ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




ข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความของผู้ค้ำประกัน

ข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความของผู้ค้ำประกัน

กรมสรรพากรโจทก์รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ภาษีอากร พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดก จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวได้ตามมาตรา 694

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  743/2552

มาตรา 694 นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลาย ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย

มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม

ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย

  กรมสรรพากรโจทก์รู้ถึงความตายของ อ. แล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ภาษีอากร พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของ อ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ อ. จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวได้ตามมาตรา 694
 
  โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นกรมในรัฐบาลสังกัดกระทรวงการคลังมีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรต่างๆ ตามประมวลรัษฎากรและตามกฎหมายอื่น จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของนายอุดม ลูกหนี้ภาษีอากรค้างชำระต่อโจทก์ โดยนายอุดมประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างและเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2541 เจ้าพนักงานของจำเลยมีหนังสือแจ้งการประเมินให้นายอุดม ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2539 เป็นเงินรวม 17,181.53 บาท และสำหรับเดือนภาษีกันยายน 2539 เป็นเงินรวม 236, 358.13 บาท เนื่องจากตรวจสอบพบว่า นายอุดมยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีดังกล่าวไว้ไม่ครบถ้วนถูกต้อง นายอุดมได้รับหนังสือแจ้งการประเมินโดยชอบแล้วมิได้อุทธรณ์โต้แย้งการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต่อมาวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 นายอุดมยื่นคำร้องขอขยายเวลาหรือขอผ่อนชำระค่าภาษีอากรตามการประเมินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์รวม 24 งวด โดยมีจำเลยเป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของนายอุดมต่อโจทก์ นายอุดมได้ผ่อนชำระหนี้ภาษีอากรค้างชำระบางส่วนแล้วผิดนัดไม่ชำระ คงค้างชำระหนี้ค่าภาษีอากรสำหรับเดือนภาษีกันยายน 2539 เป็นเงิน 84,920 บาท ต่อมานายอุดมถึงแก่ความตาย จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ภาษีอากรค้างชำระของนายอุดมซึ่งเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องเป็นเงินทั้งสิ้น 115,748 บาท โจทก์ทวงถามแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 115,748 บาท แก่โจทก์
          จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ค่าภาษีอากรของนายอุดมจริง เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2545 นายอุดมถึงแก่ความตาย โจทก์รู้ว่านายอุดมถึงแก่ความตายตั้งแต่ปี 2545 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2549 จึงเกินกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรจะรู้ว่านายอุดมถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ขอให้ยกฟ้อง
          ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

    โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
   ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2541 เจ้าพนักงานของโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินให้นายอุดมชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคมและกันยายน 2539 เป็นเงิน 17,181.53 บาท และ 236,358.13 บาท ตามลำดับ นายอุดมมิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมิน แต่ได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาหรือขอผ่อนชำระภาษีอากร (ท.ป.2) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 ตามเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 382 โดยมีจำเลยเข้าทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีอากรดังกล่าวตามเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 385 ถึง 388 นายอุดมได้ผ่อนชำระค่าภาษีอากรแล้วบางส่วนคงค้างชำระ 84,920 บาท ต่อมาวันที่ 4 มกราคม 2545 นายอุดมถึงแก่ความตายตามสำเนาใบมรณบัตรเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 31 สรรพากรพื้นที่พัทลุงได้มีหนังสือลงวันที่ 10 ตุลาคม 2546 ทวงถามจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ภาษีอากรค้างดังกล่าวแล้วตามหนังสือทวงถามและใบตอบรับเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 188 และ 189 แต่จำเลยเพิกเฉย

   มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการเดียวว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ในปัญหานี้โจทก์นำสืบว่า สรรพากรพื้นที่พัทลุงและสำนักงานสรรพากรภาค 12 ไม่ใช่ผู้แทนโจทก์ โจทก์เพิ่งทราบเหตุแห่งการตายของนายอุดม เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2548 ตามบันทึกข้อความที่ กค 0732/8654 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2548 เอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 1 และ 2 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2549 จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนจำเลยนำสืบว่าหลังจากนายอุดมถึงแก่ความตายแล้ว ประมาณกลางปี 2545 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ฟ้องทายาทของนายอุดมต่อศาลจังหวัดพัทลุงเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 1215/2545 ซึ่งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของนายอุดมในคดีดังกล่าวด้วย ทั้งนางกิ้มทายาทของนายอุดมก็ได้ไปให้การและส่งมอบหลักฐานใบมรณบัตรของนายอุดมต่อเจ้าพนักงานของโจทก์เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2545 จึงถือว่าโจทก์ทราบการตายของนายอุดมตั้งแต่ปี 2545 เห็นว่า ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1215/2545 ของศาลจังหวัดพัทลุง ระหว่างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ นางกิ้ม กับพวก จำเลย ได้ความว่าสรรพากรพื้นที่พัทลุงมีบันทึกข้อความลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 ถึงสรรพากรภาค 12 สรุปความว่า ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ฟ้องทายาทโดยธรรมของนายอุดม เพื่อบังคับจำนองเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2545 และจะมีการบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินของนายอุดมซึ่งติดจำนองธนาคารดังกล่าว แต่เนื่องจากนายอุดมเสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2545 ฉะนั้นเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างจึงเห็นควรยื่นคำร้องเฉลี่ยทรัพย์ และขอให้สรรพากรภาค 12 จัดส่งใบแต่งทนายความให้สรรพากรพื้นที่พัทลุงเพื่อดำเนินการต่อไป รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 178 และ 180 ต่อมาสรรพากรภาค 12 มีบันทึกลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 ตามเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 177 แจ้งให้สรรพากรพื้นที่พัทลุงดำเนินการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์พร้อมกับส่งใบแต่งทนายความซึ่งลงนามโดยนายโยธิน สรรพากรภาค 12 จำนวน 4 ฉบับ ไปด้วย จากเอกสารที่โจทก์ส่งต่อศาลในคดีนี้ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายความ 1 ฉบับ ระบุว่า ผู้ลงนามเป็นผู้แต่งทนายความคือนายโยธิน สรรพากรภาค 12 ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ตามเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 162 กรณีจึงมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่า ผู้ที่ดำเนินการแทนโจทก์ในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีหมายเลขแดงที่ 1215/2545 ของศาลจังหวัดพัทลุง ก็คือนายโยธิน สรรพากรภาค 12 ซึ่งปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ เมื่อเป็นดังนี้ย่อมต้องถือว่าโจทก์ทราบการตายของนายอุดมแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีดังกล่าว แม้ทางพิจารณาจะไม่ปรากฏว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อใด แต่ปรากฏจากหนังสือแจ้งผลคดีของอัยการจังหวัดพัทลุง ตามเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 142 และ 143 ว่า เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 ศาลจังหวัดพัทลุงมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ได้ กรณีจึงถือได้ว่าอย่างช้าที่สุดในวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 โจทก์รู้ถึงความตายของนายอุดมแล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2549 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของนายอุดม สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของนายอุดมจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษามานั้นชอบแล้ว”
          พิพากษายืน จำเลยไม่ได้แก้อุทธรณ์ จึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้

 




เรื่องมรดก

บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย
การจัดการทรัพย์มรดกซึ่งมีผู้เยาว์เป็นทายาทอยู่ด้วย
โฉนดที่ดินยังมีชื่อเจ้ามรดกทายาทมีอำนาจฟ้อง
เจ้ามรดกได้จำหน่ายทรัพย์โดยพินัยกรรมแล้ว
นำพินัยกรรมซึ่งเป็นโมฆะมายื่นขอตั้งผู้จัดการมรดก
ในฐานะที่จะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
เป็นผู้จัดการมรดก 2 ปีไม่แบ่งทรัพย์มรดก
ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?
หน้าที่ของผู้จัดการมรดกมีอะไรบ้าง?
การแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก
เพิกถอนการจดทะเบียนโอน
สิทธิเรียกร้องมรดกขาดอายุความแล้วหรือไม่?
สิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้
บันทึกไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินและยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้เดียว
วัดก็สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้
การมอบอำนาจบกพร่อง
บุคคลที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทเป็นปฏิปัษ์ต่อกัน,ทรัพย์มรดก
ถือเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก
ดุลพินิจศาลในการตั้งผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมยกทรัพย์ให้สถานที่สักการะ
เจ้าหนี้ร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดก
การสืบมรดกของทายาทผู้สละมรดก
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก
ทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งกัน,อายุความ
สัญญายอมความส่วนแบ่งมรดก
โอนมรดกในส่วนของทายาทอื่น
สิทธิของทายาทโดยธรรมต่างลำดับ
บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดก
หน้าที่ผู้จัดการมรดกต่อทายาทโดยธรรม
ทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย article
ที่ดินผู้ตายสละการครอบครองไม่ใช่มรดก
ผู้ขายทำพินัยกรรมหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน
ทรัพย์สินผู้ตายในขณะทำพินัยกรรม
พินัยกรรมมิได้ลงวันเดือนปีเป็นโมฆะ
ดอกผลธรรมดาของสุกรเป็นมรดก
ดอกผลของที่ดินทรัพย์มรดก
เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก
ทายาทถูกตัดไม่ให้รับมรดก
อายุความมรดกตามมาตรา 1754
บิดาสายโลหิต สิทธิรับมรดกบุตรนอกกฎหมาย