายมือชื่อสองคนแต่มิได้ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรมก็ต้องถือว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1656 ย่อมเป็นโมฆะ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1705 เมื่อพินัยกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ ผู้ร้องจึงมิใช่ทายาทของผู้ตายตามพินัยกรรมไม่มีส่วนได้เสียในอันที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ที่ศาลล่างทั้งสองให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นชอบแล้ว ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น

      มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกอันจะทำให้มีสิทธิเรียกร้องขอถอนผู้จัดการมรดกหรือไม่ ตามบันทึกเอกสารหมาย ร.12 มีข้อความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกของนางสุนทร เกตุจิตร ไปในวันนี้แล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ เห็นว่า ข้อความดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกรายนี้ ที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป โดยผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายในขณะนั้นยอมจ่ายเงินให้ผู้คัดค้านที่ 1 จำนวน 10,000 บาท แล้วผู้คัดค้านที่ 1 จะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้น จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850นอกจากนี้เงินจำนวน 10,000 บาท ที่ผู้ร้องจ่ายให้ผู้คัดค้านที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้ความจากพยานผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสองว่าเป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ของลูกค้า ธกส. อำเภอสรรพยาซึ่งผู้ตายระบุไว้ในใบสมัครว่า เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมแล้วให้ผู้ร้องเป็นผู้รับเงินสงเคราะห์เงินดังกล่าวย่อมมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับเงินดังกล่าวไป 10,000 บาท แล้ว ทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก จึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกเพียงบางส่วนการประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย ร.12 ดังกล่าวจึงมีผลเป็นการสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 สละมรดกแล้วมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีอำนาจมาร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ที่ศาลล่างทั้งสองให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้คัดค้านที่ 2 นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ฟังขึ้น"

   พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ตั้งนางเฉลียว คงดิษฐ์ ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของนางสุนทร เกตุจิตร ผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวให้ยกคำร้องของนางชำเรือง มาใหญ่ผู้คัดค้านที่ 1 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 

 




เรื่องมรดก

บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย
การจัดการทรัพย์มรดกซึ่งมีผู้เยาว์เป็นทายาทอยู่ด้วย
โฉนดที่ดินยังมีชื่อเจ้ามรดกทายาทมีอำนาจฟ้อง
เจ้ามรดกได้จำหน่ายทรัพย์โดยพินัยกรรมแล้ว
นำพินัยกรรมซึ่งเป็นโมฆะมายื่นขอตั้งผู้จัดการมรดก
ในฐานะที่จะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
เป็นผู้จัดการมรดก 2 ปีไม่แบ่งทรัพย์มรดก
ข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความของผู้ค้ำประกัน
ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?
หน้าที่ของผู้จัดการมรดกมีอะไรบ้าง?
การแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก
เพิกถอนการจดทะเบียนโอน
สิทธิเรียกร้องมรดกขาดอายุความแล้วหรือไม่?
สิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้
บันทึกไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินและยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้เดียว
วัดก็สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้
การมอบอำนาจบกพร่อง
บุคคลที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทเป็นปฏิปัษ์ต่อกัน,ทรัพย์มรดก
ถือเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก
ดุลพินิจศาลในการตั้งผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมยกทรัพย์ให้สถานที่สักการะ
เจ้าหนี้ร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดก
การสืบมรดกของทายาทผู้สละมรดก
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก
ทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งกัน,อายุความ
สัญญายอมความส่วนแบ่งมรดก
โอนมรดกในส่วนของทายาทอื่น
สิทธิของทายาทโดยธรรมต่างลำดับ
บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดก
หน้าที่ผู้จัดการมรดกต่อทายาทโดยธรรม
ทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย article
ที่ดินผู้ตายสละการครอบครองไม่ใช่มรดก
ผู้ขายทำพินัยกรรมหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน
ทรัพย์สินผู้ตายในขณะทำพินัยกรรม
ดอกผลธรรมดาของสุกรเป็นมรดก
ดอกผลของที่ดินทรัพย์มรดก
เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก
ทายาทถูกตัดไม่ให้รับมรดก
อายุความมรดกตามมาตรา 1754
บิดาสายโลหิต สิทธิรับมรดกบุตรนอกกฎหมาย