ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




โฉนดที่ดินยังมีชื่อเจ้ามรดกทายาทมีอำนาจฟ้อง

โฉนดที่ดินยังมีชื่อเจ้ามรดกทายาทมีอำนาจฟ้อง

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ เห็นว่า เมื่อโจทก์เป็นบุตรของนายเที่ยงผู้ตายทรัพย์มรดกของนายเที่ยงย่อมตกทอดแก่ทายาท ดังนั้น ที่ดินซึ่งมีนายเที่ยงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมตกทอดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แม้โฉนดที่ดินดังกล่าวยังไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อในโฉนดที่ดินจากนายเที่ยงมาเป็นชื่อโจทก์ก็ตาม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  637/2552
 
          โจทก์เป็นบุตรของ ท. เมื่อ ท. ถึงแก่กรรม ทรัพย์มรดกของ ท. ย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 ดังนั้น ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 ซึ่งมี ท. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมตกทอดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แม้โฉนดที่ดินดังกล่าวยังไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อในโฉนดที่ดินจาก ท. มาเป็นชื่อโจทก์ก็ตามโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้
          ที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาก่อนโดยมีชื่อ ท. บิดาโจทก์ และ ป. บิดาของจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ตามโฉนดเลขที่ 18488 ต่อมาในปี 2529 ได้มีการแบ่งแยกที่ดินเป็นโฉนดเลขที่ 17055 มีชื่อ ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วน ท. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 ในส่วนที่เหลือเมื่อแบ่งแยกที่ดินกันแล้วทำให้ที่ดินแปลงของ ท. ไม่มีทางออกสู่สาธารณะ ป. ยินยอมให้ ท. ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ท. จึงใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2529 และ ท. ถึงแก่กรรม ดังนั้น ท. จึงใช้ทางพิพาทมานานเกินกว่า 10 ปีแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ห้ามปรามหรือขัดขวางทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 และเมื่อ ท. ตายที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 จึกตกเป็นกรรมสิทธิ์โจทก์ โจทก์จึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่และโจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทตลอดมา ดังนั้น ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488
 

มาตรา 1387  อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น

มาตรา 1401  ภาระจำยอมอาจได้มาโดยอายุความ ท่านให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพนี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 1599  เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
 
มาตรา 55 เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของ บุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 249 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่น ฎีกานั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา และต้องเป็นข้อที่ ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้ง จะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วยการวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีข้อใดไม่ควรได้รับการ วินิจฉัยจากศาลฎีกา ให้กระทำโดยความเห็นชอบของรองประธาน ศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมาย แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงอำนาจ ของประธานศาลฎีกาตาม มาตรา 140 วรรคสอง

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวน พิจารณาชั้นฎีกา คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้าง ซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้
 
          โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรื้อถอนรั้วและสิ่งกีดกั้นทางบนที่ดินพิพาทและยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทดังกล่าวตามปกติต่อไปให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจดทะเบียนทางพิพาทบนโฉนดเลขที่ 17055 ตำบลท่าช้าง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ตามแนวเขตทางด้านทิศตะวันออกมีความกว้าง 4 เมตร ตลอดแนวตั้งแต่เขตทิศเหนือจดที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 ของโจทก์ถึงทิศใต้จดถนนสาธารณะให้ตกเป็นทางภาระจำยอมและทางจำเป็นแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 ตำบลท่าช้าง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

          จำเลยทั้งสองให้การและแก้ไขคำให้การว่า ที่ดินของโจทก์มีทางออกทางอื่นออกสู่ถนนสาธารณะไม่ใช่ทางพิพาททางเดียว ทางพิพาทมีความกว้างประมาณ 2 เมตร เท่านั้น การที่นายแป้นบิดาของจำเลยทั้งสองยินยอมให้บุคคลอื่นใช้ทางถือว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัวไม่มีผลผูกพันจำเลยทั้งสอง ทางพิพาทดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์ใช้นั้นก็ด้วยความเอื้ออารีฉันมิตรอันเป็นการถือวิสาสะคุ้นเคยกันเท่านั้นหาใช่เป็นทางภาระจำยอมไม่ ทางพิพาทจึงไม่ตกเป็นทางภาระจำยอม ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งกีดกั้นใด ๆ ออกจากทางพิพาทให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนทางภาระจำยอมลงในโฉนดเลขที่ 17055 ตำบลท่าช้าง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง กว้าง 2 เมตร ยาวตลอดแนวเขตด้านทิศตะวันออกเป็นทางภาระจำยอม หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
          จำเลยทั้งสองฎีกา

          ระหว่างพิจารณา โจทก์ถึงแก่กรรม นางจำนงค์ทายาทของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลฎีกาอนุญาต
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งว่า โจทก์เป็นบุตรของนายเที่ยงและจำเลยทั้งสองเป็นบุตรของนายแป้นนายเที่ยงและนายแป้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 ตำบลท่าช้าง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ต่อมาได้มีการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวโดยแบ่งแยกเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 17055 มีชื่อนายแป้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ส่วนนายเที่ยงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเดิมในส่วนที่เหลือต่อมานายแป้นได้โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 17055 ให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุตร ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 นั้น เมื่นายเที่ยงถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2543 ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ และโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินดังกล่าวแต่โจทก์ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวจากนายเที่ยงเป็นชื่อโจทก์ และได้นำหลักฐานที่แก้ไขมาฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้ ต่อมาโจทก์ถูกพนักงานอัยการจังหวัดอ่างทองฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นในข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกโจทก์ตามคดีหมายเลขแดงที่ 812/2546 ของศาลชั้นต้น คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นบุตรของนายเที่ยงเมื่อนายเที่ยงถึงแก่กรรม ทรัพย์มรดกของนายเที่ยงย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 ดังนั้น ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 ตำบลท่าช้าง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งมีนายเที่ยงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมตกทอดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แม้โฉนดที่ดินดังกล่าวยังไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อในโฉนดที่ดินจากนายเที่ยงมาเป็นชื่อโจทก์ก็ตาม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้ ฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในประการต่อไปว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ และทางพิพาทมีความกว้างเท่าใดในปัญหาดังกล่าวปรากฏตามคำให้การของจำเลยทั้งสองว่า ทางพิพาทมีความกว้างประมาณ 2 เมตร การที่นายแป้นบิดาของจำเลยทั้งสองให้ความยินยอมแก่บุคคลอื่นใช้ทาง ถือได้ว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัวไม่มีผลผูกพันจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทด้วยความเอื้ออารีฉันมิตรอันเป็นการถือวิสาสะ ทางพิพาทจึงไม่ตกเป็นทางภาระจำยอม จากคำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นการที่จำเลยทั้งสองยอมรับแล้วว่าทางพิพาทกว้างประมาณ 2 เมตร นายแป้นบิดาจำเลยทั้งสองยินยอมให้นายเที่ยงบิดาโจทก์ใช้ทางพิพาท เมื่อจำเลยทั้งสองรับโอนที่ดินดังกล่าวมาจากนายแป้น โจทก์ก็ยังใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะ โดยจำเลยทั้งสองอ้างว่ายินยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทด้วยความเอื้ออารีฉันมิตรอันเป็นการถือวิสาสะ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่า ที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาก่อนโดยมีชื่อนายเที่ยงบิดาโจทก์และนายแป้นบิดาของจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ตามโฉนดเลขที่ 18488 ต่อมาในปี 2529 ได้มีการแบ่งแยกที่ดินเป็นโฉนดเลขที่ 17055 มีชื่อนายแป้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนนายเที่ยงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 ในส่วนที่เหลือเมื่อแบ่งแยกที่ดินกันแล้วทำให้ที่ดินแปลงของนายเที่ยงไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะนายแป้นยินยอมให้นายเที่ยงใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ นายเที่ยงจึงใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2529 และนายเที่ยงถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2543 ดังนั้น นายเที่ยงจึงใช้ทางพิพาทมานานเกินกว่า 10 ปีแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ห้ามปรามหรือขัดขวางทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 และเมื่อนายเที่ยงตายที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์จึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่ และโจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทตลอดมา ดังนั้น ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมฉบับลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2545 ภายหลังจากการสืบพยานดำเนินไปแล้ว 1 ปี และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวเพิ่มเติมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เห็นว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ




เรื่องมรดก

บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย
การจัดการทรัพย์มรดกซึ่งมีผู้เยาว์เป็นทายาทอยู่ด้วย
เจ้ามรดกได้จำหน่ายทรัพย์โดยพินัยกรรมแล้ว
นำพินัยกรรมซึ่งเป็นโมฆะมายื่นขอตั้งผู้จัดการมรดก
ในฐานะที่จะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
เป็นผู้จัดการมรดก 2 ปีไม่แบ่งทรัพย์มรดก
ข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความของผู้ค้ำประกัน
ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?
หน้าที่ของผู้จัดการมรดกมีอะไรบ้าง?
การแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก
เพิกถอนการจดทะเบียนโอน
สิทธิเรียกร้องมรดกขาดอายุความแล้วหรือไม่?
สิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้
บันทึกไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินและยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้เดียว
วัดก็สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้
การมอบอำนาจบกพร่อง
บุคคลที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทเป็นปฏิปัษ์ต่อกัน,ทรัพย์มรดก
ถือเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก
ดุลพินิจศาลในการตั้งผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมยกทรัพย์ให้สถานที่สักการะ
เจ้าหนี้ร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดก
การสืบมรดกของทายาทผู้สละมรดก
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก
ทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งกัน,อายุความ
สัญญายอมความส่วนแบ่งมรดก
โอนมรดกในส่วนของทายาทอื่น
สิทธิของทายาทโดยธรรมต่างลำดับ
บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดก
หน้าที่ผู้จัดการมรดกต่อทายาทโดยธรรม
ทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย article
ที่ดินผู้ตายสละการครอบครองไม่ใช่มรดก
ผู้ขายทำพินัยกรรมหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน
ทรัพย์สินผู้ตายในขณะทำพินัยกรรม
พินัยกรรมมิได้ลงวันเดือนปีเป็นโมฆะ
ดอกผลธรรมดาของสุกรเป็นมรดก
ดอกผลของที่ดินทรัพย์มรดก
เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก
ทายาทถูกตัดไม่ให้รับมรดก
อายุความมรดกตามมาตรา 1754
บิดาสายโลหิต สิทธิรับมรดกบุตรนอกกฎหมาย