ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




จดทะเบียนสมรสซ้อน

 จดทะเบียนสมรสซ้อน

ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีหนึ่งและสามีที่จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นผู้ทำการสมรสโดยไม่สุจริตอีกกรณีหนึ่งมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของสามีและของตนตกเป็นโมฆะ บุตรนอกกฎหมายแม้บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วก็ตาม การที่บิดาจดทะเบียนสมรสซ้อนจึงไม่ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสิทธิของบุตร ไม่อยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของบิดาเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3279/2542

          สามีที่จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นผู้ทำการสมรสโดยไม่สุจริตจึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของตนเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1497 ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของสามีเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497 บุตรนอกกฎหมายแม้บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร ชอบด้วยกฎหมายแล้วก็ตามบุตรเช่นว่านี้ก็มีสิทธิแต่เพียงรับมรดกของบิดากับมารดาของตนเมื่อบุคคลทั้งสองถึงแก่ความตาย แล้วเท่านั้น ฉะนั้น การที่บิดาจดทะเบียนสมรสซ้อนจึงไม่ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสิทธิของบุตร ไม่อยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของบิดาเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497เช่นเดียวกัน

          ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องเป็นบุตรของนายสุรชัย บุญหนุน และในการดำเนินคดีนี้ผู้ร้องได้รับความยินยอมจากนางชะอ้อน อุบลมณี มารดาโดยชอบด้วยกฎหมายนายสุรชัย บุญหนุน บิดาผู้ร้องกับนางพนารัตน์ บุญหนุน (อุดมสุข) ได้จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2531 ณ ที่ว่าการอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ต่อมานายสุรชัย บุญหนุน กับนางสาวจงจิตต์ เมธาประเสริฐศิลป์ ได้จดทะเบียนสมรสกัน เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2539 ณ สำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ซึ่งการสมรสระหว่างนายสุรชัย บุญหนุน กับนางสาวจงจิตต์ เมธาประเสริฐศิลป์ เป็นการสมรสที่เกิดขึ้นระหว่างที่นายสุรชัย บุญหนุน กับนางพนารัตน์ บุญหนุน เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นการสมรสระหว่างนายสุรชัย บุญหนุน กับนางสาวจงจิตต์ เมธาประเสริฐศิลป์ จึงตกเป็นโมฆะ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของนายสุรชัย บุญหนุน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้การสมรสระหว่างนายสุรชัย บุญหนุน กับนางสาวจงจิตต์ เมธาประเสริฐศิลป์ ตกเป็นโมฆะ

          ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า นายสุรชัย บุญหนุน หลอกลวงผู้คัดค้านว่าไม่เคยมีคู่สมรสมาก่อน จนผู้คัดค้านหลงเชื่อจนจดทะเบียนสมรส ผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสียในคดีนี้เพราะมิใช่ผู้สืบสันดานของคู่สมรส ขอให้ยกคำร้อง

          ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอ

          ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

          ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ผู้ร้องเป็นบุตรของนายสุรชัย บุญหนุน กับนางชะอ้อน อุบลมณี ซึ่งอยู่กินกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ผู้ร้องใช้นางสกุล บุญหนุนของบิดามาตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรเอกสารหมาย ร.1 และสำเนาสูติบัตรเอกสารหมาย ร.2 วันที่ 6 มิถุนายน 2531 นายสุรชัยได้จดทะเบียนสมรสกับนางพนารัตน์ อุดมสุข ถูกต้องตามกฎหมาย ต่อมาวันที่ 3 มิถุนายน 2539 นายสุรชัย ได้จดทะเบียนสมรสกับนางสาวจงจิตต์ เมธาประเสริฐศิลป์ ผู้คัดค้านตามสำเนาใบสำคัญการสมรสเอกสารหมาย ร.5 และวันที่ 7 มิถุนายน 2539นายสุรชัยได้จดทะเบียนหย่ากับนางพนารัตน์ ตามสำเนาทะเบียนหย่าเอกสารหมาย ค.2 และสำเนาใบสำคัญการหย่าเอกสารหมาย ค.3

          พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่า ผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497 หรือไม่ ในปัญหานี้ผู้ร้องมีผู้ร้องและนายสุรชัยต่างเบิกความสอดคล้องกันเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ของผู้ร้องกับนายสุรชัยในฐานะเป็นบิดากับบุตรโดยผู้ร้องใช้นามสกุลของนายสุรชัย นายสุรชัย ให้ความอุปการะเลี้ยงดูผู้ร้อง ทั้งนายสุรชัยเป็นผู้ปกครองของผู้ร้องขณะที่ผู้ร้องเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นตามสมุดรายงานประจำตัวนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเอกสารหมาย ร.6 ซึ่งมีข้อความระบุว่านายสุรชัยผู้ปกครองเกี่ยวพันกับผู้ร้องในฐานะเป็นบิดากับมีข้อความที่นายสุรชัยได้บันทึกลงในช่องความเห็นผู้ปกครองแล้วลงชื่อกำกับไว้ นอกจากนั้นนายสุรชัยยังได้จดทะเบียนรับรองผู้ร้องเป็นบุตรตามทะเบียนการรับรองบุตรเอกสารหมาย ร.7 เห็นว่า แม้การจดทะเบียนรับรองบุตรตามเอกสารหมาย ร.7 จะเป็นการจดทะเบียนภายหลังยื่นคำร้องขอนี้ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนรับรองบุตรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปตลอดมาว่าผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายสุรชัยที่บิดาได้รับรองมาตั้งแต่ต้นก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคดีนี้แล้ว ผู้ร้องจึงเป็นผู้สืบสันดานของนายสุรชัยมาก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอคดีนี้ แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้สืบสันดานของนายสุรชัยกับนางชะอ้อนก็ตาม แต่ขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับนายสุรชัย นางชะอ้อนมารดาผู้ร้องมิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสุรชัย นางชะอ้อน จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1497 และปรากฏว่านายสุรชัยได้จดทะเบียนสมรสกับผู้คัดค้านซึ่งเกิดจากความไม่สุจริตของนายสุรชัยฝ่ายเดียว เพราะนายสุรชัยได้จดทะเบียนสมรสกับนางพนารัตน์ไว้ก่อนแล้ว โดยในการจดทะเบียนสมรสครั้งหลังนี้ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านไม่สุจริต เนื่องจากนายสุรชัยได้เบิกความตอบทนายผู้คัดค้านถามค้านว่าพยานจดทะเบียนสมรสกับผู้คัดค้านนั้น พยานไม่ได้ถูกบังคับใด ๆ ทั้งสิ้น การที่นายสุรชัยจดทะเบียนสมรสกับผู้คัดค้านโดยไม่สุจริตเช่นนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1497 เช่นกัน นายสุรชัยและนางชะอ้อนต่างก็ไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างนายสุรชัยกับผู้คัดค้านเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 ได้การที่ผู้ร้องซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานของนายสุรชัยกับนางชะอ้อน และในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของนายสุรชัยกับนางชะอ้อน ซึ่งผู้ร้องมีสิทธิ แต่เพียงรับมรดกของนายสุรชัยกับนางชะอ้อนเมื่อบุคคลทั้งสองถึงแก่ความตายเท่านั้น ดังนั้นการที่ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนสมรสซ้อนกับนายสุรชัยดังกล่าว จึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่หรือจะต้องใช้สิทธิทางศาลที่จะทำให้ผู้ร้องมีอำนาจมาร้องขอต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ถือว่าผู้ร้องไม่อยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497 ได้คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว อุทธรณ์ผู้ร้องฟังไม่ขึ้น"

          พิพากษายืน

หมายเหตุ

          บุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิกล่าวอ้างหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497 นั้น หมายถึงบุคคลที่ถูกกระทบกระเทือนสิทธิหรือหน้าที่อันเนื่องมาจากการสมรสซ้อน อันได้แก่ชายหรือหญิงที่ทำการสมรสซ้อน บิดามารดา ผู้ปกครอง บุตรหรือทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของชายหรือหญิงดังกล่าว และคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของชายหรือหญิงเช่นว่านั้น ในกรณีที่สามีจดทะเบียนสมรสกับภริยา 2 คนสามี ภริยาคนแรกและภริยาคนที่สองถือว่าเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิกล่าวอ้างหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสครั้งที่สองของสามีอันเป็นการสมรสซ้อนนี้เป็นโมฆะได้ หลักการของกฎหมายอังกฤษ คดี Milesv.Chilton (1849)1Rob.Ecc.684 เคยวินิจฉัยว่า คู่สมรสที่ทำการสมรสซ้อนมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสซ้อนของตนเป็นโมฆะได้แม้ตนเองจะทำการสมรสโดยไม่สุจริตก็ตาม แต่ศาลฎีกาในคดีที่หมายเหตุนี้กำหนดหลักการในทางตรงกันข้าม โดยวางหลักการว่า "ชายหรือหญิงที่ทำการสมรสซ้อนอันจะถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการกล่าวอ้างหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของตนเป็นโมฆะจะต้องทำการสมรสโดยสุจริตด้วย หากทำการสมรสโดยไม่สุจริต ไม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย"

           หลักการของศาลฎีกาเช่นว่านี้น่าจะเป็นการขยายความกฎหมายอันก่อให้เกิดความสับสน เพราะ "การเป็นผู้มีส่วนได้เสีย" เป็นคนละอย่างกับ "การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต" หากจะตัดสิทธิสามีผู้จดทะเบียนสมรสกับภริยา 2 คน มิให้กล่าวอ้างหรือร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสครั้งที่สองของตนเป็นโมฆะน่าจะใช้หลักการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5จะเหมาะสมมากกว่า แต่ทั้งนี้ควรต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์แห่งกฎหมายด้วยว่าหากกฎหมายประสงค์จะตัดสิทธิผู้ทำการสมรสซ้อนโดยไม่สุจริตแล้วทำไมมาตรา 1497 จึงไม่บัญญัติไว้ให้ชัดแจ้งว่า"บุคคลผู้มีส่วนได้เสียผู้ทำการโดยสุจริตคนใดคนหนึ่ง" จึงจะมีสิทธิร้องขอเหมือนดังเช่นมาตรา 1499 วรรคสอง และวรรคสาม ที่ระบุว่า"ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริต" จึงจะมีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเลี้ยงชีพ นอกจากนี้น่าจะต้องคำนึงด้วยว่าการสมรสซ้อนเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรมภริยาคนที่สองหากจดทะเบียนสมรสโดยทราบว่าสามีมีภริยาคนแรกเป็นคู่สมรสอยู่แล้วหากต่อมาภายหลังประสงค์จะยุติความสัมพันธ์อันผิดศีลธรรมนี้เพื่อไปสมรสใหม่กับชายอื่นภริยาคนที่สองก็น่าจะมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสของตนกับสามีเป็นโมฆะได้แม้ตนจะทำการสมรสโดยไม่สุจริตก็ตาม

           สำหรับบุตรนอกกฎหมายที่บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วน่าจะถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของบิดาเป็นโมฆะเพราะบุตรนอกกฎหมายเช่นว่านี้มีสิทธิรับมรดกของบิดาและมีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาด้วย การที่บิดาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับภริยาคนที่สองแล้วเกิดบุตร บุตรที่เกิดจากภริยาคนที่สองทุกคนถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาตามมาตรา 1538 วรรคหนึ่ง และแม้ภริยาคนแรกไปกล่าวอ้างกับภริยาคนที่สองว่าการสมรสของภริยาคนที่สองกับสามีเป็นโมฆะเพราะเป็นการสมรสซ้อนแล้วก็ตาม แต่ถ้าภริยาคนที่สองยังอยู่กินฉันสามีภริยากับสามีต่อมาจนเกิดบุตรขึ้นมาอีก บุตรคนนี้ก็ต้องถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา จนกว่าจะมีการฟ้องคดีและศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสของสามีกับภริยาคนที่สองเป็นโมฆะ บุตรที่เกิดหลังจากสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะจึงจะถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของภริยาคนที่สองแต่ผู้เดียวตามมาตรา 1538 วรรคท้าย การที่มีบุตรเกิดจากภริยาคนที่สองเพิ่มขึ้นมากเท่าใด สิทธิในกองมรดกของบิดาและการที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาของบุตรนอกกฎหมายที่บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย่อมลดลงไปมากเพียงนั้น เมื่อสิทธิในมรดกและสิทธิในครอบครัวถูกกระทบกระเทือนเช่นนี้บุตรนอกกฎหมายที่บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วย่อมต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของบิดาเป็นโมฆะได้ และไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตด้วยเพราะบุตรมิได้มีส่วนร่วมในการสมรสซ้อนของบิดาแต่อย่างใด

มาตรา 1497 การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษา ว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

สัญญาระหว่างสมรส | ข้อตกลงห้ามบอกล้าง
จดทะเบียนสมรสแต่ไม่ได้อยู่กินฉันสามีภริยา ความสมบูรณ์ของการสมรส
ที่ดินและรถยนต์ภริยากู้ยืมเงินมาซื้อและผ่อนด้วยเงินเดือน
สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีคนใหม่ยังไม่จดทะเบียนหย่า
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี
สิทธิเลือกคู่ครองเมื่อเห็นว่าภริยาไม่เหมาะสมกับตน
ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง
สามีไม่ค่อยอยู่บ้านก็มิใช่เป็นการประพฤติเสื่อมเสีย
สามีฟ้องหย่าภริยาอ้างเหตุจงใจละทิ้งร้าง
คู่สมรสมีสิทธิบอกล้างได้ในขณะที่ยังเป็นสามีภริยากัน
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่า
ฟ้องหย่าเหตุอ้างร้องเรียนผู้บังคับบัญชา
การสมรสที่เป็นโมฆียะ
หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง | เหตุฟ้องหย่า
ให้อภัยสิทธิฟ้องหย่าหมดไป | จงใจละทิ้งร้าง
ร้องเรียนกล่าวโทษสามีต่อผู้บังคับบัญชา | เป็นปฏิปักษ์
การทิ้งร้างกับการสมัครใจแยกกันอยู่
บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่า | การแสดงเจตนาลวง