ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก

ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้มีส่วนได้เสีย แม้ว่าคำร้องใหม่นี้จะมีเนื้อหาและประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 เสียเช่นนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษายกคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ฟังขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5374/2552

มาตรา 1727  ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง
แม้ถึงว่าจะได้เข้ารับตำแหน่งแล้วก็ดี ผู้จัดการมรดกจะลาออกจากตำแหน่งโดยมีเหตุอันสมควรก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
 
มาตรา 1728   ผู้จัดการมรดกต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในสิบห้าวัน
(1)  นับแต่เจ้ามรดกตาย ถ้าในขณะนั้นผู้จัดการมรดกได้รู้ถึงการตั้งแต่งตามพินัยกรรมที่มอบหมายไว้แก่ตน หรือ
(2)  นับแต่วันที่เริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1726 ในกรณีที่ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก หรือ
(3)  นับแต่วันที่ผู้จัดการมรดกรับเป็นผู้จัดการมรดกในกรณีอื่น
 
มาตรา 1729    ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่เวลาที่ระบุไว้ในมาตรา 1728 แต่กำหนดเวลานี้ เมื่อผู้จัดการมรดกร้องขอก่อนสิ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือน ศาลจะอนุญาตให้ขยายต่อไปอีกก็ได้
บัญชีนั้นต้องทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน ซึ่งต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้นด้วย
บุคคลซึ่งจะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้ตามมาตรา 1670 จะเป็นพยานในการทำบัญชีใดๆ ที่ต้องทำขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ไม่ได้
 
มาตรา 1730   ให้นำมาตรา 1563, 1564 วรรค 1 และ 2 และ 1565 แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในระหว่างทายาทกับผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมและในระหว่างศาลกับผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง
 
มาตรา 1731  ถ้าผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำบัญชีภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ หรือถ้าบัญชีนั้นไม่เป็นที่พอใจแก่ศาล เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือการทุจริต หรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ของผู้จัดการมรดก ศาลจะถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้
 
มาตรา 1732  ผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่และทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ระบุไว้ในมาตรา 1728 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม ทายาทโดยจำนวนข้างมาก หรือศาลจะได้กำหนดเวลาให้ไว้เป็นอย่างอื่น
 
มาตรา 1733  การให้อนุมัติ การปลดเปลื้องความรับผิด หรือข้อตกลงอื่นๆ อันเกี่ยวกับรายงานแสดงบัญชีการจัดการมรดกดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1732 นั้น จะสมบูรณ์ต่อเมื่อรายงานแสดงบัญชีนั้นได้ส่งมอบล่วงหน้าแก่ทายาทพร้อมด้วยเอกสารอันเกี่ยวกับการนั้นไม่น้อยกว่าสิบวันก่อนแล้ว
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง
 
 
          คำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน ระบุว่าผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่จัดการโอนทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกทำให้ทายาทอื่นที่จะได้รับส่วนแบ่งในกองมรดกได้รับความเสียหายโดยผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านเป็นทำนองปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น เนื้อหาตามคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 จึงแสดงรายละเอียดชัดเจนแล้วว่า ผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่และผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้มายื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจำต้องไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 เพื่อฟังพยานหลักฐานจากผู้คัดค้านที่ 2 และผู้ร้องให้ครบถ้วนกระบวนความเสียก่อนว่า ผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามคำร้องขอหรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรที่ศาลจะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ดังกล่าวหรือไม่ รวมทั้งผู้ร้องได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบังคับไว้ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1728 ถึง 1733 ซึ่งถือเป็นสาเหตุอย่างอื่นที่ศาลอาจเห็นว่าเป็นเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเสียก็ได้หรือไม่ โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้คัดค้านที่ 2 มีเนื้อหาและประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเคยยื่นคำร้องขอแล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมจนคดีถึงที่สุดไปแล้วหรือไม่ เพราะในกรณีเช่นนี้ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 เป็นการเฉพาะตัวของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
 
________________________________
 
          คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนางสมบูรณ์ ผู้ตาย ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ร้องคัดค้านขอให้สั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแทน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่ทายาทอื่นด้วย ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมและตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อบังคับให้ผู้ร้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม

          ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านขอให้สั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องแล้วเห็นว่ากรณีไม่มีเหตุสมควรถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องเป็นพับ

          ผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน

          ผู้คัดค้านที่ 2 ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 มิได้โต้แย้งกันฟังเป็นยุติได้ว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 ต่างเป็นบุตรของนางสมบูรณ์ ผู้ตาย และเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ขณะที่ผู้คัดค้านที่ 2 มายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทนนั้นการแบ่งปันมรดกยังไม่เสร็จสิ้นลง คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 และมีคำสั่งยกคำร้องเสียโดยศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนมานั้นชอบแล้วหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า คำร้องขอให้สั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทนตามคำร้องฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 ระบุว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่จัดการโอนทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกทำให้ทายาทอื่นที่จะได้รับส่วนแบ่งในกองมรดกได้รับความเสียหาย จึงขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายรายนี้และตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทนต่อไปโดยผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกยื่นคำร้องคัดค้านฉบับลงวันที่ 29 มิถุนายน 2549 เป็นทำนองปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น เนื้อหาตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 ดังกล่าวจึงแสดงรายละเอียดให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่และผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้มายื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจำต้องไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 เพื่อฟังพยานหลักฐานจากผู้คัดค้านที่ 2 และผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกให้ครบถ้วนกระบวนความเสียก่อนว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรศาลจะสั่งถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมาลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกมิได้ปฏิบัติผิดหน้าที่ที่จะต้องทำตามที่กฎหมายบังคับไว้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1728 ถึง 1733 ซึ่งถือเป็นสาเหตุอย่างอื่นที่ศาลเห็นว่าเป็นเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเสียก็ได้เช่นกัน โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยมีเนื้อหาและประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมจนคดีถึงที่สุดไปแล้วหรือไม่ เพราะในกรณีเช่นนี้ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เป็นการเฉพาะตัวของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน อีกทั้งสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้ร้องดังกล่าวก็มีผลผูกพันเฉพาะผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งต่างเป็นทายาทที่ลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเท่านั้น มิได้มีผลผูกพันถึงผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียนอกสัญญาประนีประนอมยอมความแต่ประการใด นอกจากนี้การที่จัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้นตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มิใช่สาเหตุที่ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกไม่ได้แต่อย่างใด แต่กลับเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันให้เห็นว่าผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งมีส่วนได้เสียมีสิทธิมายื่นร้องขอต่อศาลได้โดยชอบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เสียอีก ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 เสียเช่นนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษายกคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ฟังขึ้น”

          พิพากษายกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่
 
 
( ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล - กีรติ กาญจนรินทร์ - ศิริชัย วัฒนโยธิน )
 


ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง
ให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งระหว่างใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้แต่เพียงทางเดียว จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีไปฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด
http://www.peesirilaw.com/กฎหมายแรงงาน/ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง.html

 


มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยเปิดทางพิพาทชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาเป็นการขอเพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองอย่างหนึ่ง การที่โจทก์สามารถใช้เส้นทางอื่นออกไปสู่ทางสาธารณะได้นั้น หาตัดสิทธิของโจทก์ในการที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่ เพราะโจทก์ฟ้องว่ายังมีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทออกไปสู่ทางสาธารณะได้อีกทางหนึ่งด้วย กรณีจึงมีเหตุที่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาในชั้นอุทธรณ์ได้
http://www.peesirilaw.com/ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง/สิทธิขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราว.html

 


พิพากษายกฟ้องโดยผู้พิพากษาคนเดียว
ความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัด ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดี จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538794868&Ntype=58

 


สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
จำเลยมีหนังสือชี้แจงความคืบหน้าโครงการอาคารชุดถึงโจทก์ระบุว่า จำเลยคาดว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างห้องชุดให้แล้วเสร็จและแจ้งการรับโอนกรมสิทธิ์ห้องชุดได้ในไม่ช้านี้แสดงว่าจำเลยก่อสร้างห้องชุดไม่แล้วเสร็จภายในปีที่กำหนด จำเลยยังไม่พร้อมที่จะแจ้งการรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยก่อสร้างห้องชุดพิพาทไม่แล้วเสร็จภายในปีที่กำหนดในสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทได้
http://www.peesirilaw.com/นิติกรรม/สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด.html

 


จะยกความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นเป็นข้ออ้างไม่ได้
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ(ฎีกาที่ 6542/2552) ได้มอบสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้ไว้แสดงถึงความประมาทเลินเล่อของโจทก์ เมื่อจำเลยกรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ของโจทก์และนำไปแสดงต่อบุคคลภายนอกและเขาหลงเชื่อว่ามอบอำนาจเช่นนั้นจริง โจทก์จะยกความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่รับโอนโดยสุจริตหาได้ไม่
http://www.peesirilaw.com/นิติกรรม/หนังสือมอบอำนาจ-พิมพ์ลายนิ้วมือ.html

 


พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกบ้านและที่ดินให้โจทก์โดยระบุว่าจำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยและสิทธิเก็บกินได้ตลอดชีวิต เมื่อจำเลยตายให้บ้านและที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เป็นพินัยกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน จำเลยครอบครองบ้านและที่ดินแทนโจทก์ จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ เพราะกฎหมายรับรองสิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดกเท่านั้น
http://www.peesirilaw.com/คดีมรดก/พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน.html

 

 

ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
สิทธิเรียกร้องมรดกของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่? ที่จำเลยได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นมรดกก็เนื่องจากทายาททุกคนตกลงมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้นำไปขายแล้วนำเงินมาแบ่งแก่ทายาท จำเลยจึงครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน แม้จำเลยขายที่ดินมรดกนี้ไปก็ถือว่า จำเลยยังครอบครองเงินที่ขายแทนทายาททุกคนเพื่อการแบ่งปันกัน อายุความตัดสิทธิในระหว่างทายาทด้วยกันยังไม่เริ่มนับ เพราะการแบ่งปันทรัพย์มรดกนี้
http://www.peesirilaw.com/คดีมรดก/ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคน.html

 

 

ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปีจากทายาทผู้ครอบครอง
ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่?? โจทก์ผู้เป็นทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกเสียภายในกำหนด 1 ปี จากจำเลยที่ 1 ผู้ครอบครองแต่เพียงผู้เดียวในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ทรัพย์ในส่วนมรดกนั้นย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 1 ทายาทผู้ครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 ขายทรัพย์ซึ่งรวมส่วนมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ย่อมใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้เป็นทายาทอื่นได้ด้วย
http://www.peesirilaw.com/คดีมรดก/ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน-1-ปี.html

 

 

มิใช่ฟ้องบังคับจำนอง
ห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี คดีนี้โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ มิใช่ฟ้องบังคับจำนอง จึงต้องนำอายุความ 1 ปี มาใช้บังคับแก่คดี เมื่อโจทก์ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทายาทโดยธรรม เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ
http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538795196&Ntype=42

 

 

ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความ
กรมสรรพากรโจทก์รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ภาษีอากร พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดก จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวได้ตามมาตรา 694
http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538795275&Ntype=42

 

 


การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
การแบ่งปันทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดินที่มีเพียงใบไต่สวน ผู้เป็นเจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง การแบ่งปันทรัพย์มรดกกระทำได้โดยการส่งมอบการครอบครองเท่านั้น เมื่อที่ดินพิพาทมีการตกลงแบ่งปันกันระหว่างทายาทเป็นส่วนสัด อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามกฎหมายแล้ว มารดาโจทก์ครอบครองที่ดินเพื่อตนเองตลอดมาและมอบการครอบครองให้แก่โจทก์
http://www.peesirilaw.com/คดีมรดก/การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ.html

 

 

ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน หรือจัดทำให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน จะมีผลอย่างไร? ถือว่าผู้จัดการมรดก ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกเป็นเหตุให้ทายาทอื่นได้รับความเสียหายและมีสิทธิร้องขอให้ถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่? การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกหากผู้ร้องไม่ได้ระบุทายาทในบัญชีทายาทโดยธรรม จะมีผลให้ให้ผู้จัดการมรดกถือว่าเป็นการปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทายาทของเจ้ามรดกหรือไม่??
http://www.peesirilaw.com/คดีมรดก/ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร.html


ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ 0859604258  *  www.peesirilaw.com  *

 

 


 




เรื่องมรดก

บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย
การจัดการทรัพย์มรดกซึ่งมีผู้เยาว์เป็นทายาทอยู่ด้วย
โฉนดที่ดินยังมีชื่อเจ้ามรดกทายาทมีอำนาจฟ้อง
เจ้ามรดกได้จำหน่ายทรัพย์โดยพินัยกรรมแล้ว
นำพินัยกรรมซึ่งเป็นโมฆะมายื่นขอตั้งผู้จัดการมรดก
ในฐานะที่จะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
เป็นผู้จัดการมรดก 2 ปีไม่แบ่งทรัพย์มรดก
ข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความของผู้ค้ำประกัน
ผู้จัดการมรดกต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?
หน้าที่ของผู้จัดการมรดกมีอะไรบ้าง?
การแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก
เพิกถอนการจดทะเบียนโอน
สิทธิเรียกร้องมรดกขาดอายุความแล้วหรือไม่?
สิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้
บันทึกไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินและยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้เดียว
วัดก็สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้
การมอบอำนาจบกพร่อง
บุคคลที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทเป็นปฏิปัษ์ต่อกัน,ทรัพย์มรดก
ถือเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก
ดุลพินิจศาลในการตั้งผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมยกทรัพย์ให้สถานที่สักการะ
เจ้าหนี้ร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดก
การสืบมรดกของทายาทผู้สละมรดก
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก
ทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งกัน,อายุความ
สัญญายอมความส่วนแบ่งมรดก
โอนมรดกในส่วนของทายาทอื่น
สิทธิของทายาทโดยธรรมต่างลำดับ
บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดก
หน้าที่ผู้จัดการมรดกต่อทายาทโดยธรรม
ทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย article
ที่ดินผู้ตายสละการครอบครองไม่ใช่มรดก
ผู้ขายทำพินัยกรรมหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน
ทรัพย์สินผู้ตายในขณะทำพินัยกรรม
พินัยกรรมมิได้ลงวันเดือนปีเป็นโมฆะ
ดอกผลธรรมดาของสุกรเป็นมรดก
ดอกผลของที่ดินทรัพย์มรดก
เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก
ทายาทถูกตัดไม่ให้รับมรดก
อายุความมรดกตามมาตรา 1754
บิดาสายโลหิต สิทธิรับมรดกบุตรนอกกฎหมาย