เจ้ามรดกได้จำหน่ายทรัพย์โดยพินัยกรรมแล้ว เจ้ามรดกได้จำหน่ายทรัพย์โดยพินัยกรรมแล้ว ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดก? ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมได้ระบุชัดเจนว่า ให้ผู้ร้องทั้งห้าเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมโดยระบุให้จำหน่ายที่ดิน เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้นำเงินเข้าสมทบทุนสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ สร้างถาวรวัตถุให้แก่วัดผู้คัดค้านและจัดตั้งมูลนิธิ ถือว่าเจ้ามรดกได้จำหน่ายทรัพย์โดยพินัยกรรมแล้ว ทรัพย์สินดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นสมบัติของผู้คัดค้าน ดังนี้ผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5370/2552 ในคดีไม่มีข้อพิพาทถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อมให้ถือว่าบุคคลเช่นว่ามานี้เป็นคู่ความและให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (5) คำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงเป็นคำคู่ความที่จะก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทผู้คัดค้านจะคัดค้านคำร้องขอในประเด็นข้อใดจะต้องยื่นคำคัดค้านให้ชัดเจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงจะเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในข้อนั้น การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่าพินัยกรรมทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกล่าวคือ พระ อ. ไม่ได้มีความประสงค์หรือเจตนาจะทำพินัยกรรมดังกล่าว ผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยถูกหลอกลวง สำคัญผิดไม่เป็นไปตามความประสงค์อันแท้จริงของผู้ทำพินัยกรรมและขณะทำพินัยกรรมพระ อ. มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันว่าพระ อ. ทำพินัยกรรมจริงแต่ถูกหลอกลวง สำคัญผิดและมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ แต่คำร้องคัดค้านกลับกล่าวอีกว่าลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือของพระ อ. เท่ากับยืนยันว่าพระ อ. ไม่ได้ทำพินัยกรรม เช่นนี้คำร้องคัดค้านจึงขัดกันเองและไม่ชัดแจ้งว่าผู้คัดค้านได้คัดค้านว่าเป็นพินัยกรรมปลอมหรือเป็นพินัยกรรมที่ผู้ทำถูกหลอกลวง สำคัญผิดหรือทำพินัยกรรมในขณะที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ ส่วนที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่าพินัยกรรมทำไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดก็ไม่ได้ระบุว่าไม่ถูกต้องตามแบบอย่างใดจึงไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ คำร้องคัดค้านจึงไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านได้โต้แย้งคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำร้องขอของผู้ร้องว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 183 ในวันชี้สองสถาน ให้คู่ความมาศาล และให้ศาลตรวจ คำคู่ความและคำแถลงของคู่ความแล้วนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏใน คำคู่ความและคำแถลงของคู่ความเทียบกันดู และสอบถามคู่ความ ทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานที่จะยื่นต่อศาลว่า ฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้าง ข้อเถียงนั้นอย่างไร ข้อเท็จจริงใด ที่คู่ความยอมรับกันก็เป็นอันยุติไปตามนั้นส่วนข้อกฎหมายหรือ ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับและ เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาทตามคำคู่ความ ให้ศาลกำหนด ไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐาน มาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้ ในการสอบถามคู่ความตามวรรคหนึ่ง คู่ความแต่ละฝ่ายต้องตอบ คำถามที่ศาลถามเองหรือถามตามคำขอของคู่ความฝ่ายอื่น เกี่ยวกับ ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายอื่นยกขึ้นเป็นข้ออ้าง ข้อเถียง และพยาน หลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความจะยื่นต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ตอบ คำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่มี เหตุผลอันสมควร ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่คู่ความ ฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบ หรือแสดงเหตุผลแห่งการปฏิเสธได้ใน ขณะนั้น คู่ความมีสิทธิคัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่นำสืบที่ศาล กำหนดไว้นั้นไม่ถูกต้องโดยแถลงด้วยวาจาต่อศาลในขณะนั้นหรือ ยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็น ข้อพิพาท หรือหน้าที่นำสืบ ให้ศาลชี้ขาดคำคัดค้านนั้นก่อนวันสืบพยาน คำชี้ขาดคำคัดค้านดังกล่าวให้อยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 226 มาตรา 188 ในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้ข้อบังคับต่อไปนี้ ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องที่ 3 และที่ 4 ขอถอนคำร้องขอ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง วัดพืชอุดม ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของพระครูอุดมภาวนาภิรัต ผู้มรณภาพ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมตกเป็นพับ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับเป็นว่า ให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 เป็นผู้จัดการมรดกของพระครูอุดมภาวนาภิรัต ผู้มรณภาพ ยกคำร้องคัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ฎีกาโต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติว่า พระครูอุดมภาวนาภิรัตเจ้ามรดกเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา ก่อนถึงแก่มรณภาพจำพรรษาอยู่ที่วัดผู้คัดค้านในตำแหน่งเจ้าอาวาส มีทรัพย์มรดกที่ได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศเป็นที่ดินจำนวน 12 แปลง คือ โฉนดเลขที่ 94094 - 94101 เนื้อที่ 25 ไร่ 1 งาน 33 ตารางวา และที่ดินโฉนดเลขที่ 1393, 2557, 2559, 2560 เนื้อที่ 23 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา ต่อมาเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2542 พระครูอุดมภาวนาภิรัตได้ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคภาวะหัวใจล้มเหลว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยผู้คัดค้านฎีกาว่า เดิมคดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาท เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านต่อมาจึงไม่ถือว่าคำคัดค้านเป็นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคหนึ่ง นั้น เห็นว่าในคดีไม่มีข้อพิพาทนั้นถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อมให้ถือว่าบุคคลเช่นว่ามานี้เป็นคู่ความ และให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคดีมีข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188 (4) ดังนี้ คำร้องขอของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงเป็นคำคู่ความที่จะก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท ซึ่งหากผู้คัดค้านจะคัดค้านคำร้องขอในประเด็นข้อใดจะต้องยื่นคำคัดค้านให้ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จึงจะเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในข้อนั้น เมื่อผู้ร้องกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกการที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านเกี่ยวกับพินัยกรรมว่าพินัยกรรมทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกล่าวคือพระครูอุดมภาวนาภิรัตไม่ได้มีความประสงค์หรือเจตนาจะทำพินัยกรรมดังกล่าว ผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยถูกหลอกลวง สำคัญผิดไม่เป็นไปตามความประสงค์อันแท้จริงของผู้ทำพินัยกรรมและขณะทำพินัยกรรมพระครูอุดมภาวนาภิรัตมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันว่าพระครูอุดมภาวนาภิรัตทำพินัยกรรมจริงแต่ถูกหลอกลวง สำคัญผิดและมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ แต่คำร้องคัดค้านกลับกล่าวอีกว่าลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือของพระครูอุดมภาวนาภิรัต เท่ากับยืนยันว่าพระครูอุดมภาวนาภิรัตไม่ได้ทำพินัยกรรม เช่นนี้คำร้องคัดค้านจึงขัดกันเองและไม่ชัดแจ้งว่าผู้คัดค้านได้คัดค้านว่าเป็นพินัยกรรมปลอมหรือเป็นพินัยกรรมที่ผู้ทำถูกหลอกลวงหรือสำคัญผิดหรือทำพินัยกรรมในขณะที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ ส่วนที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่าพินัยกรรมทำไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดก็ไม่ได้ระบุว่าไม่ถูกต้องตามแบบอย่างใดจึงไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธให้แจ้งชัดเช่นกัน คำร้องคัดค้านเกี่ยวกับเรื่องพินัยกรรมจึงไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านได้โต้แย้งคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องที่อ้างว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำร้องขอของผู้ร้องว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย คดีคงมีประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้เพียงว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกในข้อนี้ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมได้ระบุชัดเจนว่า ให้ผู้ร้องทั้งห้าเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมโดยระบุให้จำหน่ายที่ดินทั้ง 12 แปลง เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้นำเงินเข้าสมทบทุนสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ สร้างถาวรวัตถุให้แก่วัดผู้คัดค้านและจัดตั้งมูลนิธิพระครูอุดมภาวนาภิรัตอันถือว่าพระครูอุดมภาวนาภิรัตเจ้ามรดกได้จำหน่ายทรัพย์โดยพินัยกรรมแล้ว ทรัพย์สินดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นสมบัติของผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 ดังนี้ผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของพระครูอุดมภาวนาภิรัตเจ้ามรดก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น”
|