ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




บิดาสายโลหิต สิทธิรับมรดกบุตรนอกกฎหมาย article

บิดาสายโลหิต สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย

บิดาตามสายโลหิตหรือตามความเป็นจริงแม้จะมีชื่อในสูติบัตรว่าเป็นบิดาและให้ใช้นามสกุลก็ตามหากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาบุตรหรือจดทะเบียนรับรองบุตรก็ยังไม่มีฐานะเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นทายาทโดยธรรมที่จะรับมรดกของบุตรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  525/2510

           แม้จำเลยจะได้แถลงรับว่า ทะเบียนการเกิด การตายทะเบียนโรงเรียนทะเบียนสำมะโนครัว เป็นเอกสารที่แท้จริง ก็ฟังได้แต่เพียงว่า โจทก์ได้แจ้งไว้ว่าเจ้ามรดกเป็นบุตรของโจทก์จำเลยมิได้แถลงรับด้วยว่า โจทก์เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกทั้งก็ยังได้ความว่า โจทก์กับ ส. มารดาของเจ้ามรดกได้อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์เป็นบิดานอกกฎหมายของเจ้ามรดก และในคำให้การของจำเลยก็ว่า ทายาทโดยชอบธรรมของเจ้ามรดกไม่มีบุคคลใดอีกนอกจากจำเลย ซึ่งแสดงว่าจำเลยมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่ทายาทของเจ้ามรดก หาใช่จำเลยสละข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดกนั้นเสียไม่

           แม้โจทก์เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เจ้ามรดกแต่โจทก์กับเจ้ามรดกก็ไม่มีฐานะเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติถึงบิดากับบุตรว่า เป็นทายาทซึ่งกันและกัน หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย มิฉะนั้นก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน

           บิดากับบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ตามปกติไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อกันอย่างใดเลย และไม่มีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกันด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1627 เป็นบทบัญญัติวาง ข้อยกเว้นให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่บิดารับรองแล้วให้มีสิทธิได้รับมรดกของบิดา จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดกฎหมายบทนี้บัญญัติไว้แต่ว่าให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย (อ้างฎีกาที่ 1271/2506)

          โจทก์ฟ้องว่า นางสงวนกับจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากันโจทก์แต่งงานกับนางสงวนแต่มิได้จดทะเบียนสมรส เกิดบุตร 1 คน คือนางสาวสมใจ โจทก์ได้แจ้งทะเบียนการเกิด และลงทะเบียนสำมะโนครัวว่า เป็นบุตรของโจทก์ระหว่างอยู่กินกับนางสงวน นางสงวนมีทรัพย์สินคือนา 1 แปลง ตามโฉนดที่ 2405 และที่ดินตามโฉนดที่ 2726 นางสงวนตายมิได้ทำพินัยกรรม ต่อมานางสาวสมใจตายโจทก์ขอรับมรดกที่ดินดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จำเลยค้าน ขอให้ศาลสั่งว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ ฯลฯ
          จำเลยให้การว่า ที่ดิน 2 แปลงดังกล่าว บิดามารดานางสงวนมอบให้นางสงวนก่อนอยู่กินกับโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกของนางสาวสมใจ

           วันชี้สองสถาน คู่ความรับกันว่าทรัพย์พิพาทเป็นมรดกของนางสงวนตกทอดมายังนางสาวสมใจ โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตรตามกฎหมายคดีเหลือประเด็นเดียวว่าโจทก์หรือจำเลยใครจะเป็นทายาทของนางสาวสมใจคู่ความท้ากันให้ศาลพิสูจน์เอกสารที่ส่งศาลประกอบคำฟ้องและคำให้การไม่ติดใจสืบพยาน

          ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์เป็นบิดานอกกฎหมาย ไม่เป็นทายาทของนางสาวสมใจ จำเลยเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกของนางสาวสมใจพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลย ให้ยกฟ้องโจทก์

          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์เห็นว่า นางสาวสมใจมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่คดีนี้จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเลยไปว่าที่ดินตามโฉนดทั้งสองแปลงตกทอดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยนั้น เป็นการนอกประเด็นแห่งคดีพิพากษาแก้เป็นให้ตัดคำว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 2405 และเลขที่ 2726 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยออกเสีย นอกจากนี้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          แต่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 2 นาย ที่ได้ร่วมพิจารณาคดีนี้มีความเห็นแย้ง เห็นว่า โจทก์เป็นบิดาตามกฎหมายของนางสาวสมใจ

          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาเห็นว่า แม้จำเลยจะได้แถลงรับว่า ทะเบียนการเกิดการตาย ทะเบียนโรงเรียน ทะเบียนสำมะโนครัว เป็นเอกสารที่แท้จริง ก็ฟังได้แต่เพียงว่า โจทก์ได้แจ้งว่า นางสาวสมใจเจ้ามรดกเป็นบุตรของโจทก์ตามเอกสารดังกล่าวเท่านั้น จำเลยมิได้แถลงรับด้วยว่า โจทก์เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของนางสาวสมใจ ข้อเท็จจริงยังได้ความอยู่ว่า โจทก์กับนางสงวนอยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์เป็นบิดานอกกฎหมายของนางสาวสมใจ และในคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยก็ว่าทายาทโดยชอบธรรมของนางสาวสมใจไม่มีบุคคลใดอีก นอกจากจำเลยผู้เดียวซึ่งแสดงว่าจำเลยยังมีข้อต่อสู้ว่า โจทก์มิใช่ทายาทของนางสาวสมใจนั่นเองหาใช่จำเลยสละข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดกนั้นเสียไม่

          ตามข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกัน แสดงอยู่ว่า แม้โจทก์เป็นผู้ให้กำเนิดแก่นางสาวสมใจ แต่โจทก์กับนางสาวสมใจก็ไม่มีฐานะเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย มาตรา 1629 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติถึงบิดามารดากับบุตรว่าเป็นทายาทซึ่งกันและกันนั้น หมายถึงบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมายมิฉะนั้นก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วนั้น มาตรา 1627 บัญญัติให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ เห็นว่า บิดากับบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นตามปกติไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อกัน และไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกันกฎหมายมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติวางข้อยกเว้นให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่บิดารับรองแล้ว ให้มีสิทธิได้รับมรดกของบิดา จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด กฎหมายบทนี้บัญญัติไว้แต่ว่า ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย ถ้ามุ่งหมายให้ถือว่าเป็นบิดาและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งกันและกันตามประมวลกฎหมายนี้ก็น่าจะระบุไว้ให้ชัดเช่นนั้น ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับมรดกนางสาวสมใจที่เกิดจากนางสงวน (อ้างฎีกาที่ 1271/2506 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)

          พิพากษายืน

 




เรื่องมรดก

บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย article
การจัดการทรัพย์มรดกซึ่งมีผู้เยาว์เป็นทายาทอยู่ด้วย article
โฉนดที่ดินยังมีชื่อเจ้ามรดกทายาทมีอำนาจฟ้อง article
เจ้ามรดกได้จำหน่ายทรัพย์โดยพินัยกรรมแล้ว article
นำพินัยกรรมซึ่งเป็นโมฆะมายื่นขอตั้งผู้จัดการมรดก article
ในฐานะที่จะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน article
เป็นผู้จัดการมรดก 2 ปีไม่แบ่งทรัพย์มรดก article
ข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความของผู้ค้ำประกัน article
ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก article
ผู้จัดการมรดกต้องมีคุณสมบัติอย่างไร? article
หน้าที่ของผู้จัดการมรดกมีอะไรบ้าง? article
การแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก article
เพิกถอนการจดทะเบียนโอน article
สิทธิเรียกร้องมรดกขาดอายุความแล้วหรือไม่? article
สิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ article
บันทึกไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินและยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้เดียว article
วัดก็สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้ article
การมอบอำนาจบกพร่อง article
บุคคลที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก article
ทายาทเป็นปฏิปัษ์ต่อกัน,ทรัพย์มรดก article
ถือเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก article
ดุลพินิจศาลในการตั้งผู้จัดการมรดก article
พินัยกรรมยกทรัพย์ให้สถานที่สักการะ article
เจ้าหนี้ร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดก article
การสืบมรดกของทายาทผู้สละมรดก article
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก article
ทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งกัน,อายุความ article
สัญญายอมความส่วนแบ่งมรดก article
โอนมรดกในส่วนของทายาทอื่น article
สิทธิของทายาทโดยธรรมต่างลำดับ article
บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดก article
หน้าที่ผู้จัดการมรดกต่อทายาทโดยธรรม article
ทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย article
ที่ดินผู้ตายสละการครอบครองไม่ใช่มรดก article
ผู้ขายทำพินัยกรรมหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน article
ทรัพย์สินผู้ตายในขณะทำพินัยกรรม article
พินัยกรรมมิได้ลงวันเดือนปีเป็นโมฆะ article
ดอกผลธรรมดาของสุกรเป็นมรดก article
ดอกผลของที่ดินทรัพย์มรดก article
เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก article
ทายาทถูกตัดไม่ให้รับมรดก article
อายุความมรดกตามมาตรา 1754 article